No data was found

รู้จัก “โจรสลัดโซมาเลีย” กลับมาอาละวาด? บังกลาเทศยอมจ่าย 180 ล้านบาท

รู้จัก โจรสลัดโซมาเลีย กลับมาอาละวาด? บังกลาเทศยอมจ่าย 180 ล้านบาท

กดติดตาม TOP NEWS

"โจรสลัดโซมาเลีย" เป็นใครมาจากไหน กลับมาอาละวาดอีกครั้งใช่หรือไม่ ล่าสุด ปล่อยเรือสินค้าบังกลาเทศพร้อมลูกเรือ 23 คน ที่ยึดไว้ 1 เดือน หลังได้ค่าไถ่กว่า 180 ล้านบาท

TOP News รายงานประเด็น “โจรสลัดโซมาเลีย” กลับมาเป็นประเด็นร้อนบนโลกออนไลน์อีกครั้ง เมื่อมีรายงานว่า ได้บรรลุข้อตกลงเงินค่าไถ่เรือสินค้าบังกลาเทศพร้อมลูกเรือ 23 คน ที่บุกยึดไว้ 1 เดือน จำนวนกว่า 180 ล้านบาท โจรสลัด โซมาเลีย เป็นใครมาจากไหน นี่คือสัญญาณการกลับมาอาละวาดอีกครั้งใช่หรือไม่

ข่าวที่น่าสนใจ

โจรสลัดโซมาเลีย เป็นใครมาจากไหน กลับมาอาละวาดอีกครั้งใช่หรือไม่ ล่าสุด ปล่อยเรือสินค้าบังกลาเทศพร้อมลูกเรือ 23 คน ที่ยึดไว้ 1 เดือน หลังได้ค่าไถ่กว่า 180 ล้านบาท

Cr. Md Asifur Rahman

ค่าไถ่ 183 ล้านบาท?

เรือ เอ็มวี อับดุลเลาะฮ์ ติดธงบังกลาเทศ บรรทุกถ่านหิน 5 หมื่น 5 พันตัน ถูก “โจรสลัดโซมาเลีย” พร้อมอาวุธ บุกยึดเมื่อเดือนที่แล้ว ขณะเดินทางจากกรุงมาพูโต ประเทศโมซัมบิก มุ่งหน้าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จุดเกิดเหตุอยู่ห่างจากชายฝั่งโซมาเลีย ประมาณ 1 พันกิโลเมตร ต่อมา ได้มีการเจรจานำโดย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือ CEO ของบริษัทเจ้าของเรือกับโจรสลัดคนหนึ่งที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้ จนบรรลุความตกลงเรื่องค่าไถ่ บริษัทไม่เปิดเผยจำนวนเงิน แต่โจรสลัดคนหนึ่งบอกสำนักข่าวว่า ได้รับเงินค่าไถ่ 5 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 183 ล้านบาท

ในที่แถลงข่าว มีการเผยคลิปแสดงให้เห็นลูกเรือทุกคนปลอดภัยดี สลัดโซมาเลีย 65 คน ปล่อยเรือที่ยึดไว้มานานหนึ่งเดือน และลงเรือลำเล็ก 9 ลำเดินทางออกไป หลังจากนั้นเรือ เอ็มวี อับดุลเลาะฮ์ ออกเดินทางต่อ โดยมีเรือจากสหภาพยุโรปสองลำคุ้มกัน สลัดโซมาเลียยังมอบหนังสือผ่านทางให้ลูกเรือ เพื่อเป็นหลักประกันว่า เรือลำนี้จะไม่ถูกบุกยึดอีกครั้ง ก่อนถึงท่าเรือดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

โซมาเลีย?

โซมาเลียเป็นประเทศยากจนในทวีปแอฟริกา หลังจากที่ได้เกิดสงครามกลางเมืองเมื่อปี 2543 ชนเผ่าต่าง ๆ สู้รบกันเองจนทำให้ประเทศไม่มีรัฐบาลกลางที่มีเอกภาพ ทุกเผ่าต่างแสวงหาอำนาจ ตั้งตัวเป็นใหญ่ ต่อมาเมื่อปี 2547 โซมาเลียประสบภัยสึนามิและได้รับเงินช่วยเหลือก้อนใหญ่จากต่างประเทศ แต่ได้นำเงินไปซื้ออาวุธเพื่อปล้นเรือต่าง ๆ ที่ผ่านน่านน้ำ โดยได้อ้างว่าจักรวรรดิ์นิยมมาปล้นทรัพยากรของประเทศ หลังจากมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ ทหารที่แตกแถวได้เข้าร่วมปล้นเรือและจับเรือเรียกค่าไถ่ได้เงินจำนวนหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ กองโจรสลัดจะนำเงินบางส่วนไปใช้จัดเตรียมความพร้อมสำหรับการบุกยึดเรือครั้งใหม่ ซึ่งรวมทั้งการจัดหาอาวุธที่ทรงอานุภาพกว่าเดิม เรือที่มีขนาดใหญ่และเร็วกว่าเดิม อุปกรณ์ชั้นสูงต่าง ๆ จนทำให้กองโจรพัฒนาเข้มแข็งขึ้นทั้งทางด้านอาวุธ และเทคโนโลยี ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อปี 2552 โจรสามารถปฏิบัติการดักปล้นเพียง 165 ไมล์จากฝั่ง ต่อมาปี 2553 ได้พัฒนาระยะไปได้ไกลถึง 1,100 ไมล์จากฝั่งแล้ว

โจรสลัดโซมาเลีย เป็นใครมาจากไหน กลับมาอาละวาดอีกครั้งใช่หรือไม่ ล่าสุด ปล่อยเรือสินค้าบังกลาเทศพร้อมลูกเรือ 23 คน ที่ยึดไว้ 1 เดือน หลังได้ค่าไถ่กว่า 180 ล้านบาท

Cr. Md Asifur Rahman

“โจรสลัดโซมาเลีย” ?

โจรสลัด โซมาเลีย เป็นกลุ่มคนอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งของประเทศที่มีความยาว 4 พันไมล์ มีฐานปฏิบัติการอยู่ที่รัฐพุนต์แลนด์ (Puntland) ซึ่งเป็นเขตปกครองตนเองทางตอนเหนือของโซมาเลีย โดยโจรสลัดเหล่านี้ได้ติดสินบนเจ้าหน้าที่เพื่อขอใช้ท่าเรืออายล์ (Eyl) และท่าเรืออื่น ๆ ใช้เป็นฐานปฏิบัติการ รวมถึงนำเรือที่จับได้มาเก็บไว้ขณะที่รอเจรจาเรียกเงินค่าไถ่ มีสมาชิกมากกว่า 1,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มมากกว่า 10 กลุ่ม มีอุปกรณ์ไฮเทคล่าสุด ทั้งโทรศัพท์ผ่านดาวเทียม และระบบ GPS อาวุธหนักอย่าง เครื่องยิงจรวด RPG กับปืนกล AK-47 มีเรือควบคุมการปฏิบัติการที่อาจแฝงมากับเรือต่าง ๆ บรรทุกเรือยนต์เร็วออกไปปฏิบัติการในทะเล มีสายสืบคอยแจ้งข่าวจากเมืองท่าต่าง ๆ ในอ่าวเอเดน เรือก็เป็นเรือเร็วมีเครื่องยนต์ที่ทรงพลังในการบุกเข้าหาเป้าหมาย และบางครั้งจะเป็นการปล่อยเรือเร็วออกจากเรือใหญ่ซึ่งเป็นเรือแม่ที่ลอยลำอยู่ในทะเลลึกเพื่อไปก่อเหตุ

โจรสลัด โซมาเลีย ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวยากจน อายุ 20 – 35 ปี โครงสร้างการทำงานของกลุ่มโจรสลัดคล้ายกันเกือบทุกกลุ่ม ที่ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

  1. ส่วนสมอง มาจากอดีตชาวประมงที่รู้เส้นทางเดินเรือในทะเลอย่างดี จะเป็นฝ่ายวางแผน
  2. ส่วนใช้แรง เป็นทหารแตกแถว หรืออดีตกลุ่มติดอาวุธ มีหน้าที่บุกจู่โจมเรือเป้าหมาย
  3. ส่วนไฮเทค เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี โทรศัพท์ผ่านดาวเทียม ระบบกำหนดตำแหน่งผ่านดาวเทียม หรือ GPS เป็นต้น

โจรสลัด โซมาเลีย เคยสร้างความเดือดร้อนแก่เรือสินค้า จนสร้างความโกลาหลไปทั่ว ช่วงปี 2551 – 2561 แต่หลังจากนั้นก็เงียบไปนาน กระทั่งเริ่มออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้งเมื่อปลายปีที่แล้ว อาศัยช่วงที่นานาชาติผ่อนมาตรการรักษาความปลอดภัย และกลุ่มฮูตีในเยเมนก่อเหตุโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดง แต่เมื่อเทียบกับช่วงปี 2554 ยังนับว่าน้อยกว่ามาก ช่วงนั้นโจรสลัดเคยออกมาอาละวาดในมหาสมุทรอินเดีย ไกลจากชายฝั่งโซมาเลียถึงกว่า 3,600 กิโลเมตร

อย่างไรก็ดี ปัญหาเรื่องโจรสลัด โซมาเลีย มีผลประโยชน์และเงินทองทับซ้อน มีผู้ร่วมผลประโยชน์ในเรื่องนี้จำนวนมาก ซึ่งมิใช่แต่พวกโจรสลัดในโซมาเลีย มีผู้เกี่ยวข้องอยู่ทั่วโลก ทั้งในรูปของรัฐบาล ภาคเอกชน กลุ่มนายหน้า ผู้สั่งการ บริษัทไถ่เรือ บริษัทประกันภัย ผู้ทำหน้าที่เจรจา เอ็นจีโอ และอีกมากมาย ทางออกของปัญหานี้อีกทางที่น่าพิจารณา คือ เหมือนอย่างที่รัฐบาลของบางประเทศประกาศห้ามไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า ห้ามไม่ให้เรือสัญชาติของตนเองทุกชนิดเข้าใกล้น่านน้ำโซมาเลียโดยเด็ดขาด

โจรสลัดโซมาเลีย เป็นใครมาจากไหน กลับมาอาละวาดอีกครั้งใช่หรือไม่ ล่าสุด ปล่อยเรือสินค้าบังกลาเทศพร้อมลูกเรือ 23 คน ที่ยึดไว้ 1 เดือน หลังได้ค่าไถ่กว่า 180 ล้านบาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ศรีวราห์" เปิดใจลงสมัคร สว. ด้านความมั่นคง หวังใช้ประสบการณ์ช่วยชาติ
"นายกฯ" มั่นใจ “พิชิต” มีคุณสมบัตินั่ง รัฐมนตรีสำนักนายกฯ
"ไอลอว์" วอนศาลอย่าทุบเว็ป senate67.com แหกกฎเหล็ก "กกต." - "ธนาธร" ไม่แคร์คำครหารณรงค์ให้ได้ สว.ส้มเข้าสภาสูง
ปธ.ที่ปรึกษาสมาคมคนตาบอดฯ ยันโควต้าลอตเตอรี่ถึงมือสมาชิก แต่รับหลุดรอดยี่ปั๊ว จี้สนง.สลากฯสอบ 800 มูลนิธิ
"อุ๊งอิ๊ง" คุมทีม กทม.เพื่อไทย ตั้งกรรมการประเมินผลงาน สก. จี้ลงพื้นที่เข้มข้น
“อัจฉริยะ” แจ้งเอาผิด 2 ดาราดัง โฆษณาอาหารเสริมเกินจริง แฉซ้ำลดเพราะฉีดสลายไขมัน
“นายกฯ” เรียก “ผบ.ทบ.-เลขา สมช.” เข้าทำเนียบ คาดถกสถานการณ์มั่นคง ขณะ “มาริษ” ขึ้นตึกไทยคู่ฟ้า หลังมีชื่อทูลเกล้าฯ
"พท." รุ่นเก๋าฉุน "ปานปรีย์" ลาออกทิ้งบอมบ์รัฐบาล เก่งฉลาดแค่ไหนถ้าไม่เห็นหัว ส.ส.อยู่ไม่ได้ งัดผลงาน "รมต.บัวแก้ว" ยุค "บิ๊กตู่" สอนมวยรัฐมนตรีอีโก้สูง
โซเชียลอึ้ง เชื่อมพญาวาสุกรี “น้องไนซ์” สั่งฝนหยุดตก ทำสาวกแห่สาธุ เจอชาวเน็ตสวนกลับแรง
วันแรงงานแห่งชาติ... ซีพีเอฟ ชู ศูนย์ FLEC สงขลา ผนึกความร่วมมือรัฐ เอกชน และประชาสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติในภาคประมง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น