No data was found

“ปวดหลังเรื้อรัง” 4 สัญญาณ โรคกระดูกสันหลังอักเสบชนิดยึดติด

ปวดหลังเรื้อรัง, ข้อกระดูกอักเสบชนิดเรื้อรัง, กรมการแพทย์, วิธีรักษาอาการปวดหลัง,​ ปวดหลัง

กดติดตาม TOP NEWS

"ปวดหลังเรื้อรัง" กรมการแพทย์ เตือน ภัยใกล้ตัวชาวออฟฟิศ เผย 4 สัญญาณร้ายของโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด เปิดสาเหตุชัด ๆ เกิดจากอะไร รักษาได้ไหม?

“ปวดหลังเรื้อรัง” อาการ ปวด หลัง เรื้อรัง แพทย์เผย 4 สัญญาณเตือนโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด เปิดสาเหตุ และวิธีรักษา ย้ำ คนที่มีอาการควรรีบพบแพทย์รักษาทันที หากปล่อยให้อาการรุนแรงมากขึ้น อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

4 สัญญาณเตือน โรคกระดูกสันหลังอักเสบชนิดยึดติด

  • “ปวดหลังเรื้อรัง”
  • หลังยึดติด เคลื่อนไหวลำบาก
  • ปวดหลังมาก โดยเฉพาะช่วงเช้าหรือหลังพักผ่อน
  • อาการอักเสบของข้อกระดูสันหลังข้อต่อตามร่างกาย

 

 

 

กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เผยสาเหตุเกิดจาก

  • การอักเสบของกระดูกสันหลังเรื้อรังร่วมกับข้ออักเสบเป็นเวลานาน
  • ทำให้กระดูกสันหลังติดกันเคลื่อนไหวไม่ได้
  • รักษาไม่หายแต่สามารถคุมอาการและชะลอการรุนแรงโรคได้

 

 

 

ปวดหลังเรื้อรัง, ข้อกระดูกอักเสบชนิดเรื้อรัง, กรมการแพทย์, วิธีรักษาอาการปวดหลัง,​ ปวดหลัง

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า เป็นโรคหลักในกลุ่มโรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการแสดงของโรคคล้ายกัน คือ การอักเสบของข้อกระดูกสันหลัง ข้อต่อตามร่างกาย การอักเสบที่กระดูกบริเวณที่เส้นเอ็นยึดเกาะ การอักเสบของม่านตาและลำไส้
ลักษณะอาการในระยะแรก
  • ผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดสะโพกเรื้อรังโดยเฉพาะช่วงเช้าหรือหลังพักผ่อน
  • อาการหลังติดยึด ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก
  • ทำงานไม่ได้ จนเกิดภาวะหลังคด ทรงตัวลำบากและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

 

 

 

ปัจจุบัน ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของโรคได้ แต่คาดว่าโรคนี้อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น

  • พันธุกรรม ตรวจพบโปรตีน HLA-B27 ผู้ป่วยโรคนี้มักมีญาติเป็นโรคเช่นเดียวกัน
  • อายุจะเริ่มแสดงอาการในผู้ป่วยอายุน้อย ระหว่าง 20-30 ปี
  • พบเพศชายมากกว่าเพศหญิง
  • ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาบรรเทาอาการ เพราะ หากปล่อยให้อาการรุนแรงมากขึ้น อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

 

 

 

ปวดหลังเรื้อรัง, ข้อกระดูกอักเสบชนิดเรื้อรัง, กรมการแพทย์, วิธีรักษาอาการปวดหลัง,​ ปวดหลัง

นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยแต่ละรายอาจ มีอาการที่แตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของโรค ปัจจุบันใช้ Modified New York Criteria โดยให้การวินิจฉัย และการรักษาผู้ป่วยได้ตั้งแต่ระยะแรก และติดตามการเปลี่ยนแปลงผลการรักษาของผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ ติดตามการดำเนินโรคได้อย่างถูกต้อง และปรับให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยอายุรแพทย์ทั่วไป อายุรแพทย์ทางด้านโรคข้อและ รูมาติสซั่ม และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู วินิจฉัยโดยการตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและแยกโรคร่วมหรือการอักเสบชนิดอื่น ๆ

 

 

 

การรักษา

  • การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในการสังเกตตัวเองและเข้าใจตัวโรค ว่ายังไม่มีวิธีป้องกันหรือรักษาให้หายขาด
  • แต่สามารถควบคุมและชะลอการดำเนินโรคได้
  • การรักษาจำเป็นต้องให้ยา เพื่อคุมการอักเสบเรื้อรังและอาการปวดแบบต่าง ๆ
  • ควรบริหารร่างกายเพื่อยืดหยุ่นข้อต่อและกล้ามเนื้อ จะช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้สะดวกใกล้เคียงปกติและป้องกันข้อติดยึด
  • อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยได้รับการรักษาในระยะท้ายของโรค การรักษาด้วยยาและกายภาพอาจไม่เพียงพอ ต้องทำการผ่าตัด เพื่อแก้ไขโครงสร้างและมีการดูแลแบบสหวิชาชีพต่อไป

 

 

 

ปวดหลังเรื้อรัง, ข้อกระดูกอักเสบชนิดเรื้อรัง, กรมการแพทย์, วิธีรักษา,

 

 

ข้อมูล : กรมการแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

บึ้มสนั่น คนร้ายลอบวางระเบิดจยย. จุดตรวจเซฟตี้โซนท่าพญาสาย บาดเจ็บ 4 ราย
สภาพอากาศวันนี้ กรมอุตุฯ เผยรับมืออากาศร้อนจัดในตอนกลางวัน เตือน 66 จว. โดน "พายุฤดูร้อน" ถล่ม
ฮามาสยอมรับข้อตกลงหยุดยิง
อิสราเอลตามใจสหรัฐ เปิดจุดผ่านแดนช่วยเหลือ
รัสเซียเตือนอังกฤษ ระวังถูกโจมตี
ผู้รับเหมาเร่งซ่อมปิดหลุมด้วยหินคลุกแก้ไข ถนนทรุดตัวเป็นหลุมชั่วคราว เพื่อให้รถสัญจรได้ โดยไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
โจรแสบย่องขโมยหม้ออลูมิเนียม 2 ตายายอาชีพรับซื้อของเก่าที่เก็บสะสมไปจนเกลี้ยง แถมยังกินข้าวกับต้มยำปลาทิ้งจานไว้เยาะเย้ย
ปูตินสั่งกองทัพ ฝึกซ้อมอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธี
ชาวบ้านย่านอ่อนนุชผวา เสาสะพานชำรุดแตกหัก วอนหน่วยงานเกี่ยวข้องแก้ไขด่วน
"สพท." แตะมือ "สสส." ร่วมหนุนเสริมโครงการ Gig Worker กระทรวงแรงงาน หวังบรรเทาปัญหาปากท้อง "แรงงานอิสระ" สู้วิกฤตเศรษฐกิจเปราะบาง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น