No data was found

กลั้น “ปัสสาวะไม่อยู่” ไม่สุด เกิดจากอะไร เสี่ยงต่อโรคไหม

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่, ปัสสาวะไม่สุด, ปัสสาวะ, กระเพาะปัสสาวะ, ท่อปัสสาวะ, ปัสสาวะราด, ปัสสาวะเล็ด

กดติดตาม TOP NEWS

กลั้น "ปัสสาวะไม่อยู่" ปัสสาวะไม่สุด เปิดสาเหตุชัด ๆ เกิดจากอะไร มีวิธีแก้ไขอย่างไร เป็นสัญญาณของโรคอื่นไหม เช็คก่อนที่นี่

กลั้น “ปัสสาวะไม่อยู่” ปัสสาวะไม่สุด อายุยังน้อยแต่กลับมีอาการนี้เฉย สุดงง เกิดได้ยังไง? ร่างกายผิดปกติหรือเปล่า? เป็นสัญญาณอันตรายหรือไม่? แล้วมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

ทำความรู้จักอาการกลั้น “ปัสสาวะไม่อยู่”

  • เป็นกลุ่มอาการเดียวกับปัสสาวะบ่อยมาก ปวดกลั้นมากขณะที่จะไปห้องน้ำจนบ่อยครั้ง หรือบางครั้งกลั้นไม่อยู่ราดออกไปก่อน
  • อาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย
  • ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกลั้นปัสสาวะ

 

 

 

กลุ่มอาการที่พบบ่อย ได้แก่

1. ต่อมลูกหมากโต

  • พบในผู้ชายอายุ 40-70 ปี
  • มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด
  • นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์โดยถูกกระตุ้นให้มีการเจริญเติบโตจากฮอร์โมนเพศชาย เมื่ออายุมากขึ้นต่อมลูกหมากจะโตขึ้นและอาจอุดตันท่อปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้ปัสสาวะลำบากหรือรบกวนระบบสืบพันธุ์ ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเรียกว่าต่อมลูกหมากโต

 

 

 

2. ไอจามปัสสาวะเล็ด

  • เกิดจากกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อรองรับอวัยวะในอุ้งเชิงกรานเกิดการหย่อนยาน ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากการฉีกขาดจากการตั้งครรภ์ การคลอดบุตรผ่านทางช่องคลอด เนื้องอกในอุ้งเชิงกรานหรือการผ่าตัดเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน
  • ทำให้หูรูดและท่อปัสสาวะไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ปิดได้ไม่สนิท
  • ผู้ป่วยจะมีปัสสาวะเล็ดออกมาในขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของความดันภายในช่องท้องอย่างรวดเร็ว เช่น การไอ การจามหรือการยกของหนัก

 

 

วิธีรักษา

  • ฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหรือการใช้อุปกรณ์ช่วยในการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
  • การผ่าตัด เพื่อแก้ไขอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน ร่วมกับการซ่อมเสริมให้เนื้อเยื่อของอุ้งเชิงกรานมีความแข็งแรงมากขึ้น
  • ผ่าตัดแก้ไขอาการไอตามปัสสาวะเล็ด
  • ลดน้ำหนัก

 

 

 

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่, ปัสสาวะไม่สุด, ปัสสาวะ, กระเพาะปัสสาวะ, ท่อปัสสาวะ, ปัสสาวะราด, ปัสสาวะเล็ด

 

 

 

3. ปัสสาวะราด

  • เกิดจากความดันในกระเพาะปัสสาวะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการปวดปัสสาวะ และไม่สามารถยับยั้งได้
  • ส่งผลให้ความดันในกระเพาะปัสสาวะสูงมากกว่าความดันภายในท่อปัสสาวะในขณะปิดตัว จึงเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้

 

 

สาเหตุ

  • สมองหรือไขสันหลังส่วนที่กดการทำงานของกระเพาะปัสสาวะในขณะเก็บน้ำปัสสาวะเสียหาย

 

 

วิธีรักษา

  • ลดการรระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะตามสาเหตุ
  • การใช้ยาเพื่อลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ
  • รวมถึงการฉีดยาเข้าผนังกระเพาะปัสสาวะ

 

 

4. ปัสสาวะรดที่นอน

  • กลั้นปัสสาวะไม่ได้ขณะนอนหลับ

 

 

สาเหตุ

  • กล้ามเนื้อหูรูดของท่อปัสสาวะและอุ้งเชิงกรานมีการคลายตัวมากกว่าปกติในขณะหลับ

 

 

5. ปัสสาวะเล็ดราด ขณะมีเพศสัมพันธ์

  • มักพบร่วมกับอาการไอจามปัสสาวะเล็ด
  • บางรายอาจะมีความผิดปกติในการทำงานของกระเพาะปัสสาวะร่วมด้วย

 

 

วิธีรักษา

  • ฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหรือการใช้อุปกรณ์ช่วยในการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
  • การผ่าตัด เพื่อแก้ไขอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน ร่วมกับการซ่อมเสริมให้เนื้อเยื่อของอุ้งเชิงกรานมีความแข็งแรงมากขึ้น
  • ผ่าตัดแก้ไขอาการไอตามปัสสาวะเล็ด
  • ลดน้ำหนัก

 

 

 

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่, ปัสสาวะไม่สุด, ปัสสาวะ, กระเพาะปัสสาวะ, ท่อปัสสาวะ, ปัสสาวะราด, ปัสสาวะเล็ด

นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงต่อกลุ่มอาการอื่น ๆ อีก เช่น

  • ปัสสาวะกลั้นไม่อยู่ที่เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital)
  • ปัสสาวะรดที่นอน (Bed Wetting Enuresis)
  • ปัสสาวะกลั้นไม่อยู่จากระบบประสาท (Neurogenic)
  • ปัสสาวะเล็ดและราดร่วมกัน (Mixed Incontinence) หมายถึงอาการไอจามปัสสาวะเล็ด และอาการปัสสาวะราด เป็นร่วมกัน
  • ปัสสาวะล้นซึม (Over Flow Incontinence)
  • ปัสสาวะบ่อยมากในช่วงกลางวัน (Urinary Freguency Daytime)
  • ปัสสาวะบ่อยในช่วงเวลากลางคืน (Nocturia Night Time)
  • ปัสสาวะปวดกลั้น (Urgency)
  • กระเพาะ, ปัสสาวะไวเกิน (Over Active Bladder)

 

ดังนั้น เพื่อการรักษาอย่างถูกวิธีและตรงจุด ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง ระบุประเภทหรือโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างถูกต้อง และเริ่มการรักษาอย่างถูกต้องโดยแพทย์ต่อไป

 

 

 

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่, ปัสสาวะไม่สุด, ปัสสาวะ, กระเพาะปัสสาวะ, ท่อปัสสาวะ, ปัสสาวะราด, ปัสสาวะเล็ด

 

 

ข้อมูล : กรมการแพทย์, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ และ โรงพยาบาลกรุงเทพ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“สุริยะ” กดปุ่มเดินเครื่องหัวเจาะ “รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้” เริ่มทะลวงอุโมงค์ทางวิ่งรถไฟฟ้า ยันรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายมีแน่
ไม่รอด ศาลฯนครโฮจิมินห์ สั่งคุก “เจ้าสัว” ธุรกิจเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ในเวียดนาม-ร่วมมือกับลูกฉ้อโกงพันล้าน
ทนาย 3 นิ้วเล่นตลก ขอศาลเรียก “จัสติน บีเบอร์” เป็นพยานแก๊ง 3 นิ้ว “เจ๊จุก” เย้ยไม่แปลกใจ ทำไมหัวโจกทยอยเข้าคุก
ปรากฏการณ์ 'ทะเลเรืองแสง' สีน้ำเงินในเจ้อเจียง
กต.แถลงสรุปสถานการณ์สู้รบ "เมียนมา" ย้ำวางตัวเป็นกลาง ดูแลตามหลักมนุษยธรรม พร้อมช่วยเจรจาหากมีการร้องขอ
สกพอ. สรุปผลรับฟังความคิดเห็นประชาชน จัดทำแผนพัฒนา TOD รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยา โดยเน้นความสมัครใจและความสนใจร่วมโครงการฯ ไม่มีการเวนคืนที่ดินของประชาชน
พัทยา คึกคัก ทหารอเมริกันยกพล ท่องเที่ยว พักผ่อนและนั่งดื่ม ตามบาร์เบียร์ชายหาดพัทยา ทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่เป็นอย่างมาก
"รัฐบาล" ฝ่าแรงเสียดทานทำประชามติ "แก้รธน." แจกเงินดิจิทัล สกัด"กองทัพ"ทำรัฐประหาร
“จุลพันธ์” ย้ำไม่เห็นความเป็นห่วง "ดิจิทัลวอลเล็ต" พร้อมแจ้งบอร์ดธกส.เดินหน้าตามมติครม.
"เต้ มงคลกิตติ์" ดอดซบปชป.แล้ว เข้ากราบ "ชวน หลีกภัย" ยอมรับสาเหตุร่วมเป็นสมาชิกพรรค

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น