No data was found

ชาวสวนยางพาราเดือดร้อนหนัก ประสบปัญหาโรคในใบยางพาราชนิดใหม่

กดติดตาม TOP NEWS

ชาวสวนยางพาราเดือดร้อนหนัก ประสบปัญหาโรคในใบยางพาราชนิดใหม่

วันที่ 25 ม.ค. 2565 นางแพรวพรรณ ทองพิทักษ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอ ย่านตาขาว ลงพื้นที่รับรู้การแพร่ระบาด และแนวทางการจัดการโรคใบร่วงยางพาราชนิดใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี ณ สวนยางพาราใน ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ซึ่งโรคใบร่วงยางพาราชนิดใหม่ เกิดจากเชื้อรา Pestalotiopsis sp. หรือ Colletotrichum sp. ในอาการเริ่มแรก จะเกิดจุดช้ำบริเวณใต้ใบ และด้านบนของใบบริเวณเดียวกันจะเป็นสีเหลืองลักษณะกลม ต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นสีคล้ำ ขอบแผลดำ และกลายเป็นเนื้อเยื่อแห้งสีน้ำตาลจนถึงขีดขาวซีด รูปร่างจุดแผลค่อนข้างกลม รอบแผลไม่มีสีเหลืองล้อมรอบ จำนวนมากกว่า 1 จุด อาจซ้อนกันเป็นแผลขนาดใหญ่ เมื่ออาการรุนแรงจะเกิดใบเหลืองและร่วง
ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อต้นยางพาราทำให้น้ำยางพาราลดปริมาณลง 30 % ระยะเวลาในการกรีดยางพาราลดลง หากเป็นแบบนี้หลายๆปีก็จะทำให้ต้นยางพาราไม่มีน้ำยาง หรือ(ต้นยางพาราตายนึ่ง) เพื่อเป็นการรักษาต้นยางพารา และควบคุมโรคใบร่วงยางพาราชนิดใหม่ เกษตรกรสามารถดำเนินการตามคำแนะนำของนักวิชาการเกษตร ดังนี้ 1)ควรมีแปลงเรียนรู้ ในการสำรวจแปลง สังเกตว่าปีที่3 ของการเกิดโรคอาการจะเริ่มรุนแรงขึ้น เชื้อราจะจับที่ขั้วใบสีเขียว แล้วจะร่วงหล่นในขณะที่ใบยังเขียว ใบทุกใบที่หล่นฝังในดินคือการสะสมของเชื้อโรคเมื่อลมพัด สปอร์ของเชื้อราจะแพร่ไปยังใบอื่น ใบที่เป็นโรคสังเกตจากใบเป็นจุดและโปร่งแสง 2)สร้างการรับรู้ ใช้ชีวภัณฑ์ การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา อัตราเชื้อสด 1 กิโลกรัม รำ4กิโลกรัม ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก 100กิโลกรัม ฉีด หรือหว่าน ทุก3เดือน 3)การกำหนดมาตรฐานการเกิดโรค ถ้าพบการเกิดโรคต้องมีการจัดการ เพราะเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายโดยลม 4)การบำรุงต้นโดย ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและใส่โดโลไมท์ อัตราส่วน 400 กรัมต่อต้นต่อปี 5) กรีดยางพาราให้มีความสัมพันธ์กับจำนวนใบยางพารา เพื่อทำเป็นการบำรุงต้นยางพาราให้มีความแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ


ซึ่งอำเภอย่านตาขาวมีเกษตรกรปลูกยางพารา จำนวน 57,000 ไร่ ได้รับผลกระทบจากโรคใบร่วงยางพาราชนิดใหม่ไปแล้ว จำนวน 25,000 ไร่


ล่าสุดสำนักงานเกษตรอำเภอย่านตาขาว ได้ส่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่สร้างการรับรู้การแพร่ระบาดโรคใบร่างยางพาราชนิดใหม่ และขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) และได้ร่วมกันผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เพื่อนำไปใช้ในแปลงยางพารา โดยแนะนำวิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในอัตราส่วนดังนี้ ทางดิน โดยผสมเชื้อสด 1 กิโลกรัม : รำละเอียด 4 กิโลกรัม : ปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม โรยรอบโคนต้น ต้นละ 1 กิโลกรัม หรือผสมเชื้อสดกับรำละเอียดในอัตราส่วน 1 : 1 ทาบริเวณลำต้นที่เป็นโรค หรือใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำสะอาด 100-200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง

ถนอมศักดิ์  หนูนุ่ม / จ.ตรัง

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"แม่ทัพภาคที่ 1" เป็นปธ.พิธีอำลาชีวิตราชการทหาร ขอบคุณที่ทุ่มเท เสียสละ กล้าหาญ ปฏิบัติหน้าที่
“ทนายอนันต์ชัย” ฟาดเดือดลัทธิ “เชื่อมจิต” บิดเบือนไร้ยางอาย
ผู้คนยังแห่เจิมเปิดดวงเศรษฐีและส่องเลขอ่างน้ำมนต์อาศรมฤาษีเณร สาวดวงเฮงถวายเงินทำบุญหนึ่งแสนหลังรับโชคกว่าล้าน
เดินหน้าต่อเนื่อง "ท็อปนิวส์" มอบของบริจาค ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเมียนมา ส่งตรงถึงมือที่อุ้มผาง แล้ว
เขื่อนแตกในเคนยา น้ำทะลักซัดดับ 45
แมวทรหด เจ้าของหาแทบตาย ที่แท้ติดไปกับพัสดุพันกว่ากิโลฯ
KFC มาเลเซีย ปิดชั่วคราวกว่า 100 สาขา เซ่นบอยคอตอเมริกา
อัยการสั่งฟ้อง "รุ้ง-บี๋" ผิดม.112 เป็นแอดมินเพจ "แนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ" โพสต์หมิ่น ใส่ร้าย สถาบันฯ
"ผู้พิการสายตา" สุดทน แฉสมาคมฯส่อตุกติกโควต้าสลากฯ โอดทุกข์หนักแบกต้นทุน บากหน้าซื้อยี่ปั๊วราคาโหด
นายกโต้ง รับฟังดราม่าเสาไฟฟ้าบังองค์พระพุทธรูปแกะสลักเขาชีจรรย์ จุดที่มองเห็นองค์พระสวยงามที่สุด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น