No data was found

“ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว” เช็ค 7 อาการ ต้องพบจิตแพทย์หรือไม่

ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว เช็ค 7 อาการ ต้องพบจิตแพทย์หรือไม่

กดติดตาม TOP NEWS

เช็คด่วน 7 อาการ ภาวะ "ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว" คืออะไร เบื้องต้น 10 วิธีรับมือด้วยตนเอง เป็นนานแค่ไหน ควรปรึกษานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์

TOP News รายงานประเด็น “ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว” เทศกาลสงกรานต์ 2567 หมดลง หลายคนอาจรู้สึกหดหู่ ไม่อยากกลับไปเจอโลกแห่งความจริงของการทำงาน หรือไปติวไปเรียนหนังสือ ซึ่งภาวะอารมณ์ดังกล่าวอาจเป็นอาการซึมเศร้า หลังวันหยุดยาว ใช่หรือไม่ ลองเช็คดูก่อนเลย ลักษณะอาการเป็นอย่างไร แล้วเราจะรับมืออย่างไรได้บ้าง

ข่าวที่น่าสนใจ

เช็คด่วน 7 อาการ ภาวะ ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว คืออะไร เบื้องต้น 10 วิธีรับมือด้วยตนเอง เป็นนานแค่ไหน ควรปรึกษานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์

“ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว” ?

  • อาการซึมเศร้า หลังวันหยุดยาว (Post-Vacation Depression หรือ Post-Vacation Blues) คือ ภาวะอารมณ์เศร้า ๆ หลังกลับจากการไปเที่ยวหรือหลังจากผ่านช่วงวันหยุดยาว ซึ่งเกิดจากการที่เราอนุญาตให้ตนเองมีเวลาแห่งความสุขในช่วงเวลาพิเศษ แล้วต้องเปลี่ยนสภาพแวดล้อมกลับสู่วันธรรมดาที่ไม่สุขได้เท่าเวลาไปเที่ยว จึงทำให้เกิดความทุกข์ทรมานใจที่ต้องกลับไปใช้ชีวิตตามปกติในวันธรรมดา ความรู้สึกเศร้าแบบนี้เกิดขึ้นได้เสมอในบุคคลทั่วไป และไม่จัดว่าเป็นโรคป่วยทางจิตเวช

อาการ?

โรคซึมเศร้า หลังวันหยุดยาว มีลักษณะอาการดังต่อไปนี้

  1. หลังวันหยุดยาว จะรู้สึกไม่อยากทำงาน เบื่อหน่าย และมีอาการซึมเศร้า
  2. เกิดจากการที่ร่างกายเคยชินกับการพักผ่อนและไม่พร้อมที่จะกลับมาเริ่มต้น
  3. อาการนี้มักจะเกิดกับคนที่เบื่องานของตัวเองอยู่แล้ว
  4. ระดับความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับความเบื่อหน่ายที่มีอยู่เดิม
  5. อาการนี้จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง สมาธิลดลง หงุดหงิดง่าย อารมณ์เสีย ใจลอย
  6. ระยะของอาการจะเป็นอยู่ 2 – 3 วัน จากนั้นก็จะเข้าสู่ภาวะปกติ
  7. สามารถพบได้ในทุกวัย ในกลุ่มคนที่มีความเบื่อหน่ายงานของตัวเอง

เช็คด่วน 7 อาการ ภาวะ ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว คืออะไร เบื้องต้น 10 วิธีรับมือด้วยตนเอง เป็นนานแค่ไหน ควรปรึกษานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์

วิธีรับมือ “ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว” ?

สำหรับวิธีรับมือกับภาวะซึมเศร้า หลังวันหยุดยาว สามารถทำได้ด้วยตนเอง ดังต่อไปนี้

  1. หาแรงจูงใจในการไปทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการตั้งเป้าหมายความก้าวหน้าในการทำงาน เช่น การได้ขึ้นเงินเดือน โบนัส เป็นต้น
  2. การสร้างคุณค่าในการทำงาน มองหาข้อดีของการทำงาน เช่น มองหาว่าใครได้รับประโยชน์จากการทำงานหรือสิ่งที่สามารถทำประโยชน์ต่อคนอื่น หรืองานที่ทำให้ชีวิตดีขึ้นอย่างไร
  3. ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน หากการทำงานในรูปแบบเดิม ๆ ซ้ำซากจำเจ ทำให้เบื่อการทำงาน ก็ลองเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้สร้างสรรค์มากขึ้น ได้ท้าทายตัวเองแล้วเกิดความคิดใหม่ ๆ อีกด้วย
  4. หาเพื่อนรู้ใจและทีมในการทำงาน หากการทำงานคนเดียวมันเหงา พาใจให้เฉา ก็ลองหาเพื่อนคู่หูในการทำงาน หรือสร้างทีมเพื่อทำงาน นอกจากงานเสร็จเร็วขึ้นแล้ว ยังลดโอกาสผิดพลาด มีความสร้างสรรค์ และสนุกกับการทำงานมากขึ้นด้วย
  5. อย่ามองข้ามภาวะหมดไฟในการทำงาน ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) ถูกองค์การอนามัยโลก (WHO) จัดว่าเป็นอาการป่วยที่มีผลมาจากความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงาน และควรได้รับการดูแลจากแพทย์ก่อนรุนแรงและคุกคามการใช้ชีวิต วิธีสังเกตง่าย ๆ คือ เหนื่อยล้า หมดพลัง ชอบคิดลบต่อความสามารถของตนเอง ขาดความเชื่อมั่นในความสำเร็จ เจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานประเมินว่าเรามีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำงานได้ไม่เหมือนเดิม และที่พบบ่อยคือ ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและคนรอบข้างแย่ลง
  6. อยู่กับปัจจุบัน หากการติดอยู่ในอดีต คิดถึงแต่ช่วงวันหยุดยาว ทำให้เป็นทุกข์ และอนาคต วันหยุดยาวรอบต่อไป ก็ยังมาไม่ถึง และอาจไม่แน่ไม่นอน ดังนั้น จึงควรอยู่กับปัจจุบัน วางแผนจดลิสต์การทำงานที่ต้องทำแบบวันต่อวัน นอกจากจะทำให้รู้ว่า มีอะไรที่ต้องทำบ้าง ยังทำให้เห็นว่า ทำอะไรเสร็จไปบ้างแล้ว
  7. ทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบ หลังจากพ้นวันหยุดยาวได้ 2 – 3 วัน จะเป็นช่วงที่หลายคนรู้สึกไม่อยากไปทำงานมากที่สุด จึงต้องใช้ทั้งแรงกายและแรงใจในการปรับสภาพจิตใจในช่วงนี้มากพอสมควร เพื่อเบี่ยงเบนอารมณ์เศร้า ลองทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น เล่นเกม ดูซีรีส์ ฟังเพลง ทำอาหาร ปลูกต้นไม้ เล่นกับสัตว์เลี้ยง เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ ก็จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายได้
  8. ออกกำลังกายแก้เครียด ขณะที่เราออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอ็นโดรฟินให้เรามีความสุข ลืมความทุกข์ไปชั่วขณะ และยังทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นอีกด้วย
  9. กินอาหารที่ดี พักผ่อนให้เพียงพอ หากรู้สึกอ่อนเพลียหรือเหนื่อยล้าจากการไปเที่ยวหลังวันหยุดยาว การกินอาหารที่ดี มีประโยชน์ อุดมด้วยโปรตีน มีไขมันน้อย เช่น ไก่ ปลา ไข่ไก่ ผักและผลไม้สด รวมถึงการนอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 7 – 8 ชั่วโมง จะช่วยซ่อมแซมและฟื้นฟูร่างกายได้เร็วขึ้น
  10. วางแผนจัดทริปเที่ยวครั้งต่อไป สำหรับใครที่เพิ่งกลับจากการไปเที่ยวหลังหยุดยาว การต้องกลับไปทำงานอาจเป็นเรื่องหดหู่ใจ โดยเฉพาะคนที่มีอาการหมดไฟ ดังนั้น การวางแผนจัดทริปเที่ยวครั้งต่อไปก็จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจเบี่ยงเบนอารมณ์เศร้าได้ โดยเริ่มจากวางแผนว่าจะไปที่ไหน ไปกี่วัน พักที่ไหน ทำกิจกรรมอะไรบ้าง พร้อมเตรียมตัวเก็บเงินสำหรับการเดินทางครั้งต่อไป ด้วยการตั้งใจทำงานให้ดีเพื่อเป้าหมายที่วางไว้นั่นเอง

แม้อาการซึมเศร้า หลังวันหยุดยาว จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันที่รุนแรง แต่ส่งผลอย่างมากต่อทัศนคติและความรู้สึกที่มีต่อการทำงานและประสิทธิภาพต่อการทำงาน

หากปล่อยให้มีอาการซึมเศร้า เบื่อหน่ายต่อการทำงานเป็นเวลานาน ก็จะส่งผลกระทบต่อภาวะหมดไฟและความก้าวหน้าในการทำงาน จึงควรดูแลจิตใจตนเอง รับมือกับภาวะนี้อย่างเข้าใจ รวมทั้งใช้เทคนิคการดูแลสุขภาพจิตดังกล่าวข้างต้น ก็จะสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานและทำให้กลับมาใช้ชีวิตปกติได้ แต่ถ้าอาการซึมเศร้ายาวนานเกิน 2 สัปดาห์ ควรปรึกษานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์

เช็คด่วน 7 อาการ ภาวะ ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว คืออะไร เบื้องต้น 10 วิธีรับมือด้วยตนเอง เป็นนานแค่ไหน ควรปรึกษานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พิมพ์ภัทรา" ปัดกดดัน "อธิบดีกรมโรงงาน" ลาออก แจงแค่สั่งเร่งแก้กากแร่แคดเมียม ป้องกระทบปชช.
ซาอุฯ ฝนถล่มน้ำท่วมหนัก-ฮ่องกงฟ้าผ่าเฉียดหมื่นครั้ง
ม็อบหนุนยิวชนม็อบหนุนปาเลสไตน์ที่ UCLA ตีกันเละ (คลิป)
สุดมึน "หนุ่มหลอน" บุกยึดบ้านนอน-กิน แถมขับรถไปซื้อกาแฟ สุดท้ายอ้างเฉยเป็นเจ้าของบ้าน
"ทีมแอนิเมชั่น 2475" แจ้งข่าวดี ก.วัฒนธรรม ผ่านเรทติ้งเหมาะผู้ชม "ทั่วไป" แล้ว
"สำนักพุทธฯ" บุกสอบ "เจ้าอาวาส" ฉาวเปิดฮาเร็มเคลมเด็กหนุ่ม ว่อนโซเชียล
กวางตุ้งระทึก ถนนยุบพังถล่ม รถ 20 คันไถลลงข้างทาง ดับ 24 ศพ
เปิดภาพ "ทักษิณ” ควง “สุวัจน์” ทัวร์สวนน้ำอันดามันภูเก็ต หวังบูมท่องเที่ยว
ถนนในกวางตุ้งยุบตัว พังถล่มเป็นทางยาว18 เมตร ดับ 24 ศพ
"อธิบดีกรมโรงงาน" เครียดปัญหากากแร่แคดเมียม แจ้งลาออกกลางวงกมธ.อุตฯ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น