No data was found

“มูลนิธิยังมีเรา” สำรวจน้ำท่วม จ.พระนครศรีอยุธยา-เตรียมเข้าช่วยเหลือ

"มูลนิธิยังมีเรา" สำรวจน้ำท่วม จ.พระนครศรีอยุธยา-เตรียมเข้าช่วยเหลือ

พื้นที่ที่เห็นเป็นพื้นที่หมู่ 1 หมู่4 หมู่ 7 หมู่ 9 สภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่หลุมต่ำริมตลิ่งติดคลองบางหลวง ทำให้ทุกๆปีเกิดน้ำท่วมเป็นประจำ โดยเฉพาะปีนี้ น้ำมาเร็วกว่าทุกปีตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม เป็นต้นมา ทำให้พี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อน ทั้งเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ การเดินทาง การอุปโภคบริโภครวมไปถึงเวลาเจ็บป่วยก็ออกไปโรงพยาบาลรักษาตัวลำบาก ระดับน้ำท่วมสูงสุดที่ริมตลิ่งไม่ต่ำกว่า 2 เมตร

“มูลนิธิยังมีเรา” โดยสำนักข่าว Top News จึงเดินทางมาที่ตำบลวัดตะกู เพื่อมาสำรวจพื้นที่น้ำท่วมและความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน มีนายประวิทย์ สุขนิมิตร ผู้จัดการมูลนิธิยังมีเรา และทีมข่าว Top นิวส์ลงพื้นที่สำรวจ

โดยจุดแรกที่มาสำรวจ เป็นพื้นที่หมู่ 4 และหมู่ 7 มีบ้านเรือนประชาชนไม่น้อยกว่า 100 หลังคาเรือน บ้านทุกหลังถูกน้ำท่วม 100% เต็ม เนื่องจากอยู่ติดริมคลองบางหลวง ชาวบ้านใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก ต้องพายเรือออกมาซื้อกับข้าว หาหมอและไปทำธุระต่างๆ

ข่าวที่น่าสนใจ

“ป้ามนต์” ชาวบ้านหมู่ 4 ที่พายเรือออกมาซื้อกับข้าว เล่าถึงความยากลำบากที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางน้ำ ให้ผู้สื่อข่าวฟังว่า ด้านในหมู่บ้าน น้ำท่วมทุกหลังสูงไม่ต่ำกว่า 2 เมตร เป็นแบบนี้มาทุกปี แต่ปีนี้น้ำมาเร็วมาตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม เวลาจะออกมาข้างนอกก็ต้องพายเรือออกมา

ป้ามนต์ยังบอกอีกว่า ตั้งแต่น้ำเริ่มท่วมเมื่อช่วงกลางเดือนสิงหาคมจนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามาช่วยเหลือหรือบรรเทาทุกข์ชาวบ้านต้องช่วยเหลือกันเอง ตอนนี้สิ่งที่ต้องการอยากได้ถุงยังชีพเพื่อที่จะได้ให้คนในครอบครัวใช้ชีวิตต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐหรือมูลนิธิองค์กรเอกชนก็ขอให้เข้ามาช่วยเหลือ ให้เร็วที่สุดด้วย

ขณะที่นายวุฒิภัทร วงศ์นิ่ม ปลัดอาวุโส รักษาการนายอำเภอบางบาล ที่วันนี้พา ทีมงานมูลนิธิยังมีเราและผู้สื่อข่าว Top News ลงพื้นที่สำรวจจุดที่มีน้ำท่วมสูงในพื้นที่อำเภอบางบาล นายวุฒิภัทรบอกว่า สำหรับอำเภอบางบาล ล่าสุดพบรายงานน้ำท่วมแล้ว16ตำบล ขณะนี้ได้เร่งเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนแล้ว

สำหรับตำบลวัดตะกู น้ำจะท่วมสูงแบบนี้เป็นประจำทุกปี เนื่องจากพื้นที่อยู่ติดกับคลองบางหลวงซึ่งเป็นคลองที่รับน้ำมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอบางบาลจะเป็นทุ่งรับน้ำ แต่ปีนี้น้ำมาเร็วกว่าทุกปีซึ่งในปีที่ผ่านๆมาน้ำจะเริ่มท่วมประมาณกลางเดือนกันยายนเป็นต้นไปแต่ปีนี้มาตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม

ส่วนการช่วยเหลือได้มอบหมายให้กำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลต่างๆรวบรวมชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเพื่อนำถุงยังชีพไปแจกจ่ายบรรเทาทุกข์เบื้องต้นแล้วบางส่วนเหลืออีกบางส่วนที่กำลังสำรวจและรองบประมาณในการจัดสรรถุงยังชีพ

ปลัดอาวุโสอำเภอบางบาลยังบอกอีกว่า การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอาจมีบ้างที่ตกหล่น หากหน่วยงานองค์กร หรือมูลนิธิใดอยากช่วยเหลือ ประชาชนก็ยินดีโดยติดต่อมาทางอำเภอ ซึ่งทางอำเภอมีข้อมูลว่า พื้นที่ไหนตำบลใดถูกน้ำท่วมและได้รับการช่วยเหลือไปแล้ว เพื่อการช่วยเหลือจะได้กระจายเข้าสู่ความเดือดร้อนทุกครัวเรือน

ไม่เพียงแค่อำเภอบางบาล ที่ทีมงานมูลนิธิยังมีเรา เดินทางไปสำรวจน้ำท่วม ยังมีอีก 2 อำเภอ คือ อำเภอเสนาและอำเภอผักไห่ ที่ทีมงานมูลนิธิยังมีเรา อยู่ในระหว่างลงพื้นที่สำรวจ เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนได้รับการช่วยเหลืออย่างทั่วถึงให้ได้มากที่สุด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ซีพีเอฟ เดินหน้าช่วยคนตัวเล็กต่อเนื่อง เสริมทักษะคู่ค้าธุรกิจ ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตอาหารสู่มาตรฐานสากล
กรมพัฒน์ จับมือกองทัพอากาศ อัพสกิลทหารสร้างอาชีพ-ช่วยเหลือประชาชน
"หนุ่ม กรรชัย" โพสต์ขยี้เจ็บ หลังรู้ผลศาลยกฟ้อง "ทนายธรรมราช" เอาผิด "อ.จตุรงค์" พูดหมิ่น
สลด หนุ่มคลั่งคว้าไม้หน้าสามฟาดชายวัย 59 ดับ ขณะนั่งกินข้าวร้านอาหาร ย่านภาษีเจริญ
"นายกฯ" กังวลปมศาลรธน.รับคำร้อง 40 สว. นัดคุยทีมกม.หลายชุด เตรียมพร้อมแจงทุกประเด็น
ชาวบ้านหลาย 10 หลังคาเรือนรวมตัวกันเรียกร้อง หลังทนกับสภาพกลิ่นเหม็นขี้ไก่ไม่ได้ เคยร้อง องค์การบริหารส่วนตำบลนาเริก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาหลายปี แต่ แต่เรื่องกลับเงียบหาย
2 คุณยาย ร้องสื่อ วอนเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ เพื่อนบ้านดมกาว เสพยา ท้าเอามีดแทง หาเรื่องด่าทอสารพัดสุดทน
อย่าเพิ่งรีบเติม พรุ่งนี้ "น้ำมัน" ลดราคา เบนซิน-แก๊สโซฮอล์ ปรับลงทุกชนิด
จีน ฝูง ‘ม้ามองโกล’ วิ่งห้อกลางทุ่งหญ้ารับฤดูร้อน
คนดังพาเหรดลง "สว." ฝ่าด่านหิน "เลือกกันเอง" ทะลวงด่านโหด "เลือกไขว้" ชิง 200 "อรหันต์" กุมอำนาจสภาสูง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น