No data was found

รมช.สาธารณสุข ยอมรับ’แอสตร้าฯ’เลื่อนส่งวัคซีน ไปปี2565

กดติดตาม TOP NEWS

รมช.สาธารณสุข ยอมรับ'แอสตร้าฯ'เลื่อนส่งวัคซีน ไปปี2565

นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข กล่าวในรายการ เจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ไทยแลนด์ ทางช่อง MCOT HD30 ว่า กรอบการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ในปี 2564 จะอยู่ที่ 100 ล้านโดส ส่วนปี 2565 เดิมเสนอไว้ 50 ล้านโดส แต่ต่อมามีการขอเพิ่มเป็น 100 ล้านโดส แต่ในที่ประชุมเห็นว่า 100 ล้านโดสอาจไม่ครอบคลุมทุกภาคส่วน จึงขยายกรอบไปที่ 120 ล้านโดส และจะเป็นการเตรียมวัคซีนให้ครบทุกเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น mRNA , Viral Vector และอื่นๆ อีกทั้งต้องพิจารณาวัคซีนในกลุ่มเด็กด้วย ซึ่งปัจจุบันมีเพียงวัคซีนยี่ห้อไฟเซอร์เท่านั้น ที่สามารถใช้กับผู้มีอายุระหว่าง 12-17 ปีได้ เพราะเด็กแม้จะติดเชื้อแล้วไม่ค่อยมีอาการ แต่ก็สามารถแพร่เชื้อสู่พ่อแม่ได้

ส่วนประเด็นวัคซีนโควิด-19 ยี่ห้อแอสตราเซเนกา ที่ทางการไทยจัดหาอยู่และเป็นที่รับรู้ว่าจะต้องส่งมอบให้ครบ 61 ล้านโดสภายในสิ้นปี 2564 นั้น ตนยอมรับว่าจะมีความคลาดเคลื่อน โดยจะมีการส่งมอบวัคซีนครบในเดือน พ.ค. 2565 ทั้งนี้ ในสัญญาไม่ได้ระบุเวลาชัดเจน แต่อาจมีเพียงจำนวนวัคซีนทั้งหมดที่จะส่งมอบ เป็นแผนที่มีการพูดคุยกันโดยเน้นการเจรจา

“ต้องเรียนว่าสงครามวัคซีนในช่วงเวลานี้ต้องยอมรับว่าเป็นอำนาจของผู้ขาย ฉะนั้นการกำหนดในสัญญาต่างๆ เขาจะไม่ค่อยผูกมัดในเรื่องของเวลา หรือเหมือนสั่งซื้อแล้วฟ้องบังคับชำระหนี้อาจมีปัญหานิดหน่อยแต่เราก็จำเป็น อันนี้เป็นกรอบเวลา แต่ถ้าเขาผลิตได้มากก็อาจจะส่งได้ทัน เหมือนกับ 2 ส่วนที่ผมเรียน ก็เป็นกรอบการจัดหาวัคซีนตามจำนวนที่ต้องจัดหา แต่ว่าทั้งหมดขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่างๆ” นายสาธิต กล่าว

นายสาธิต กล่าวต่อไปว่า ต้องยอมรับร่วมกันว่าโควิด-19 กับสถานการณ์วัคซีนมันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งเรื่องการพัฒนาสายพันธุ์และการระบาดในส่วนต่างๆ จึงมีการเปลี่ยนไป-มา ส่วนการตั้งกรอบคือตั้งไว้ให้กรมควบคุมโรคและสถาบันวัคซีนแห่งชาติไปจัดหาวัคซีนมาภายใต้เงื่อนไขความเปลี่ยนแปลง เช่น สมมติในปี 2565 ตั้งกรอบไว้แต่ไวรัสเกิดกลายพันธุ์ อย่างปัจจุบันที่มีสายเดลตา แต่ที่สหรัฐอเมริกายังมีสายแอปซีลอนอีก อนาคตก็อาจจะมีวัคซีนที่ผลิตมาเพื่อรับมือไวรัสกลายพันธุ์อีก จึงต้องมีกรอบกว้างๆ เอาไว้ปฏิบัติ

ทั้งนี้ แอสตราเซเนากา ยืนยันว่าจะส่งมอบวัคซีนให้ไทยร้อยละ 40 ของกำลังการผลิต ซึ่งขณะนี้ที่แจ้งมามีกำลังการผลิตอยู่ที่ 15 ล้านโดสต่อเดือน แต่ในอนาคตอาจผลิตได้มากขึ้น ซึ่งก็จะต้องไปเจรจากับทางแอสตราฯ ว่าในสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังต้องการวัคซีนอย่างมาก เพราะจำนวนผู้ติดเชื้อในกรุงเทพฯ และปริมณฑลสูงขึ้นอีกทั้งมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จึงต้องการวัคซีนมาหยุดยั้งการระบาดในส่วนนี้ และกระจายไปให้ทุกคนในประเทศ ดังนั้นจึงต้องนำวัคซีนแอสตราเซเนกา จำนวนที่ได้รับตามที่คุยกันได้ มากับวัคซีนตัวอื่นด้วย เช่น ที่มีการเก็บตัวอย่างข้ามจากซิโนแวคมาแอสตราเซเนกา ที่จะสามารถป้องกันเดลตาได้ประมาณร้อยละ 60-70 ก็จะเอามาบริหาร

ส่วนข้อกังวลเรื่องการปรับสูตรฉีดวัคซีนที่หลังจากนี้จะมี 3 สูตร คือ 1.ซิโนแวคเข็มแรกตามด้วยแอสตราฯ เข็มสอง 2.ซิโนแวค 2 เข็มแล้วกระตุ้นด้วยแอสตราฯ เข็มที่ 3 และ 3.แอสตราฯ 2 เข็ม ซึ่งต้องใช้วัคซีนแอสตราเซเนกาจำนวนมากแล้วจะหาจากไหน ขอชี้แจงว่าจาก 61 ล้านโดส เรื่องนี้ต้องเจรจากับทางแอสตราฯ ให้เข้าใจ และให้จัดส่งวัคซีนมาให้ไทย อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคไปแล้ว 2 เข็ม ขณะนี้ยังไม่มีนโยบายกระตุ้นด้วยวัคซีนเข็มที่ 3 ในหมู่ประชาชนทั่วไป

โดยเบื้องต้นจะให้เฉพาะบุคลากรสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ด่านหน้าก่อน เพราะจะต้องทำให้ทุกคนปลอดภัยเพื่อให้เราปลอดภัย คือให้เข็มหนึ่งให้ทั่วถึงกับคนไทยทุกคนก่อน ทั้งนี้ สำหรับวัคซีนแอสตราเซเนกา ในความต้องการนั้นอยู่ที่ 10 ล้านโดสตามเป้าหมายการฉีดวัคซีน ส่วนมติของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2564 ที่เสนอให้ควบคุมการส่งออกวัคซีนแอสตราเซเนกา เรื่องนี้ได้ให้ทางกรมควบคุมโรคและสถาบันวัคซีนแห่งชาติไปเจรจากับทางแอสตราฯ อย่างถึงที่สุด

“เราต้องเข้าใจว่าเราเน้นการเจรจา เราเข้าใจว่าแต่ละฝ่ายมีข้อจำกัด แต่เราต้องเน้นความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก ฉะนั้นก็ได้มอบให้กรมควบคุมโรคกับสถาบันวัคซีนไปเจรจาให้ดีที่สุด ว่าเป้าหมายที่เราอยากได้เป็นไปได้หรือไม่ อย่างไร แล้วจะเป็นเมื่อใด แล้วจะ Swap (สลับ) อย่างไรกับประเทศไหนไหม เช่น สถานการณ์ประเทศอื่นมีวัคซีนตัวอื่นมาแล้วยังไม่ต้องการ เอามาให้เราก่อนไหม สลับกันไป-มา การบริหารก็ทำให้เต็มที่เพื่อให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้” นายสาธิต ระบุ

นายสาธิต ยังกล่าวอีกว่า แม้ไทยจะพอมีอำนาจตามกฎหมายในการจำกัดการส่งออกยาหรือวัคซีน แต่การใช้อำนาจบางครั้งได้ผลแต่บางครั้งก็ไม่ได้ผล แต่เพื่อเป้าหมายสูงสุดบางครั้งก็อาจจะต้องใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสม แต่สำหรับสังคมไทย ตนคิดว่าความเชื่อมั่นสำคัญที่สุด และการให้ข้อมูลที่โปร่งใสและเป็นจริงไม่ว่าจะสถานการณ์อย่างไร ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่ากระทรวงสาธารณสุขได้สื่อสารอย่างชัดเจน แต่อาจจะเป็นกรอบหรือเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนก็ต้องมาดูกันอีกครั้ง

ส่วนประเด็นบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ ที่รัฐบาลไทยสนับสนุนงบประมาณ 600 ล้านบาทเพื่อปรับปรุงโรงงานให้ผลิตวัคซีนได้ และสัญญาว่าบริษัทจะคืนให้เมื่อสามารถผลิตวัคซีนได้แล้วโดยคืนในรูปของวัคซีน เรื่องนี้ไม่ได้เป็นเพียงเงื่อนไขแต่ยังเป็นเงื่อนเวลาด้วย ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องของการเจรจา อย่างการเลือกวัคซีนหลักของคนไทย 5 ยี่ห้อ แอสตราเซเนกา ซิโนแวค ไฟเซอร์ สปุตนิกวี และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน

ซึ่งเวลานี้ที่ไปทำสัญญา เช่น กรณีทำกับไฟเซอร์ที่เป็นเทคโนยี mRNA ยอมรับว่าเสียเปรียบ แต่ก็ต้องยอมเพราะต้องการให้มีวัคซีนเทคโนโลยี mRNA มาให้คนไทย จึงต้องสละสิทธิ์การใช้กฎหมายไทยเพื่อให้ได้วัคซีนมา แต่ถึงเงื่อนไขให้ได้วัคซีนมาจะเสียเปรียบ ก็ขึ้นอยู่กับพื้นฐานการเจรจาและความเข้าใจร่วมกันระหว่างทางการไทยกับผู้ผลิต

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

วงจรปิดจับชัด ลูกน้อง "บิ๊กโจ๊ก" ปลดป้ายหน้าห้องทำงาน พร้อมขนของออกจากสำนักงาน
ร้อนทะลุ 42 องศาฯ "ควาญช้าง" เฝ้าระวัง อาบน้ำให้วันละ 8 ครั้ง กังวลช้างหงุดหงิด คลั่ง
"สันติสุข" ชี้ทำทีวีไม่ง่าย แบกรับต้นทุน ขอบคุณแฟนข่าว เจ้าของสินค้า นำพา Top News ทำหน้าที่สื่อต่อไป
บุกจับ "แก๊งพระ" ลอบล่าสัตว์ป่าภูเขียว พบหลักฐานแน่น ช็อกหนักมีรองเจ้าคณะจังหวัดร่วมด้วย
โฆษกภูมิใจไทย แจง "บี พุฒิพงษ์" ค้านดิจิทัล วอลเล็ต เป็นเรื่องส่วนตัว เผย 1 ปีแล้วไม่เข้าร่วมกิจกรรมพรรค
ศาลพิพากษา ลงโทษปรับหนักผู้ต้องหาคดีหมูเถื่อนคนละ 8.6 ล้านบาท
อุกอาจ หนุ่ม Messenger ติดพนันออนไลน์ กระชากสร้อยต่อหน้ารถสายตรวจ สุดท้ายไม่รอด
สภาพอากาศวันนี้ กรมอุตุฯ เผยอากาศร้อนจัดในตอนกลางวัน เตือน 33 จว. มีฝน
แม่ช็อค ติดต่อลูกชายไม่ได้ พบกลายเป็นศพ รมควันคาห้องพัก
หนุ่มชัยภูมิลูกอีสาน แรงงานไทยหนีภัยสงคราม กลับมาปลูกองุ่นขาย รายได้งาม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น