No data was found

“ผู้พันเบิร์ด” เล่าครูอะไหล่ ร.6 มีกุศโลบายแยบยล เชี่ยวชาญ สถานการณ์โลก

กดติดตาม TOP NEWS

"ผู้พันเบิร์ด" พันเอก (พิเศษ) วันชนะ สวัสดี จิตอาสา 904 มีโอกาสได้เจอครูอะไหล่ หัวหน้าทีม Street Art King Bhumibol เป็นครั้งแรก พร้อมเปิดหัวข้อสนทนา "จิบกาแฟ แลสยาม"

ถือเป็นโอกาสอันดี ที่ผมได้มาเยือนร้านกาแฟของพี่เอ “ภักดี คาเฟ่” ในจังหวัดนนทบุรี อีกครั้ง และในรอบนี้ ผมได้เจอกับ น้องอะไหล่ หัวหน้าทีม Street Art King Bhumibol เป็นครั้งแรก เราเปิดหัวข้อสนทนากันด้วยเรื่องของประวัติศาสตร์ชาติไทย ตั้งชื่อหัวข้อว่า “จิบกาแฟ แลสยาม” ครับ

เราชินกับ ร.9 ทรงงาน ก็เหมือนคนไทยที่ชินกับ ร.5 ทรงงาน ต้นรัชกาลปัจจุบัน จึงไม่ต่างจากต้นรัชกาลที่ 6 ผมจึงอยากเล่าเรื่อง ร.6 กับความเชี่ยวชาญ สถานการณ์โลก แก้ไขข้อเสียเปรียบในสนธิสัญญาที่ไทยเสียเปรียบ

ตั้งแต่พิธีบรมราชาภิเษก 2562 จนปัจจุบันก็ผ่านมาเพียง 3 ปี ถือได้ว่าเป็นช่วงต้นรัชกาลที่ 10 ในขณะที่คนส่วนมากในประเทศไทย คุ้นชินกับการทรงงานที่ที่ยาวนานของ รัชกาลที่ 9 กล่าวได้ว่า เกิดมาตั้งแต่จำความได้ ก็เห็นรัชกาลที่ 9 ทำงานแล้ว ทำให้ผมนึกย้อนกลับไปว่า พระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งที่ทรงงานนานคือ รัชกาลที่ 5 คนในยุคนั้นก็คุ้นชินเช่นกัน

ดังนั้นในต้นรัชกาลที่ 6 กับ ต้นรัชกาลที่ 10 คือรัชกาลปัจจุบัน จึงมีความเหมือนกัน ที่เราต่างคุ้นชินกับวิธีทรงงานของรัชกาลก่อน แต่เมื่อมองย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ 6 ก็ได้ทราบว่าพระองค์ได้พัฒนาและทำให้สยาม เป็นปึกแผ่นมั่นคง ด้วยการทรงงาน ที่ต่างออกไปจาก ร.5 เพราะสถานการณ์ต่างกัน เช่นเดียวกับ รัชกาลปัจจุบัน ที่การทรงงานของในหลวง ร.10 จึงอาจต่างหรือเหมือนกันก็ไม่แปลก ที่สำคัญ เป็นการสืบสานรักษาต่อยอด

 

ข่าวที่น่าสนใจ

เมื่อกล่าวถึง ร.6 พระองค์จบการศึกษาทางทหารที่ ประเทศอังกฤษ คือ โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ (อังกฤษ: Royal Military Academy Sandhurst) หรือชื่อในอดีตคือ ราชวิทยาลัยการทหารแซนด์เฮิสต์ (Royal Military College, Sandhurst) หลังจากจบการศึกษาพระองค์ไปรับราชการที่กรมทหารราบ ที่เมืองเดอแรม จากนั้นจึงกลับมาไทย ในขณะนั้นก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ไทยได้ส่งทหารเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในครั้งนั้นด้วย เหตุเพราะ ความเชี่ยวชาญสถานการณ์โลก และการเมืองระหว่างประเทศ ของ ร.6 หลังจากเสร็จสิ้นสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ ไทยจึงยกเลิกสนธิสัญญาที่ทำกับเยอรมนีและออสเตรีย -ฮังการี ซึ่งไทยเสียเปรียบและไทยก็ได้พยายามขอเจรจาข้อแก้ไขสนธิสัญญาฉบับเก่า ซึ่งทำไว้กับอังกฤษ ฝรั่งเศส และ ชาติอื่นๆ ที่ไทยเสียเปรียบด้วย แต่ก็ทำได้ยาก และลำบาก กว่าจะเรียบร้อยก็ใช้เวลานานแม้ผ่านรัชกาล แล้วก็ยังไม่เรียบร้อย แต่ก็สานต่อ จากรัชกาล สู่รัชกาล จนเสร็จ

เรื่องแทรกเล็กๆคือ เพื่อนของ ร.6 ที่สมัยเรียนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ ก็ไปรบที่ สงครามโลกหลายคน บางคนเสียชีวิต บางคนพิการ ร.6 ได้ส่งเงินส่วนพระองค์ จำนาน 10,000 ปอนด์ ไปช่วยเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนทหารที่อังกฤษ การช่วยเหลือครั้งนี้ ถือเป็นไมตรีระหว่างเพื่อนกับเพื่อน ความทราบไปถึง สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร พระเจ้าจอร์จจึงส่งโทรเลขขอบคุณและส่งชุดทหารของ กรมทหารราบเดอแรม และพระราชทานยศนายพลเอกให้กับ ร.6 แล้วบอก ว่า

 

“ถ้า ร.6 จะใส่ชุดทหาร ก็ขอให้ใส่ชุดนี้ด้วย และเมื่อครั้งที่ ร.6 เสด็จเยือนรัฐมลายู ซึ่งตอนนั้นเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร พระองค์ก็ได้สวมชุดทหารนี้ด้วย สร้างความประทับใจและสร้างการรับรู้อย่างกว้างขวาง ถึงความเป็นมิตรที่สนิทกัน ระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรอีกด้วย กุศโลบายที่แยบยลลึกซึ้งแบบนี้เราจะได้เห็นเป็นประจักษ์จากการทรงงานของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์

ผมเล่าเรื่องนี้ระหว่างการพูดคุยกันที่ร้านกาแฟ ภักดี เราพบกันบ่อย ถ่ายทอดเรื่องราวระหว่างกันบ่อย โดยมีน้องๆ วนไปมา แลกเปลี่ยนกันโดยตั้งหัวข้อร่วมกันว่า “จิบกาแฟ แลสยาม”

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ปู จิตกร" จัดเต็ม แชร์โพสต์โดนใจ บรรยายแก่นศก.พอเพียง ไม่น่าเชื่อ ถูกนำมาใช้ด้อยค่า จากคนที่ด้อยปัญญา
"ซูเปอร์โพล" เปิดผลสำรวจ ประชาชนอยากเห็น "นายกฯ" ถือธงนำ ทุบเปรี้ยง 5 ข้อ "ปฏิรูปตำรวจ"
จีนปิด ‘สะพาน’ แลนด์มาร์กฉงชิ่ง รับทัพนทท.วันแรงงาน
สหรัฐ มือดีขู่วางระเบิดโบสถ์ยิวหลายแห่งทั่วนครนิวยอร์ก
สหรัฐ กลุ่มหนุนปาเลสไตน์ป่วนพิธีรับปริญญาที่ม.มิชิแกน
อุทาหรณ์ เด็กไม่นั่ง "คาร์ซีท" หลับจะร่วงหล่นพื้นรถ คนขับโต๊ะจีนเอามือคว้า เสียหลักพุ่งชนเสาไฟฟ้าเจ็บระนาว
"ภูมิธรรม" ป้อง "อุ๊งอิ๊ง" ยันวิจารณ์ธปท.สุจริตใจ ห่วงปชช.รับผลกระทบดอกเบี้ยแบงก์
นายกฯเยือนร้อยเอ็ด สั่งกรมชลประทานช่วยดูน้ำให้พอปลูกข้าว-พืชเกษตรได้ทั้งปี
"นายกฯ" ห่วงแรงงาน ยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มความคุ้มครองลูกจ้าง 11 เรื่อง เช็กเลยมีอะไรบ้าง
คาดยอดใช้แอร์ในอาเซียน พุ่ง 300 ล้านเครื่องในปี 83

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น