No data was found

“กอนช.” ออกประกาศเตือน หลายพื้นที่ระวังน้ำหลากท่วมฉับพลัน ดินถล่ม

กดติดตาม TOP NEWS

"กอนช." ออกประกาศเตือน หลายพื้นที่ระวังน้ำหลากท่วมฉับพลัน ดินถล่ม

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ออกประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 21/2564 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2564 เรื่อง “เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน” ระบุว่า จากการคาดการณ์สภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า มีร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ในช่วงวันที่ 6-8 ตุลาคม 2564 ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคใต้ฝั่งตะวันตก
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินสถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) มีพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนัก เฝ้าระวังน้ำไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงระหว่างวันที่ 6-10 ตุลาคม 2564 ดังนี้
1. เฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่ม และน้ำท่วมฉับพลัน ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

2. เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ บริเวณแม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ลำตะเพิน จังหวัดกาญจนบุรี และแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

3. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 80% ของความจุ เสี่ยงน้ำล้นทางระบายน้ำล้น อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่บริเวณท้ายน้ำ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำตะเพิน อ่างเก็บน้ำพุตะเคียน จังหวัดกาญจนบุรี อ่างเก็บน้ำห้วยมะหาด จังหวัดราชบุรี อ่างเก็บน้ำห้วยไทรงาม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อ่างเก็บน้ำคลองหยา และอ่างเก็บน้ำคลองแห้ง จังหวัดกระบี่
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1. ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ

2. พิจารณาบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 หรือเกณฑ์ควบคุมสูงสุด (Upper Rule Curve) เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นแก้มลิงหน่วงน้ำและรองรับน้ำหลาก

3. ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความสามารถใช้งานของอ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำ และติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมรับน้ำหลากป้องกันน้ำท่วม ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที

5. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ และเตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์

ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2564

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“ทนายอนันต์ชัย” ฟาดเดือดลัทธิ “เชื่อมจิต” บิดเบือนไร้ยางอาย
ผู้คนยังแห่เจิมเปิดดวงเศรษฐีและส่องเลขอ่างน้ำมนต์อาศรมฤาษีเณร สาวดวงเฮงถวายเงินทำบุญหนึ่งแสนหลังรับโชคกว่าล้าน
เดินหน้าต่อเนื่อง "ท็อปนิวส์" มอบของบริจาค ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเมียนมา ส่งตรงถึงมือที่อุ้มผาง แล้ว
เขื่อนแตกในเคนยา น้ำทะลักซัดดับ 45
แมวทรหด เจ้าของหาแทบตาย ที่แท้ติดไปกับพัสดุพันกว่ากิโลฯ
KFC มาเลเซีย ปิดชั่วคราวกว่า 100 สาขา เซ่นบอยคอตอเมริกา
อัยการสั่งฟ้อง "รุ้ง-บี๋" ผิดม.112 เป็นแอดมินเพจ "แนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ" โพสต์หมิ่น ใส่ร้าย สถาบันฯ
"ผู้พิการสายตา" สุดทน แฉสมาคมฯส่อตุกติกโควต้าสลากฯ โอดทุกข์หนักแบกต้นทุน บากหน้าซื้อยี่ปั๊วราคาโหด
นายกโต้ง รับฟังดราม่าเสาไฟฟ้าบังองค์พระพุทธรูปแกะสลักเขาชีจรรย์ จุดที่มองเห็นองค์พระสวยงามที่สุด
กิ้งกืออพยพในไต้หวันหวั่นลางบอกเหตุ ผู้เชี่ยวชาญชี้เรื่องธรรมชาติ (คลิป)

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น