No data was found

“ฝนหลวง” ฝนเทียมฝีมือมนุษย์หรือภาวะโลกรวน ถล่มยูเออี 254 มม.

ฝนหลวง ฝนเทียมฝีมือมนุษย์หรือภาวะโลกรวน ถล่มยูเออี 254 มม.

กดติดตาม TOP NEWS

"ฝนหลวง" ฝนเทียมน้ำมือมนุษย์ ถูกพุ่งเป้า ซ้ำเติมน้ำท่วม ยูเออี รวมถึงดูไบ แต่จะมองข้ามภาวะโลกรวนไปไม่ได้ เพราส่งสัญญาณมาก่อนแล้วในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา

TOP News รายงานประเด็น “ฝนหลวง” ยูเออี เผชิญฝนตกหนักอย่างไม่เคยเจอมาก่อน วัดปริมาณน้ำฝนเท่ากับค่าเฉลี่ยน้ำฝนที่ตกในเวลา 2 ปี มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย ถูกกระแสน้ำซัดไปพร้อมกับรถ ท่ามกลางกระแสข่าว ฝนถล่มครั้งนี้ไม่ใช่ธรรมชาติแปรปรวนอย่างเดียว แต่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ นั่นก็คือการทำฝนเทียม หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ ฝน หลวง

ข่าวที่น่าสนใจ

ฝนหลวง ฝนเทียมน้ำมือมนุษย์ ถูกพุ่งเป้า ซ้ำเติมน้ำท่วม ยูเออี รวมถึงดูไบ แต่จะมองข้ามภาวะโลกรวนไปไม่ได้ เพราส่งสัญญาณมาก่อนแล้วในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา

“ฝนหลวง” ฝนเทียมซ้ำน้ำท่วม?

ยูเออี เผชิญฝนตกหนักอย่างไม่เคยเจอมาก่อน เมื่อวันที่ 16 เมษายน โดยมีพื้นที่หนึ่งวัดปริมาณน้ำฝนได้กว่า 254 มิลลิเมตร เท่ากับค่าเฉลี่ยน้ำฝนที่ตกในเวลา 2 ปี ภาพสนามบินและสถานที่ต่าง ๆ ในดูไบ ศูนย์กลางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ จมอยู่ใต้น้ำ ที่แชร์ในโลกออนไลน์เป็นที่สนใจของคนทั่วโลก เพราะแทบไม่เคยเห็นประเทศในถิ่นทะเลทรายจะเจอน้ำท่วมหนักขนาดนี้ ขณะเดียวกัน ก็มีข่าวว่า ฝนถล่มครั้งนี้ไม่ใช่ธรรมชาติแปรปรวนอย่างเดียว แต่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ นั่นก็คือการทำฝนเทียม

สำนักข่าว CNBC อ้างคำให้สัมภาษณ์ของ รองผู้อำนวยการกรมอุตุนิยมวิทยายูเออี ที่ยืนยันว่า ทางหน่วยงานไม่ได้ส่งนักบินขึ้นทำภารกิจเพาะเมฆในช่วงก่อนหน้า และระหว่างพายุฝนถล่มยูเออีเมื่อวันอังคาร เพราะหนึ่งในหลักการพื้นฐานของการทำฝนเทียมก็คือ ต้องมุ่งเป้าไปที่เมฆตั้งแต่ระยะแรก หากมีสถานการณ์พายุฝนฟ้าคะนองรุนแรง นั่นคือสายเกินไปที่จะทำฝนเทียม ยืนยันว่า พายุฝนครั้งนี้เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ

ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานอ้าง นักอุตุนิยมวิทยา ที่บอกว่า ฝนถล่มเมื่อวันอังคาร ส่วนหนึ่งมาจากการทำฝนเทียม แต่ต่อมา เจ้าหน้าที่คนเดียวกันบอกใหม่ ว่า นักบิน 6 คน ขึ้นทำการบินเป็นภารกิจปกติ ไม่ได้ขึ้นไปทำฝนเทียม

ยูเออี ใช้ฝนเทียมแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำมานานหลายปี โดยจะส่งเครื่องบินขึ้นทำภารกิจสร้างฝนเทียมปีละประมาณ 1 พันชั่วโมง

ด้าน นิตยสาร เนเจอร์ รายงานก่อนหน้านี้ว่า จากที่เคยมีภูมิอากาศแบบทะเลทรายและแล้งฝน ยูเออี เริ่มเผชิญกับภูมิอากาศเปลี่ยนไปมาระยะหนึ่งแล้ว เนื่องจากภาวะโลกรวน ไคลเมท เชนจ์ (Climate Change) หรือภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง ปริมาณน้ำฝนในยูเออีเพิ่มขึ้นในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 15 – 30% ในหลายปีข้างหน้า

ฝนหลวง ฝนเทียมน้ำมือมนุษย์ ถูกพุ่งเป้า ซ้ำเติมน้ำท่วม ยูเออี รวมถึงดูไบ แต่จะมองข้ามภาวะโลกรวนไปไม่ได้ เพราส่งสัญญาณมาก่อนแล้วในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา

“ฝนหลวง” ?

โครงการ ฝน หลวง เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริฯ ในหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อสร้างฝนเทียม สำหรับบรรเทาปัญหาความแห้งแล้ง และการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร

จากการที่ทรงติดตามผลการทดลอง ควบคู่กับปฏิบัติการ และทรงวิเคราะห์วิจัย จากรายงานผลการปฏิบัติการประจำวัน และรายงานของคณะปฏิบัติการ ที่ทรงบัญชาการด้วยพระองค์ ประกอบกับที่ทรงสังเกตสภาพกาลอากาศ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในท้องฟ้า ทั้งในช่วงที่มีปฏิบัติการทดลอง และไม่ปฏิบัติการอย่างใกล้ชิด รวมทั้งสนพระทัยศึกษาจากเอกสารวิชาการ จึงทรงสามารถพัฒนา กรรมวิธีการทำฝนจากเมฆอุ่น อย่างก้าวหน้ามาตามลำดับ จนทรงมั่นพระทัย จึงทรงสรุป ขั้นตอนกรรมวิธีในปี 2516 แล้วพระราชทานให้ใช้ เป็นหลักในการปฏิบัติการสืบเนื่องมา ซึ่งมี 3 ขั้นตอน ดังนี้

  • ขั้นตอนที่ 1 : ก่อกวน โปรยโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) หรือสารเคมีตามสูตรที่เหมาะสมในทิศเหนือลม เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการก่อตัวของไอน้ำและความชื้นมารวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน
  • ขั้นตอนที่ 2 : เลี้ยงให้อ้วน โปรยแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) หรือสารเคมีตามสูตรที่เหมาะสม เพื่อดูดความชื้นและคายความร้อนออกมา ทำให้มวลเมฆก่อตัวใหญ่ขึ้น และมียอดเมฆสูงขึ้น
  • ขั้นตอนที่ 3 : โจมตี เมื่อเมฆเคลื่อนที่เข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย ให้ทำการโจมตีก้อนเมฆโดยใช้เครื่องบิน 2 ลำ ลำแรกบินที่ยอดเมฆเพื่อโปรยโซเดียมคลอไรด์ให้มวลเมฆเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ลำที่ 2 โปรยผงยูเรียบริเวณฐานเมฆเพื่อกระตุ้นให้เกิดการกลั่นตัวของเมฆกลายเป็นเม็ดฝน

ในทางปฏิบัติยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายในการทำ ฝน หลวง ซึ่งแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์และความเหมาะสมในการเลือกใช้สารเคมี แต่ทั้งหมดล้วนมีหลักการพื้นฐานคล้ายคลึงกันดังกล่าวข้างต้น

เทคโนโลยีและเทคนิคการทำฝนเทียมได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 โดย ในหลวง รัชกาลที่ 9 ด้วยพระปรีชาสามารถและความรอบรู้ในการศึกษาและวิจัย ทำให้การทำฝนเทียมเป็นที่ยอมรับจากหลายประเทศทั่วโลก และทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการสร้างฝนเทียมเขตร้อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

ฝนหลวง ฝนเทียมน้ำมือมนุษย์ ถูกพุ่งเป้า ซ้ำเติมน้ำท่วม ยูเออี รวมถึงดูไบ แต่จะมองข้ามภาวะโลกรวนไปไม่ได้ เพราส่งสัญญาณมาก่อนแล้วในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"สุชาติ" เปิดบ้านชื่นมื่น ชาวชลบุรีแห่ยินดี รับตำแหน่งรมช.พาณิชย์ ลั่นมุ่งมั่นทำงานเพื่อประชาชน สถาบันหลักชาติ
รอง ผอ.ศรชล.จว.สป. เป็นประธานจัดกิจกรรม "วันอาภากร"
ยายวัย 82 โชคดีหวิดดับ หลังมายืนรดน้ำต้นไม้
ผู้กำกับพัทยาจัดพิธีบวงสรวง เสด็จเตี่ย เนื่องในวันอาภากร
สพป.ขอนแก่น สั่งเด้ง "ผอ." ซื้อบริการเด็ก 12 ปี ตั้งคกก.สอบ เข้าข่ายผิดวินิยร้ายแรง
"โฆษกศธ." ย้ำนโยบายลดภาระเปิดเทอม ผ่อนผัน ยกเว้นแต่งชุดนร.ไม่ใช่ยกเลิก
"ทนายด่าง" เตรียมนำทีมครอบครัว ทวงถามรพ.ราชทัณฑ์ ขอเอกสารก่อน "บุ้ง" เสียชีวิต 5 วัน ยังคาใจใส่ท่อผิดจุด
เตรียมพิธีรับมอบ "Golden Boy–สตรีพนมมือ" หวนคืนแผ่นดินไทย 21 พ.ค.นี้
"นักโบราณคดี" ยืนยัน "โกลเด้นบอย" ถูกค้นพบที่ จ.บุรีรัมย์ ถือเป็นหลักฐานใหม่ พลิกหน้าประวัติศาสตร์
คลิปนี้ชัดมาก “แม่น้องไนซ์” พูดเต็มปากเต็มคำ เชื่อมจิตมีในพระไตรปิฎก โซเชียลจับตาส่อผิด พ.ร.บ.คอมพ์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น