“ป่วนขบวนเสด็จฯ” 2567 ทำไมรู้ว่าเป็นขบวน กรมสมเด็จพระเทพฯ ?

ป่วนขบวนเสด็จฯ 2567 ทำไมรู้ว่าเป็นขบวน กรมสมเด็จพระเทพฯ ?

"ป่วนขบวนเสด็จฯ" รู้หรือไม่ว่าเป็น รถยนต์พระที่นั่ง กรมสมเด็จพระเทพฯ ? สีรถ และ เลขทะเบียน ร.ย.ล. มีที่มาอย่างไร

TOP News รายงานประเด็น “ป่วนขบวนเสด็จฯ” เราผู้ใช้รถใช้ถนนจะรู้ได้อย่างไรว่านี่คือ ขบวนเสด็จฯ สีรถยนต์ในขบวนเสด็จพระราชดำเนิน และเลขทะเบียน ร.ย.ล. มีที่มาอย่างไร? ใครกันเป็นผู้กำหนด?

ข่าวที่น่าสนใจ

แต่ล่าสุดกับเหตุการณ์ “ป่วนขบวนเสด็จฯ” กรมสมเด็จพระเทพฯ ปรากฏภาพคลิปวิดีโอไปทั่วโลกออนไลน์ และนี่คือความจริงที่เกิดขึ้น ที่ไม่อาจบิดเบือนได้ เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่านี่คือ ขบวนเสด็จฯ

ป่วนขบวนเสด็จฯ รู้หรือไม่ว่าเป็น รถยนต์พระที่นั่ง กรมสมเด็จพระเทพฯ ? สีรถ และ เลขทะเบียน ร.ย.ล. มีที่มาอย่างไร

สีรถยนต์พระที่นั่ง – เลขทะเบียน ร.ย.ล.?

ย้อนไปประเทศสยามราวปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งรถยนต์เริ่มนิยมใช้ในหมู่เจ้านายและชนชั้นสูง ก่อนจะแพร่หลายทั่วไป ปรากฏว่ารถยนต์ได้ก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือปัญหาบนท้องถนน เนื่องจากความไร้ระเบียบวินัยและความคับคั่งของรถยนต์บนถนน ดังนั้น จึงได้มีการออกพระราชบัญญัติรถยนต์ รัตนโกสินทร์ ศก 128 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับรถยนต์ฉบับแรกของประเทศ เพื่อควบคุมเจ้าของพาหนะ ยานพาหนะ การจดทะเบียน และการออกใบอนุญาต ฯลฯ และที่สำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้คือจุดเริ่มต้นของการมีเลขทะเบียนรถเป็นครั้งแรก

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 หน่วยงานที่ดูแลการเสด็จพระราชดำเนินทางรถยนต์คือ “กรมพระอัศวราช” ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาดเล็ก มีหน้าที่รับผิดชอบคลอบคลุมทั้งเรื่องม้าต้น รถม้าพระที่นั่ง ม้าพระประเทียบ เรือยนต์พระที่นั่ง เรือกลไฟ และ รถยนต์พระที่นั่ง

ครั้นเมื่อรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระยาประสิทธิศุภาการ หรือ หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ ภายหลังคือ เจ้าพระยารามราฆพ เป็นผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2462 หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ ได้เข้ามาบริหารจัดการกิจการมหาดเล็กหลายประการ ที่สำคัญคือในกิจการเกี่ยวกับ รถยนต์พระที่นั่ง ที่ หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ ได้ริเริ่มให้จัดสีรถยนต์ตามประเภท และให้ใช้เลขทะเบียน “ร.ย.ล.” เป็นครั้งแรก ดังปรากฏตามความ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก พลเรือเอก กองเรือใหญ่ เจ้าพระยารามราฆพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ว่า

“รถยนต์หลวงท่านจัดให้มีสีต่าง ๆ กันตามประเภท รถยนต์พระที่นั่ง ใช้สีเหลืองอ่อนหรือสีงาช้าง รถขบวนตามเสด็จใช้สีแดง รถพระประเทียบใช้สีเหลืองแก่ รถยนต์หลวงในสมัยนั้นไม่ต้องใช้เลขหมาย จึงเกิดการปลอมแปลงให้เหมือนรถยนต์หลวงกันบ้าง ท่านจึงให้รถยนต์หลวงใช้เครื่องหมาย ร.ย.ล. 1 (และเลขต่อ ๆ ไป) สีและเลขหมายนี้ยังคงใช้อยู่ในบัดนี้”

และ ท่าน ในข้อความข้างต้น หมายถึง เจ้าพระยารามราฆพ หรือ หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ ดังนั้น จึงได้เกิดแบบแผนเกี่ยวกับเรื่องสีและเลขทะเบียนรถยนต์ใน ขบวนเสด็จฯ มานับแต่นั้น สำหรับ รถยนต์พระที่นั่ง จะใช้สีเหลืองอ่อนหรือสีงาช้าง รถยนต์ตามเสด็จฯ จะใช้สีแดง และรถยนต์พระประเทียบ รถยนต์สำหรับพระสังฆราช ผู้แทนพระองค์ หรือทูต ที่จะเข้าถวายพระราชสาส์น หรืออักษรสาส์นตราตั้ง จะใช้สีเหลืองแก่

ป่วนขบวนเสด็จฯ รู้หรือไม่ว่าเป็น รถยนต์พระที่นั่ง กรมสมเด็จพระเทพฯ ? สีรถ และ เลขทะเบียน ร.ย.ล. มีที่มาอย่างไร

สำหรับประเด็นเรื่องสี วรชาติ มีชูบท ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัชกาลที่ 6 เคยได้อธิบายไว้ว่า “การที่กำหนดสีรถยนต์พระที่นั่งเป็นสีเหลืองนวลนั้น น่าจะสืบเนื่องมาจากสีรถม้าพระที่นั่ง ที่เป็นสีเหลืองนวลมาแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งน่าจะมีที่มาจากสีทองของราชรถในสมัยโบราณ ส่วนสีแดงสำหรับรถขบวนนั้น น่าจะมีที่มาจากสีบานเย็นซึ่งเป็นสีประจำกระทรวงวัง เพื่อให้ทราบชัดว่าเป็นรถหลวง

ส่วนรถพระประเทียบที่เป็นสีเหลืองอ๋อยนั้น คงให้รับกับจีวรพระ เพราะนอกจากเป็นพาหนะประจำพระองค์สมเด็จพระสังฆราชแล้ว เวลาเชิญพระไชยวัฒน์ประจำรัชกาลต่าง ๆ ไปในการบำเพ็ญพระราชกุศลภายนอกพระบรมมหาราชวัง ก็จะเชิญพระไชยวัฒน์ไปโดยรถยนต์พระประเทียบนี้

ป่วนขบวนเสด็จฯ รู้หรือไม่ว่าเป็น รถยนต์พระที่นั่ง กรมสมเด็จพระเทพฯ ? สีรถ และ เลขทะเบียน ร.ย.ล. มีที่มาอย่างไร

ดังนั้น หากเราสังเกตสีรถในขบวน รวมถึงเลขทะเบียน ร.ย.ล. ก็จะทราบได้ทันทีว่าเป็น ขบวนเสด็จฯ ซึ่งมีแบบแผนปฏิบัติสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ส่วนปัจจุบันจะเห็นได้ว่า การกำหนดแนวทางด้านการจราจรในขณะที่มีขบวนเสด็จฯ นั้น จะมีการจัดการอย่างเหมาะสม โดยไม่มีการปิดช่องทางการจราจร ซึ่งเป็นไปตามพระราชประสงค์ของ ในหลวง ที่ทรงห่วงใยและไม่ต้องการให้ประชาชนได้รับผลกระทบ รวมทั้งคำนึงถึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้วย

ทั้งนี้ การขอความร่วมมือจากประชาชนในบางกรณี ก็เป็นไปตามจุดประสงค์หลัก นั่นคือ เพื่อคุ้มครองถวายความปลอดภัยแก่ประมุขของประเทศ ซึ่งถือเป็นหลักสากลที่ทุกประเทศต่างปฏิบัติเหมือน ๆ กันนั่นเอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“อนุทิน” น้ำตาคลอ หลังเห็นชาวเชียงใหม่น้ำท่วมหนัก แต่ยังยิ้มได้ ลั่นเรามาให้กำลังใจเขาแต่ได้กำลังใจกลับมา
นักท่องเที่ยวฮือฮา! ตะเกียงเจ้าพายุ รถจิ๊ปโบราณอายุ 82 ปี เคยผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2
ตร.ตามรวบถึงที่ หนุ่มปล่อย "ภาพลับ-คลิป" อดีตแฟนสาว หลังเลิกกัน ตามรังควานไม่หยุด
นทท.เริ่มเดินทางเข้าตราดลงเกาะช้าง เกาะกูดจำนวนมากแต่ยังไม่คึกคัก
"ผู้ต้องหาเยาวชน" หนีตำรวจ กระโดดลงคลองแสนแสบ จมน้ำดับสลด
สลด! หนูน้อย 6 ขวบ ลื่นตะไคร่หัวปักจมอ่างเก็บน้ำดับ แม่ร่ำไห้แทบขาดใจ พุ่งกอดศพลูกด้วยความอาลัย
ไม่มีละเว้น "ทบ." สั่งขังสิบเวร ปมลงโทษทหารเกินกว่าเหตุในหน่วยลพบุรี
เปิดผลสำรวจ ความสุขในฐานะทางการเงินของชีวิตคนไทย เพิ่มขึ้น
"ป้า" น้องปูอัด ฮีโร่รถบัสไฟไหม้ สุดงง "แม่" โผล่ทวงสิทธิ รับเงินเยียวยา 1.2 ล้าน ทั้งที่ไม่เคยเลี้ยงดู
ตร.ตามจับหนุ่มใหญ่ติดแบล็คลิสต์ สวมเลขบัตรปชช.คนอื่น ทำบัตรเครดิต หนีหนี้กว่าครึ่งล้าน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น