No data was found

เปิด 7 ความเชื่อเรื่อง “ยา” ที่คนเข้าใจผิด ใช้ผิด ๆ อันตรายถึงชีวิต

ยา, ยาฉีด, ยากิน, กินยาดักไข้, ยาลดไข้, ยาไทย, ยาต่างประเทศ, ยาต้นแบบ, ยาสามัญ, ผลข้างเคียงของยา, ยาทาภายนอก, ยาที่ออกฤทธิ์แรง, ดื้อยา

กดติดตาม TOP NEWS

เปิด 7 ความเชื่อผิด ๆ เรื่องการใช้ "ยา" จากคำปากต่อปาก หรือความเชื่อส่วนตัว อย. เตือน เผลอใช้ผิด บางสถานการณ์เสี่ยงรุนแรงถึงชีวิต เช็ค

เปิด 7 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ “ยา” ที่หลายคนไม่เคยรู้ จนใช้อย่างไม่เหมาะสม อย. มีคำตอบให้แล้ว ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

ไขข้อสงสัย มีความเชื่ออะไรที่ผิดบ้างเกี่ยวกับการใช้ “ยา” ที่หลายบ้านมักใช้ผิด จากคำบอกต่อจนทำให้หลายคนเชื่อว่าทำแบบนี้ดี หารู้ไม่กำลังใช้ย า อย่างไม่เหมาะสม อาจอันตรายถึงชีวิตได้ วันนี้ TOP News มีคำตอบให้แล้ว เช็คเลย!

7 ความเชื่อเรื่อง “ยา” ที่คนเข้าใจผิด

1. ขอหมอฉีดย า เพราะ เข้าใจว่า ย าฉีดดีกว่าย ากิน

  • ประสิทธิภาพของย ากินไม่ด้อยกว่าย าฉีด หากเป็นตัวย าชนิดเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นย ากินหรือย าฉีด
  • เมื่อใช้ในขนาดที่แนะนำ จะมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคพอ ๆ กัน
  • ย าฉีดใช้ในกรณีผู้ป่วยวิกฤติหรือผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน หรือผู้ที่กำลังอาเจียน ไม่รู้สึกตัว กลืนย าไม่ได้

 

ยา, ยาฉีด, ยากิน, กินยาดักไข้, ยาลดไข้, ยาไทย, ยาต่างประเทศ, ยาต้นแบบ, ยาสามัญ, ผลข้างเคียงของยา, ยาทาภายนอก, ยาที่ออกฤทธิ์แรง, ดื้อยา

 

2. กินย าดักไข้ ไว้ก่อนจะได้ไม่ป่วย

  • ย าลดไข้ ไม่ควรกินไว้ก่อน เพื่อป้องกันอาการไข้
  • การกินย าโดยไม่มีข้อบ่งชี้หรืออุณหูมิร่างกายไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส ทำให้ร่างกายได้รับสารเคมีเข้าไปโดยไม่จำเป็น
  • และอาจมีผลข้างเคียงจากยาลดไข้ เช่น ภาวะตับอักเสบ

3. ย าทุกชนิดควรเก็บในตู้เย็น

  • ย าแต่ละชนิดมีความคงตัวต่างกัน ควรเก็บย าตามคำแนะนำบนฉลาก
  • ย าบางชนิดหากเก็บในตู้เย็น อาจทำให้เกิดการเสื่อมสลายของตัวย าสำคัญเนื่องจาก ความชื้นและอุณหภูมิไม่เหมาะสม เช่น
    • ย าแคปซูลเกิดการเยิ้มติดกันจากความชื้น
    • ย าครีมเป็นก้อนแตกแข็ง
    • อีกทั้งยังทำให้เกิดสารพิษขึ้นได้ เช่น แช่ย าเม็ดแอสไพรินในตู้เย็นที่มีความชื้นสูงทำให้เกิดพิษ ร่างกายขาดออกซิเจน ชัก และหมดสติได้เมื่อรับในปริมาณสูง

 

ยา, ยาฉีด, ยากิน, กินยาดักไข้, ยาลดไข้, ยาไทย, ยาต่างประเทศ, ยาต้นแบบ, ยาสามัญ, ผลข้างเคียงของยา, ยาทาภายนอก, ยาที่ออกฤทธิ์แรง, ดื้อยา

4. ย าของไทยประสิทธิภาพน้อยกว่าย าต่างประเทศ

  • ไม่ว่าย าจะผลิตขึ้นในไทยหรือต่างประเทศย่อมผ่านกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานการผลิตและประกันคุณภาพของ FDA ประเทศนั้น ๆ
  • ซึ่งแน่นอนว่าย าที่มีจำหน่ายอย่างถูกกฎหมายให้ประสิทธิภาพการรักษาเช่นเดียวกัน หากใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  • ต่างกันที่ราคาซึ่งย าต้นแบบจะมีราคาสูงกว่าย าสามัญ (ย าที่มีตัวย าสำคัญชนิดเดียวกันกับย าต้นแบบที่เคยขึ้นทะเบียนไว้ แต่ผลิตขึ้นมาภายหลัง)
  • เนื่องจาก ต้องใช้เงินลงทุนในการวิจัยและพัฒนาย าใหม่ ซึ่งทั้ง 2 ชนิดต้องผ่านการรับรองทั้งนั้น

5. ปัสสาวะเปลี่ยนสี แปลว่า ย านั้นออกฤทธิ์ดี

ไม่เสมอไป ขึ้นอยู่กับชนิดของย า หากกินย าแล้วสีของปัสสาวะเปลี่ยนไปอาจสื่อได้ 2 แบบ คือ

1. ปัสสาวะเปลี่ยนสีจากการที่ย าถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกาย เช่น

  • กินย ากันชัก Phenytoin ทำให้ปัสสาวะสีแดง
  • ย าระบายมะขามแขก ทำให้ปัสสาวะมีสีน้ำตาลถึงดำ เป็นต้น

ซึ่งมักไม่ก่อให้เกิดอันตราย ซึ่งสีของปัสสาวะอาจแตกต่างกันได้ในแต่ละคน

2. ปัสสาวะเปลี่ยนสีจากผลข้างเคียงของย า

  • บ่งบอกถึงอันตรายหรือความผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น กินย าลดไขมันในเลือดบางกลุ่ม แล้วปัสสาวะมีสีน้ำตาลแดง ร่วมกับปวดกล้ามเนื้อ บ่งบอกถึงอาการไม่พึงประสงค์ของย าที่รุนแรง ต้องรีบพบแพทย์

 

ยา, ยาฉีด, ยากิน, กินยาดักไข้, ยาลดไข้, ยาไทย, ยาต่างประเทศ, ยาต้นแบบ, ยาสามัญ, ผลข้างเคียงของยา, ยาทาภายนอก, ยาที่ออกฤทธิ์แรง, ดื้อยา

 

6. ย าทาภายนอก ทาเยอะ ทาบ่อย ไม่เป็นอันตราย

  • โครงสร้างผิวหนังแต่ละแห่งมีผลต่อการดูดซึมตัวยาไม่เท่ากัน บริเวณที่ผิวบาง เช่น ใบหน้า จึงไม่ควรใช้ย าที่มีความเข้มข้นสูงหรือทาย าในปริมาณมาก
  • การใช้ย าในปริมาณมากและบ่อยไม่ได้ทำให้อาการหายไวขึ้น แต่อาจเพิ่มอันตรายจากตัวย าที่มากเกินไปถูกดูซึมเข้ากระแสเลือดเกิดผลข้างเคียงจากย า รวมถึงระคายเคืองบริเวณที่ทาได้

7. เลือกตัวย าที่มีฤทธิ์แรง เพื่อผลการรักษาที่ดีกว่า

  • หากมีการตอบสนองต่อย าทั่วไปดี ไม่จำเป็นต้องใช้ย าที่ออกฤทธิ์แรงกว่าเพื่อหวังผลการรักษาที่ดีกว่า
  • เพราะ ย าที่ออกฤทธิ์แรงอาจมีผลข้างเคียงเพิ่มขึ้น และเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
  • ย าที่มีฤทธิ์แรงเหมาะสำหรับผู้ที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อย าที่มีฤทธิ์อ่อน เกิดการติดเชื้อรุนแรง ดื้อย า หรืออาการของโรคซับซ้อน

ข้อมูล : FDA Thai 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ลูกเมียใจแทบขาด เสียเสาหลักครอบครัว หลัง สามีแต่งกิ่งทุเรียนถูกไฟฟ้าแรงสูง 22,000 โวลต์ช็อต ไหม้เกรียม
"ก้าวไกล" โล่งอีกเปลาะ ศาลรธน.อนุญาตขยายเวลา ยื่นชี้แจงยุบพรรค รอบที่ 3
พ่อค้า-แม่ค้าธารน้ำไหลบ้านนา โวยเขื่อน! พระสะทึง ปล่อยน้ำฉับพลัน ร้านค้าริมคลอง เสียหายเพียบ โอด น้ำมาเร็วมาก หน่วยงานก็ไม่แจ้งให้ทราบ
"ดร.โอฬาร" เตือนคิดให้รอบคอบ ดึงกัญชาขึ้นบัญชียาเสพติด ชี้มีประโยชน์การแพทย์-เศรษฐกิจ
“น้องไนซ์” ยัวะ โดน พม.ไล่ต้อน “วราวุธ” ฮึ่ม เตรียมใช้หมายศาลแยกตัวเด็ก
"ถาวร" ค้านนำเคส "บุ้ง" โยงกม.นิรโทษ ต้องรวมคดี 112
ไอเดียเก๋ "ครูสอนอนุบาล" รร.เทพประสิทธิ์วิทยา ฉะเชิงเทรา ตั้งป้ายแสตนดี้ "ลาบูบู้" จูงใจเด็กเล็กให้อยากมาเรียน
เจ้าของปั๊มใจป้ำ จัดโปรฯเติมน้ำมัน 200 แถมฟรีอีก 200 คนแห่มารอแน่น
"เจี๊ยบ อมรัตน์" หัวร้อนขู่ฟ้องสื่อ ปั่นใส่ร้ายไม่รู้จักทะลุวัง
แคนาดา ไฟป่ารุกใกล้แหล่งน้ำมัน สั่งอพยพกว่า 6 พันคน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น