No data was found

สิทธิ “บัตรทอง” ตรวจยีนกลายพันธุ์มะเร็งเต้านม BRCA1/BRCA2

กดติดตาม TOP NEWS

สิทธิ "บัตรทอง" บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ค้นหายีนกลายพันธุ์ BRCA1/BRCA2 ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป เช็คเงื่อนไขได้ที่นี่

สปสช. เพิ่มสิทธิประโยชน์ สิทธิ “บัตรทอง” บริการ ตรวจ มะเร็ง ปาก มดลูก ค้นหาการกลายพันธุ์ของยีนโรคมะเร็งเต้านม BRCA1/BRCA2 สำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่เป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูง และญาติสายตรงที่มีประวัติครอบครัวตรวจพบยีนกลายพันธุ์ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

สปสช. แจงแนวทางให้บริการสิทธิประโยชน์ใหม่ “บัตรทอง” 30 บาท ตรวจคัดกรอง เพื่อค้นหาการกลายพันธุ์ของยีนโรคมะเร็งเต้านม BRCA1/BRCA2 ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อค้นหาการกลายพันธุ์ของยีน

  • ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมของญาติสายตรงที่มีประวัติครอบครัวตรวจพบยีนกลายพันธุ์
  • ลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต จากโรคร้ายให้กับประชาชนไทย

โดยผู้ที่ได้รับบริการ คือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมตามเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง (ขณะนี้ให้บริการเฉพาะผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิ “บัตรทอง” 30 บาทเท่านั้น)โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม

  • เมื่ออายุไม่เกิน 45 ปี

2. ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมที่อายุ 46-50 ปี

  • ร่วมกับมีประวัติเคยเป็นโรคมะเร็งซ้ำหลายครั้ง
  • หรือมีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือ บุตรของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม) อย่างน้อย 1 คน ที่มีประวัติโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งตับอ่อน หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก

บัตรทอง, สิทธิบัตรทอง, สปสช., โรคมะเร็งเต้านม BRCA1/BRCA2, โรคมะเร็งเต้านม, กลายพันธุ์ของยีน, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, ยีนกลายพันธุ์, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, วินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม, ยีนโรคมะเร็งเต้านมชนิด BRCA1/BRCA2, มะเร็งในผู้หญิง

3. ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมเมื่ออายุมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี ร่วมกับข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

  • มีประวัติญาติสายตรงอย่างน้อย 1 คน ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับการวินิจฉัยเมื่ออายุไม่เกิน 50 ปี หรือมะเร็งเต้านมในผู้ชาย หรือ มะเร็งรังไข่ หรือ มะเร็งตับอ่อน หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • มีประวัติผู้ป่วยในครอบครัวอย่างน้อย 3 คนที่เป็นมะเร็งเต้านม
  • มีประวัติในครอบครัวสายตรงอย่างน้อย 2 คนที่เป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก

4. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทุกช่วงอายุ

  • ที่เป็นมะเร็งเต้านมแบบ triple negative หรือเป็นมะเร็งเต้านมในผู้ชาย

ทั้งนี้ หากผลการตรวจคัดกรองยีนในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูง พบว่ามีการกลายพันธุ์ของยีนโรคมะเร็งเต้านมชนิด BRCA1/BRCA2 แล้ว ญาติสายตรงซึ่ง ได้แก่

  • พ่อ แม่
  • พี่ น้อง หรือ บุตร

ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จะได้รับการติดตามให้มาตรวจคัดกรอง เพื่อค้นหาการเพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านมให้กับญาติสายตรงฯ ต่อไป

บัตรทอง, สิทธิบัตรทอง, สปสช., โรคมะเร็งเต้านม BRCA1/BRCA2, โรคมะเร็งเต้านม, กลายพันธุ์ของยีน, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, ยีนกลายพันธุ์, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, วินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม, ยีนโรคมะเร็งเต้านมชนิด BRCA1/BRCA2, มะเร็งในผู้หญิง

ในการรับบริการตามสิทธิประโยชน์นี้ แพทย์จะเป็นผู้ที่วินิจฉัยผู้ป่วยและประเมินผู้ที่มีความเสี่ยงเพื่อเข้ารับบริการตรวจ ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เข้าเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงตามหลักเกณฑ์ 4 ข้อข้างต้น แพทย์จะเป็นผู้ที่วินิจฉัยและประเมิน เพื่อเข้ารับบริการตรวจตามสิทธิประโยชน์ หรือผู้ป่วยสามารถสอบถามจากแพทย์ที่รักษาท่านเพื่อให้วินิจฉัยว่าเข้าเกณฑ์หรือไม่

โดยการวินิจฉัยและประเมินนี้เป็นไปตามแนวปฏิบัติ (Guideline) การตรวจยีน BRCA1/BRCA2 ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและญาติสายตรงฯ ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 

สำหรับหน่วยบริการแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. หน่วยที่ให้บริการเก็บตัวอย่าง จำนวน 69 แห่ง

  • ทำหน้าที่ให้บริการประเมินความเสี่ยงทางพันธุกรรม
  • บริการให้คำปรึกษาก่อนและหลังการส่งตรวจทางพันธุกรรม
  • บริการเก็บตัวอย่างและจัดส่งตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ
  • และมีศักยภาพให้บริการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ

บัตรทอง, สิทธิบัตรทอง, สปสช., โรคมะเร็งเต้านม BRCA1/BRCA2, โรคมะเร็งเต้านม, กลายพันธุ์ของยีน, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, ยีนกลายพันธุ์, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, วินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม, ยีนโรคมะเร็งเต้านมชนิด BRCA1/BRCA2, มะเร็งในผู้หญิง

2. หน่วยที่ให้บริการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 จำนวน 7 แห่ง

  • มีทั้งหน่วยบริการภาครัฐหรือภาคเอกชน ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO15189 ในรายการทดสอบ BRCA1/2 หรือ
  • ได้รับการรับรองมาตรฐานการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ที่ผ่านมา สปสช.ได้ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายบริการสาขาโรคมะเร็งระดับเขต กระทรวงสาธารณสุข เพื่อจัดเครือข่ายระบบบริการ การขับเคลื่อนการตรวจคัดกรองฯ พร้อมจัดระบบการส่งต่อการตรวจไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพในการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการ

 

สถานการณ์ประเทศไทย มะเร็งเต้านมถือเป็นมะเร็งในผู้หญิงที่มีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับ 1 โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (2020) ระบุ

  • พบความชุกของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมของหญิงไทยที่ 213.32 คนต่อ 100,000 คน
  • สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งผู้ที่มียีน BRCA1/BRCA2 มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมสูงถึงร้อยละ 80
  • ดังนั้น สิทธิประโยชน์บริการนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยง ลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้

 

 

 

ข้อมูล : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“จุลพันธ์” ย้ำ “ดิจิทัลวอลเล็ต” เชื่อมแบงก์-วอลเล็ตได้ เตรียมเปิดให้ลงทะเบียน เริ่มจากร้านค้าก่อน ป้องกันระบบล่ม
“หมอเหรียญฯ” ประกาศเตรียมพร้อม ลงสมัครสว. พรุ่งนี้ เดินหน้าใช้ความรู้ ความสามารถ ช่วยบ้านเมือง
เทศบาลตำบลปราสาททอง จัดโครงการ1 อปท.1 คลองสวย น่ามองปราศจากขยะวัชพืช และขยะทั่วไป
ล่าระทึก คาราวานขนต่างด้าวชาวเมียนมา เหยียบมิดซิ่งหลบหนี ไม่รอดน้ำมือสอบสวนกลาง
สาวเมียนมา รวมหัวชายหนุ่ม ควบ จยย. กระชากสร้อยทอง 2 บาท นำเงินกินเที่ยวพี้ยาจนเกลี้ยง สอบสวนกลางตามจับ
หนุ่มขรก. คอตก หิ้วกระเช้าขอโทษร้านถ่ายรูปชลบุรี หลังด่ากราด ตัดต่อภาพไม่หล่อ ต้นสังกัดตั้งกก.สอบเอาผิดวินัย
รพ.สมิติเวช อัปเดตผู้บาดเจ็บ "สิงคโปร์แอร์ไลน์" ยังรักษาตัว 40 ราย เหลือขั้นวิกฤติอีก 1 ราย
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ร่วมงาน “แม็คโคร โชห่วยออนทัวร์ 2024” กิจกรรมดี ๆ ช่วยผู้ประกอบการโชห่วยไทยมีรายได้ ลดรายจ่าย สร้างกำไรให้ธุรกิจอยู่รอด
ตร.นาจอมเทียน ไล่ล่าเดือดแก๊งค้ายานรก ยิงสกัดเจ็บ สิ้นลายพร้อมยาไอซ์ ยาบ้า ปืน
กระบะขนยาบ้า พุ่งชนรถนักเรียนตกข้างทาง ถนนวังน้ำเย็น สระแก้ว เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บเพียบ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น