“ไวรัสเวสต์ไนล์” ที่มากับยุงป้องกันยังไง แนะแล้ว 3 วิธี เช็ค

ไวรัสเวสต์ไนล์

"ไวรัสเวสต์ไนล์" West Nile Virus เชื้ออันตรายที่มาพร้อมกับยุง WHO ระบุมีแนวโน้มแพร่ระบาดข้ามประเทศ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แนะ 3 วิธีป้องกัน

“ไวรัสเวสต์ไนล์” อาการไข้เวสต์ไนล์ ไข้เวสต์ไนล์ การติดต่อ ไข้เวสต์ไนล์ ป้องกัน โดยล่าสุดทางด้าน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ออกมาให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับอาการ วิธีป้องกัน วิธีการรักษา ของ ไวรัสเวสต์ไนล์ (West Nile Virus) เชื้อไวรัสอันตรายที่มาพร้อมกับยุง หลัง WHO ระบุมีแนวโน้มแพร่ระบาดข้ามประเทศได้ ไวรัสนี้เป็นอย่างไรติดตามได้ที่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

West Nile Virus ก่อให้เกิดโรคเชื้อไวรัส เวสต์ไนล์โดยมียุงเป็นพาหะ ถูกพบครั้งแรกในอำเภอเวสต์ไนล์ ประเทศอูกานดา พ.ศ. 2480 ต่อมา พ.ศ. 2542 พบการระบาดครั้งใหญ่ในเมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการรายงานผู้ป่วยหลายพันรายต่อปี ปัจจุบันเชื้อนี้พบการระบาดในทวีปยุโรปตะวันออกกลาง เอเชียตะวันตก แคนาดา เวเนซุเอลา แอฟริกา ออสเตรเลีย และ อิตาลี

 

ล่าสุดมีการรายงานผู้ป่วยที่ประเทศอิตาลี จำนวน 94 ราย และพบผู้เสียชีวิต จำนวน 7 ราย ซึ่งเชื้อไวรัสนี้เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เป็นเชื้อที่มีแนวโน้มแพร่ระบาดข้ามประเทศได้

 

 

ไวรัสเวสต์ไนล์

 

 

 

อาการ

  • ผู้ติดเชื้อไวรัสนี้ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ส่วนน้อยมีอาการเล็กน้อย ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีผื่นตามผิวหนัง ต่อมน้ำเหลืองโต แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปวดศีรษะมาก ไข้สูง คอแข็ง มึนงง เสียการทรงตัว ชัก เป็นอัมพาต เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และอาจเสียชีวิตได้ พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุและเด็ก

 

การรักษา

  • ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันโรค และไม่มีการรักษาจำเพาะสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสนี้ ใช้การรักษาตามอาการ และวิธีประคับประคองทั่วไป

 

 

ไวรัสเวสต์ไนล์

 

 

การป้องกัน

  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงเป็นประจำ
  • ไม่ควรออกไปนอกบ้านช่วงเวลากลางคืน
  • หากจำเป็นต้องออกนอกบ้านช่วงเวลากลางคืน ควรใช้ยาทาผิวหนังป้องกันแมลงหรือยุงกัด เพื่อลดอัตราการติดเชื้อ

 

การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ

  • ปัจจุบันใช้วิธีการตรวจหาสารพันธุกรรมด้วยเทคนิค Real time RT-PCR โดยสามารถส่งตรวจได้ที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตัวอย่างที่ใช้ตรวจ คือ EDTA plasma หรือ Serum ซึ่งเก็บในภาชนะที่ปราศจากเชื้อ นำส่งที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส ควรเก็บตัวอย่างเลือดในระยะที่มีไข้ หรือภายใน 5 วัน หลังผู้ป่วนเริ่มมีอาการ

 

 

ไวรัสเวสต์ไนล์

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"รองอ้อม ลลิตา" มั่นใจโค้งสุดท้าย คว้าชัยเลือกตั้งนายกเมืองป่าตอง
"สันติสุข" ชี้มั่วมากอ้างอำนาจ"ราชทัณฑ์" พา"ทักษิณ" นอนชั้น 14 ไม่เกี่ยวศาล ไล่ไปหามา เคสไหนเข้าคุกไม่ถึงคืน ออกไปพักห้องหรู รพ.ตร.
"นฤมล" แจงผลสำเร็จโครงการจ้างแรงงานชลประทาน กระจายรายได้เกษตรกร ลุยเป้าหมายให้ครบกว่า 8 หมื่นตน
ตร.รวบมือปาหินใส่รถ "ย่านบางนา-ตราด" พร้อมคุมตัวทำแผน อึ้งสารภาพเคยก่อเหตุมาแล้ว 12 ครั้ง
"น.1" สั่งล่า 2 มือปืนก่อเหตุอุกอาจ บุกยิงหนุ่มเพิ่งพ้นคุก 9 นัด ดับสลด
"เทพไท" เชื่อถ้าศาลฏีกาฯไต่สวนครบ 5 ประเด็น จากปากพยานสำคัญ รวม"วิษณุ" มั่นใจ "ทักษิณ" ต้องกลับนอนคุกจริงๆ
"เสธ.ต๊อด" ยันเอกสารกอ.รมน. ไร้เนื้อหากล่าวหา "อนุทิน" แอบอ้างสถาบันฯ เจ้าตัวโพสต์ติงสื่ออย่าออกข่าวชุ่ยๆ อย่าดึงฟ้าลงต่ำ
ผู้ว่าตราดเปิดโครงการ เทศกาลเรือใบ ดันตราดศูนย์กลางเมืองเรือใบและกิจกรรมทางทะเลเชื่อมโลก เผยสร้างรายได้ท่องเที่ยวยั้งยืน
ดีอี เตือน ข่าวปลอม “จะเกิดแผ่นดินไหวที่ภาคอีสาน” หลอกลวงให้ ปชช.ตื่นตระหนก- เข้าใจผิด
ไม่มีคำประณาม "ชาวเน็ต" ถาม "รอมฏอน" โพสต์แค่เสียใจโจรใต้ สังหารโหดชาวบ้าน เร่งรัฐเจรจาสันติภาพ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น