No data was found

ทำไมเราถึงต้องสนใจเรียน”วิชาประวัติศาสตร์”

กดติดตาม TOP NEWS

"ผมเริ่มกลับมาให้ความสนใจวิชาประวัติศาสตร์อีกครั้ง เมื่อมาเรียนกฎหมายในระดับมหาวิทยาลัย"

วิชาประวัติศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาโปรดของผมเมื่อเด็ก ๆ เพราะมันมีคำถามซ่อนอยู่มากมาย เช่น คนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต เด็กอย่างผมก็จะถามทันทีว่ามันอยู่ตรงไหนครับ คุณครูก็จะเอาลูกโลกมาชี้ให้ดูว่ามันอยู่ตอนเหนือของมองโกเลีย หรือตอนใต้ของรัสเซีย “ประมาณนั้น” คำถามตามมาอีกว่า โห…ทำไมเรามาไกลขนาดนี้วะ เดินมาเป็นกลุ่มใหญ่ๆต้องเป็นสิบปีแน่เลย แล้วเรามาจากตอนใต้ของรัสเซีย ทำไมหน้าตาเราไม่ละม้ายคล้ายฝรั่งเลยวะ อย่างผมงี้ดำเชียว เพื่อนจำนวนมากก็ตี๋หมวย ฯลฯ

แต่สรุปคือเราต้องจำและตอบคำถามในข้อสอบว่าคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต ไม่งั้นไม่ได้คะแนน และเพราะคะแนนคือพระเจ้าสำหรับเด็กทุกคน ใครคะแนนดีจะเป็นที่ชื่นชม ใครคะแนนไม่ดีก็จะถูกตำหนิ จึงไม่มีเด็กคนไหนออกนอกแถวเพียงเพราะท่องว่าเรามาจากอัลไตไม่ได้หรอกน่า มันง่ายจะตาย

ผมขมขื่นและเหน็ดเหนื่อยกับการเป็นผู้ดีตกยากมาจากเทือกเขาอัลไตมานับแต่นั้น

 

แต่เชื่อไหมว่างานวิจัยระดับรางวัลชิ้นหนึ่งของสถาบันฝึกอบรมชั้นสูงที่ผมได้รับมาเมื่อสามสี่ปีก่อน หนาเกือบสิบ ซม เขายังเริ่มต้นว่าคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไตอยู่เลย อ่านถึงตรงนั้นผมเลยไม่มีความรู้สึกอยากอ่านต่อ เหมือนโลกของผู้วิจัยหยุดนิ่งอยู่กับที่ จนบัดนี้แล้วยัง reference ว่าคนไทยมาจากอัลไตอีก ข้างในจะประหลาดพิศดารพันลึกอะไรต่อไปละเนี่ยะ จะให้ใครไปก็ไม่กล้ายืนยันคุณภาพ สุดท้ายมันอยู่ในกล่องไหนสักกล่องอย่างสงบ ไม่สมเจตนาของผู้วิจัยและเจ้าของทุนวิจัยที่ต้องการให้ผลงานเป็นที่ระบือลือลั่นในยุทธภพเลย

ที่จะบอกคือประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องอธิบายกันด้วยเหตุด้วยผล ไม่ใช่ท่องจำ จึงไม่ต่างอะไรจากวิทยาศาสตร์เลย แต่ระบบของเรามุ่งให้ท่องจำ จำปี พ.ศ. จำชื่อคน จำสถานที่ จำมันเข้าไป เรียนประถมมัธยมจำเหมือนกันหมด เหมือนภาษาอังกฤษที่สอนแต่แกรมม่า เทนส์ ตั้งแต่อนุบาลยันปริญญาตรี เก่งแกรมม่าไว้จับผิดกัน แต่สื่อสารไม่ได้ เจรจาต้าอ้วยกับใครเขาก็สู้ไม่ได้

เนื่องจากมันไม่มีอะไรใหม่นอกจากการท่องจำ (ซึ่งจำได้อยู่แล้ว) ความสนใจในวิชาประวัติศาสตร์ (รวมทั้งภาษาอังกฤษ) ในระบบโรงเรียนของผมจึงหยุดอยู่ในราว ป. 6 เท่านั้น

ผมเริ่มกลับมาให้ความสนใจวิชาประวัติศาสตร์อีกครั้ง เมื่อมาเรียนกฎหมายในระดับมหาวิทยาลัย โชคดีนะที่ไม่มีการสอนวิชากฎหมายในระดับประถม มัธยม วิชากฎหมายเป็นเรื่องใหม่ในชีวิต และเมื่อเรียนไปก็พบว่ากฎหมายมันมีวิวัฒนาการตามบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป ไม่หยุดนิ่ง การจะเข้าใจกฎหมายได้ดีจึงต้องเข้าใจประวัติศาสตร์หรือบริบทแต่ละยุคสมัยที่เปลี่ยนไปด้วย ทั้งของไทยและของต่างประเทศ ผมจึงศึกษาประวัติศาสตร์ (รวมทั้งภาษาต่างประเทศ) ใหม่ด้วยตัวเอง

รวมทั้งศึกษากระบวนการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในระบบการศึกษาของต่างประเทศด้วย ว่าเขาสอนยังไง ต่างกับบ้านเรายังไง สรุปคือต่างกันมากกกกกกกกกกก

ของบ้านเราท่านลองไปถามลูกหลานดูว่ามันต่างจากสมัยที่เราเรียนเมื่อเด็ก ๆ ไหม ส่วนของต่างประเทศ ประวัติศาสตร์ของประเทศตัวเองนี่เขาจบตั้งแต่มัธยมต้น อย่าง A Level มัธยมปลายเขาเรียนหลัก ๆ ดังนี้ ครับ

1 Conquest, control and resistance in the medieval world
2 Religion and the state in early modern Europe
3 Revolutions in early modern and modern Europe
4 Challenges to the authority of the state in the late eighteenth and nineteenth centuries
5 Communist states in the twentieth century
6 Searching for rights and freedoms in the twentieth century
7 Nationalism, dictatorship and democracy in twentieth-century Europe
8 Democracies in change: Britain and the USA in the twentieth century

แล้วเวลาเรียนนี่เขาไม่ได้สอนให้ท่องจำปี ค.ศ. จำชื่อตัวคน จำชื่อสถานที่นะครับ แต่สอนว่ามันมีเหตุผลความเป็นมาอย่างไร นึกภาพไม่ออก ให้ไปเปิดคลิปสารคดีใน YouTube ดูด้วย เวลาสอบเขาใช้ “เขียนตอบ” ไม่ได้กาถูกผิด ก ข ค ง จ เขียนตอบก็ต้องวิเคราะห์ เช่น เขาจะให้ชุดเอกสารสั้น ๆ มาสี่ห้าชุด แล้วให้นักเรียนวิเคราะห์ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร จาก source ไหน ดูสนุกมากสำหรับผม (แต่สำหรับนักเรียนคงไม่สนุกด้วย)

ดังนั้น เมื่อนักเรียนจบมัธยมปลายแล้วไปต่อปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย เขาจึงเรียนคิดวิเคราะห์ต่อเนื่องไปได้เลย ไม่ต้องมาเรียนอารยธรรมตะวันตกตะวันออกกันใหม่ (ซึ่งก็จำเหมือนเดิม)

ที่เล่ามาเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคลของผม พลางจินตนาการไปด้วยว่าถ้าเรา “พัฒนา” วิธีการเรียนการสอนอย่างเขาได้บ้าง มันคงจะดีไม่น้อย แต่ไม่มีความหวังให้เกิดการปฏิรูปปฏิคลำอะไรอีก เห็นปฏิรูปกันมาตั้งแต่ปี 40 ผลลัพธ์ก็ชัดเจนอยู่ตำตา

อีกอย่างคือ “แก่” แล้ว.

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"สอบสวนกลาง" ล้างบางแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แฝงตัวฟอกเงินในไทย เงินสะพัด 7 หมื่นกว่าล้าน
“ทนายตั้ม” ปูดข้อมูลลับ ท่านผู้หญิง VVVIP เอี่ยวเว็บพนัน แพ็คกระเป๋า หนีเข้าอังกฤษ
“รทสช.” หนุนคนการเมือง ห้ามจุ้นเลือกตั้งสว.
สุดสลด "พ่อป่วยจิต" คลั่งคว้าชะแลงเหล็กไล่ทุบ "ลูก-เมีย" ดับ ก่อนลาโลก
กะเหรี่ยงระส่ำหนัก ส่อแตกคอกันเอง แย่งคุมพื้นที่ ล่าสุด “ปะหล่อง” สั่ง “คะฉิ่น” ถอนกำลังออกจากหมู่บ้านน้ำอุ๋ม ตอกย้ำรอยร้าว
“ผบ.ทสส.” ฮึ่ม สั่งกองทัพพัฒนาอาวุธยิงระยะไกล-โดรน ตอบโต้ภัยคุกคาม ติดเขี้ยวเล็บทหารไทย
"ดร.นิว"ฝากถึงสภาธรรมศาสตร์ ตัดสินใจให้ดีเลือกอธิการฯคนใหม่ ระวังมธ.ถูกนำใช้เป็นเครื่องมือการเมือง 3 นิ้ว
โซเชียล ซัดยับ "รถเบนซ์" ขับขวางรถพยาบาล ขณะไปรับผู้ป่วยฉุกเฉิน จี้ล่าตัวดำเนินคดี
"รัฐบาลไทย-บรูไนฯ" ยินดีร่วมมือทุกมติ สานสัมพันธ์ทางการทูต ครบรอบ 40 ปี
ศึกยะไข่เดือด กองทัพอาระกัน (AA) ประกาศเคอร์ฟิวด่วนที่สุด หลัง “โรฮิงญา” ซุ่มตีชาวบ้าน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น