No data was found

“ซีอีโอ บินไทย”ชี้เหตุกำไรไตรสมาสแรกปี 67 ลดลง แจงปัญหาโดนร้องปล่อยเก้าอี้นั่งชำรุด

กดติดตาม TOP NEWS

"ซีอีโอ บินไทย"ชี้เหตุกำไรไตรสมาสแรกปี 67 ลดลง แจงปัญหาโดนร้องปล่อยเก้าอี้นั่งชำรุด

“ซีอีโอ บินไทย”ชี้เหตุกำไรไตรสมาสแรกปี 67 ลดลง แจงปัญหาโดนร้องปล่อยเก้าอี้นั่งชำรุด  Top News รายงาน

 

บินไทย

ข่าวที่น่าสนใจ

สืบเนื่องจากการที่ นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะผู้บริหารบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) แถลงผลการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2567 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 45,955 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.7% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ที่มีรายได้รวม 41,507 ล้านบาท แต่ปรากฎว่า เมื่อคิดเฉพาะยอดกำไร มียอดสุทธิ 11,075 ล้านบาท และเป็นการลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 1,959 ล้านบาท (15.0%)

เนื่องจากบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีค่าใช้จ่ายรวม 34,880 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 6,407 ล้านบาท (22.5%) ซึ่งมีค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 28,473 ล้านบาท ส่งผลให้มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงินไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 11,075 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 1,959 ล้านบาท (15.0%)

มีรานงานเพิ่มเติมว่า ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะผู้บริหารบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ชี้แจงเหตุกำไรสุทธิไตรมาส 1 /2566 ลดลง สาเหตุหลักมาจากการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ รวมถึงการขาดทุนจากจำนวนและสินทรัพย์สิทธิการใช้อุปกรณ์การบินหมุนเวียน และขาดทุนจากการด้อยค่าของเครื่องบินที่มีอยู่ 18 ลำประกอบด้วย โบอิ้ง 777-200 ER จำนวน 6 ลำ//777-300 จำนวน 6 ลำ และแอร์บัส 380 จำนวน 6 ลำ ที่จะต้องทำบันทึกการด้อยค่าทางบัญชีเพราะไม่ได้ใช้งาน และได้มีการขายเครื่องบินเหล่านี้ออกไปแล้ว ส่วนแผนฟื้นฟู ฯ ขณะนี้ยังคงเป็นไปตามแผนเดิมที่บริษัทได้วางไว้

 

ทั้งนี้ บริษัทฯ มีจำนวนเครื่องบินที่ใช้ทำการบินในไตรมาสที่ 1 รวมทั้งสิ้น 73 ลำ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนจำนวน 8 ลำ โดยเป็นการทยอยรับมอบเครื่องบินแบบแอร์บัส A350-900 ที่จัดหาและนำมาปฏิบัติการบินระหว่างปี มีอัตราการใช้เครื่องบินเฉลี่ย 12.8 ชั่วโมงต่อวัน มีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10.1% ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) เพิ่มขึ้น 10.1% อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 83.5% ใกล้เคียงกับปีก่อน โดยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมซึ่งเฉลี่ยที่ 80.8% และมีจำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่งรวมทั้งสิ้น 3.88 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10.2%

ส่วนความคืบหน้าการจัดหาเครื่องบินจำนวน 45 ลำ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเลือกเครื่องบินให้เหมาะสมกับการให้บริการของการบินไทย ซึ่งคาดว่าเครื่องบินจะส่งมอบได้ในปี 2027 จึงทำให้ปัจจุบัน มีเครื่องบินอยู่ที่ 73 ลำและปลายปีจะมีเครื่องบิน 79 ลำ เป็นเครื่องบินแอร์บัส 350 ที่บริษัทได้จัดหาไว้ก่อนหน้านี้ 11 ลำ โดยหลังจากนี้จะทยอยส่งมอบอีก 6 ลำ จึงทำให้บริษัทวางแผนเพิ่มเที่ยวบิน มิลาน เพิร์ท ซิดนี่ เป็นต้น//

“ในไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีรายได้บัตรโๆดยสารรวม 38,517 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากผู้โดยสารทั่วไป 38,387 ล้านบาท และจากส่วนราชการภายในประเทศ 130 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.3% ของรายได้บัตรโดยสารรวม โดยเป็นรายได้จากเส้นทางยุโรป 34.5% เอเชียเหนือ 32.8% เอเชียตะวันตกและตะวันออกกลาง 11.9% ออสเตรเลีย 7.2% อาเซียน 7.7% และเส้นทางภายในประเทศ 5.9%

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวม 257,110 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 18,119 ล้านบาท (7.6%) หนี้สินรวมจำนวน 297,829 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 15,696 ล้านบาท (5.6%) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อยติดลบ 40,719 ล้านบาท ติดลบลดลงจากวันที่ 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 2,423 ล้านบาท มีเงินสดรวมตั๋วเงินฝาก เงินฝากประจำ และหุ้นกู้ ที่มีระยะเวลาครบกำหนดชำระมากกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 12 เดือน จำนวน 72,725 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 5,595 ล้านบาท”

 

 

 

ผู่สื่อข่าวถามถึงกรณีผู้โดยสารร้องเรียนเรื่องที่นั่งบนเครื่องบินชำรุด อยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ นายชายระบุว่า บริษัทฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาคุณภาพอุปกรณ์ดังกล่าว พยายามเร่งแก้ไขอยู่ โดยเฉพาะตัวอะไหล่ ไม่ว่าจะเป็น ตัวอะไหล่เครื่องบิน, เก้าอี้ที่นั่ง และอุปกรณ์ที่อยู่บนเครื่องบิน แต่สิ่งเหล่านี้ต้องใช้ระยะเวลา เพราะผู้ผลิตอะไหล่ก็ต้องดูแลสายการบินอื่น ๆ ที่มีความต้องการอะไหล่เหล่านี้เช่นเดียวกัน จึงต้องรอตามคิว

 

 

 

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้พยายามเจรจาต่อรองให้เร่งส่งอะไหล่อุปกรณ์เหล่านี้เข้ามา เพื่อปรับปรุงคุณภาพของเก้าอี้ที่เสื่อมโทรมตามการใช้งาน พร้อมกันนี้จะเตรียมมาตรการรองรับ ทั้งการพยายามจัดสรรเครื่องบินที่มีปัญหาออกโดยจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 2 นี้ เพื่อป้องกันเรื่องคุณภาพของเก้าอี้ในอนาคตด้วย

 

 

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เปิดตัวโมบายแอปพลิเคชัน “Thai Airways” เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้โดยสารในการใช้งานมากยิ่งขึ้น พร้อมปรับรูปลักษณ์ใหม่เพื่อความทันสมัยและเข้าใจง่าย ตอบโจทย์การใช้งาน ด้วยข้อมูลการจัดการเที่ยวบิน และการเข้าถึงบริการออนไลน์ของ รอยัล ออร์คิด พลัส (ROP) อีกทั้งเพิ่มช่องทางในการให้บริการผู้โดยสารและเข้าถึงผู้โดยสารให้มากยิ่งขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สาวโปรตุเกส บันทึกคลิปเศษดาวหางได้แบบคูลสุดๆ (คลิป)
สพฐ. เลื่อนเข้าตรวจสอบ "ถังแก๊สโซลีน" ถูกไฟไหม้มาบตาพุด หลังพบสภาพเสียหายหนัก
ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ได้สิทธิ์อุทธรณ์ ยับยั้งถูกส่งตัวไปสหรัฐ
"ผู้ปกครอง" ขานรับนโยบาย “ยกเว้น-ผ่อนผัน” ใส่เครื่องแบบชุดนร. ขอบคุณศธ.ช่วยแบ่งเบาภาระ
"ธันวา" สวนหน้าหงาย "ธนาธร" หลัง "สกุลธร" น้องชาย ถูกพิพากษาจำคุก คดีติดสินบนเช่าที่ดินสนง.ทรัพย์สินฯ
"กระทรวงดีอี" เร่งระงับเว็บไซต์ "ลอตเตอรี่ พลัส" ล่าสุดผู้ให้บริการโทรมือถือ-อินเตอร์เน็ต เริ่มทยอยปิดกั้นแล้ว
อิหร่านไว้ทุกข์ 5 วัน ประธานาธิบดีถึงแก่อสัญกรรม ปูติน-สีจิ้นผิง อาลัย เสียเพื่อนที่ดี
ชาวเลยแห่ขอเอกสารใบสมัคร สว.นับพันคน แต่มาสมัครวันแรกยังบางตา
คนไทยไม่ทิ้งกัน คุณตาวัย 67 ปี ไม่มีเงินสักบาท ปั่น จยย. จากอุตรดิตถ์ กลับชัยภูมิ พบผู้ใจบุญช่วย
"โฆษกรัฐบาล" แจ้งไทม์ไลน์ขายข้าว 10 ปี หลังผลตรวจของ "กรมวิทย์ฯ" พิสูจน์ตามมาตรฐานครบถ้วน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น