No data was found

รู้จัก “ยาแก้แพ้” มากแค่ไหน กิน 4 เม็ด เบลอขับรถหรูชนร้านยา?

รู้จัก ยาแก้แพ้ มากแค่ไหน กิน 4 เม็ด เบลอขับรถหรูชนร้านยา?

กดติดตาม TOP NEWS

กิน "ยาแก้แพ้" 4 เม็ดแล้ว เบลอ จริงหรือไม่ คนขับเก๋งหรูพุ่งชนร้านขายยาจนพังเสียหายแล้วหลบหนี มอบตัวให้การอ้างแบบนี้ คุณรู้จักยา แก้แพ้ มากแค่ไหนกัน

TOP News รายงานประเด็น “ยาแก้แพ้” เจ้าของร้านขายยา ร้องสายไหมต้องรอด คนร้ายรถยนต์ BMW สีดำ ขับพุ่งชน ร้านพังเสียหาย แล้วหนีไป ล่าสุด โผล่เข้าพบพนักงานสอบสวน อ้างกินยา แก้แพ้ 4 เม็ด แล้วเกิดมีอาการสะลึมสะลือจนทำให้เบลอ และเกิดเหตุดังกล่าว แต่เดี๋ยวก่อน คุณ ๆ รู้จักยา แก้แพ้ มากแค่ไหนกัน มีกี่ประเภท สรรพคุณ และข้อควรระวังเมื่อต้องกิน มีอะไรบ้าง

ข่าวที่น่าสนใจ

กิน ยาแก้แพ้ 4 เม็ดแล้ว เบลอ จริงหรือไม่ คนขับเก๋งหรูพุ่งชนร้านขายยาจนพังเสียหายแล้วหลบหนี มอบตัวให้การอ้างแบบนี้ คุณรู้จักยา แก้แพ้ มากแค่ไหนกัน

กิน “ยาแก้แพ้” 4 เม็ด?

จากกรณี เจ้าของร้านขายยาแห่งหนึ่ง เข้าร้องเรียนเพจสายไหมต้องรอดว่า เมื่อเช้าตรู่วันที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมา ได้ถูกรถเก๋งหรูพุ่งชนร้านพังได้รับความเสียหายเกือบทั้งหมด และคนขับหลบหนีไป หลังเกิดเหตุได้ไปแจ้งความตำรวจให้ช่วยเหลือติดตามตัวคนก่อเหตุมาดำเนินคดี แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิเสธ อ้างว่าเป็นคดีแพ่ง ให้ผู้เสียหายไปฟ้องร้องเอาผิดกับคนขับรถเก๋งเอง

ล่าสุด 5 เมษายน คนขับรถเก๋งคันก่อเหตุ ได้เดินทางมาที่ สภ.ปลายบาง จ.นนทบุรี เพื่อเข้าพบพนักงานสอบสวน ให้ปากคำ อ้างว่า เป็นลูกน้องอยู่ที่โรงงานของเจ้าของรถ วันเกิดเหตุช่วงเวลา ตีห้าครึ่ง ได้กินยา แก้แพ้ ไป 4 เม็ด ก่อนจะแอบขโมยกุญแจรถ แล้วขับรถของเจ้านายออกจากโรงงาน ซึ่งอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุ ประมาณ 7 กิโลเมตร เพื่อไปตลาดในอำเภอศาลายา จ.นครปฐม แต่ระหว่างทาง เกิดมีอาการสะลึมสะลือจากยาที่กินไปจนทำให้เบลอ จนกระทั่งขับรถเลี้ยวไปพุ่งชนร้านขายยาจนพังเสียหาย ด้วยความกลัวผิด จึงรีบขับรถกลับมาจอดที่โรงงาน โดยที่ตนไม่ได้บอกกับนายจ้างเจ้าของโรงงาน เพราะกลัวจะถูกไล่ออก กระทั่งนายจ้างเจ้าของโรงงานมาทราบเรื่อง ตนได้เล่าความจริงให้ฟังทั้งหมด และเดินทางมาโรงพักเพื่อรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น

กิน ยาแก้แพ้ 4 เม็ดแล้ว เบลอ จริงหรือไม่ คนขับเก๋งหรูพุ่งชนร้านขายยาจนพังเสียหายแล้วหลบหนี มอบตัวให้การอ้างแบบนี้ คุณรู้จักยา แก้แพ้ มากแค่ไหนกัน

รู้จัก “ยาแก้แพ้” ?

เมื่อมีอาการ คันคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม ผื่นขึ้น หลายคนหยิบยา แก้แพ้ มากินทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคจากแพทย์ แม้ยา แก้แพ้ จะเป็นยาสามัญประจำบ้าน แต่การรู้จักสรรพคุณของยา (ขนาน) ขนาด (จำนวน) วิธีกิน และการสังเกตอาการก็ยังมีความจำเป็น เพราะหากกินยาไม่ตรงกับโรค หรือกินน้อยเกินไปโรคก็จะไม่หาย ส่วนการกินยามากเกินไปก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวม และเป็นอันตรายกับร่างกายได้

ซึ่งยา แก้แพ้ นั้นเหมาะกับการกินเพื่อลดอาการแพ้ที่ไม่รุนแรง เช่น ไอ จาม คัดจมูก มีน้ำมูกใส ๆ จากการแพ้อากาศ ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ หรือขนสัตว์ รวมถึงอาการลมพิษ ผื่นคัน ที่เกิดจากการแพ้อาหาร เป็นต้น

โดยสรรพคุณของยา แก้แพ้ ได้แก่

  1. บรรเทาอาการน้ำมูกไหล ไอ จาม จากการแพ้อากาศ เช่น ยาคลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ยาบรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine)
  2. บรรเทาอาการผื่นคัน ลมพิษ เช่น ยาฮัยดร็อกซิซีน (Hydroxyzine) ซึ่งยาในกลุ่มนี้มีมีผลกดสมอง จึงไม่ควรใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เพราะอาจทำให้เด็กแคระแกร็น ไม่สูงได้
  3. ช่วยลดน้ำมูก ทำให้น้ำมูกแห้ง จึงมักนำมากินในตอนเป็นไข้หวัด น้ำมูกไหล แต่ไม่ได้ช่วยให้หายเป็นไข้หวัด ควรใช้กรณีที่มีน้ำมูกใสเท่านั้น ควรระวังการใช้ในเด็กเล็ก

ยา แก้แพ้ โดยทั่วไปปรากฏอยู่ใน 2 รูปแบบ คือ

  1. ชนิดเม็ด เหมาะสำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่
  2. ชนิดน้ำเชื่อม เหมาะสำหรับเด็กเล็กที่อายุตั้งแต่ 2 ขวบ

ทานแล้วง่วง?

ปัจจุบัน ยา แก้แพ้ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

ยา แก้แพ้ ชนิดที่ทำให้ง่วง

ใช้รักษาอาการเยื่อจมูกอักเสบเนื่องจากภูมิแพ้ ที่มีอาการคัน จาม น้ำมูกไหล ผื่นลมพิษ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง อาการคันผื่นขึ้นเนื่องจากแมลงกัดต่อย สัมผัสพืชพิษ หรือสัมผัสสารเคมีบางอย่าง นอกจากนี้ ยังสามารถบรรเทาอาการเมารถ เมาเรือได้

ตัวอย่างชื่อยา แก้แพ้ ที่ทานแล้วง่วง อาทิ คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) ไฮดรอกไซซีน (Hydroxyzine) ไตรโพรลิดีน (Triprolidine) บรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine) คีโตติเฟน (Ketotifen) ออกซาโทไมด์ (Oxatomide) เป็นต้น

ถึงแม้ว่าจะทานแล้วง่วง แต่ยา แก้แพ้ รุ่นเดิมแบบนี้ จะสามารถรักษาอาการเมารถ เมาเรือได้ดีกว่า ออกฤทธิ์ได้เร็วกว่าแบบที่ทานแล้วไม่ง่วง แต่ก็หมดฤทธิ์เร็วกว่าด้วยเช่นกัน ซึ่งการที่ยา แก้แพ้ ชนิดนี้ทำให้ง่วงนั้น ก็เพราะยาสามารถดูดซึมผ่านสมองได้มากกว่านั่นเอง

ยา แก้แพ้ ชนิดที่ไม่ทำให้ง่วง

ยากลุ่มนี้สามารถใช้รักษาอาการต่าง ๆ ได้คล้ายกับยากลุ่มดั้งเดิม ให้ผลดีกว่าในการลดผื่นลมพิษแบบเฉียบพลัน และลดอาการคันได้เร็วกว่ายาอื่นในกลุ่มเดียวกัน แต่อาจให้ผลบรรเทาอาการน้ำมูกไหล อาการเมารถ เมาเรือได้ไม่ดีเท่ากลุ่มดั้งเดิม

ตัวอย่างชื่อยา แก้แพ้ ที่ทานแล้วไม่ง่วง อาทิ เซทิริซีน (Cetirizine) เลโวเซทิริซีน (Levocetirizine) เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine) ลอราทาดีน (Loratadine) เป็นต้น

ยา แก้แพ้ ชนิดใหม่ ที่ทานแล้วไม่ง่วง แม้ว่าประสิทธิภาพในการแก้อาการเมารถ เมาเรือจะด้อยกว่ายา แก้แพ้ รุ่นเก่า แต่ก็สามารถรักษาผื่นแดง ผื่นลมพิษบางชนิด และแก้อาการคันผิวหนังได้ดีกว่า และถึงแม้ว่าจะออกฤทธิ์ช้ากว่าแบบที่ทานแล้วง่วง แต่ก็ออกฤทธิ์ได้ยาวนานกว่าด้วยเช่นกัน

ข้อควรระวัง?

สำหรับ ข้อควรระวัง เมื่อต้องกินยา แก้แพ้

  1. ยา แก้แพ้ บางชนิดอาจทำให้ปากแห้ง จมูกแห้ง ปัสสาวะลำบาก และง่วงซึม จึงควรงดการขับขี่รถยนต์ ทำงานหรืออยู่ใกล้เครื่องจักร หากจำเป็นต้องทำงานหรือไม่สามารถนอนพักได้ อาจใช้ยา แก้แพ้ ชนิดที่ไม่ทำให้ง่วงซึม
  2. ยา แก้แพ้ มักทำให้เสมหะมีความเหนียวข้นมากกว่าเดิม หากกินยา แก้แพ้ แล้วมีอาการไอมากขึ้น ควรหยุดกินยาทันที
  3. ไม่กินยา แก้แพ้ ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกับยาที่มีฤทธิ์กดสมอง ยาระงับประสาท เช่น ยานอนหลับ ยากันชัก
  4. หญิงมีครรภ์และให้นมบุตร ไม่ควรกินยา แก้แพ้ เอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อเลือกชนิดและขนาดการกินที่เหมาะสม
  5. เมื่ออาการภูมิแพ้ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อปรับลดยา

ส่วนเหตุข้างต้นที่อ้างว่ากิน “ยาแก้แพ้” 4 เม็ด แล้วสะลึมสะลือจนเบลอนั้น เบื้องต้นคงต้องไปดูว่ากินตัวไหน เป็นชนิดที่ทำให้ง่วงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดอาการแพ้ สิ่งที่สำคัญที่ต้องทำเป็นอันดับแรก คือสังเกตว่าสิ่งใดที่ทำให้แพ้ และหลีกเลี่ยงเมื่อต้องเจอตัวการที่ทำให้แพ้ เลือกใช้ยา แก้แพ้ อย่างถูกต้อง หมั่นออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และถ้าต้องการจะใช้ยาเพื่อที่ต้องการจะให้นอนหลับนั้น ในทางที่ถูกต้อง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรจะเป็นการดีที่สุด

กิน ยาแก้แพ้ 4 เม็ดแล้ว เบลอ จริงหรือไม่ คนขับเก๋งหรูพุ่งชนร้านขายยาจนพังเสียหายแล้วหลบหนี มอบตัวให้การอ้างแบบนี้ คุณรู้จักยา แก้แพ้ มากแค่ไหนกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“พิพัฒน์” สั่งเร่งเยียวยาแรงงานเสียชีวิต รักษาผู้บาดเจ็บ เหตุแทงก์“สารเคมีระเบิด” มาบตาพุด กำชับปลัดก.แรงงาน ดูแลใกล้ชิด
“แม่น้องการ์ตูน” ประกาศขอทนายอาสา ฟ้องคู่กรณีครั้งสุดท้าย หลังซิ่งชนสามี-ลูก ผ่าน 10 ปีไร้เยียวยา
แผงหวยแตกฮือ เลขเด็ดพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อพระศรีนครเตาท้าวเธอ เจ้าเมืองรัตนบุรีคนแรก ในงานประเพณีบุญบั้งไฟ ประจำปี 2567
หมูเถื่อน "หลุมดำ" หวั่นกระบวนการสอบสวนเจาะไม่ถึง "ตัวการ"
นายกฯลงพื้นที่ตรวจราชการ 3 จังหวัด ติดตามบริหารจัดการน้ำ-พบเกษตรกร เข้ากราบสักการะ “หลวงพ่อโต” วัดป่าเลไลยก์
ไต้หวัน พบเรือและเครื่องบินรบจีนหลายสิบลำรอบเกาะ
รอง ผอ.ศรชล.จว.พบ. ร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารที่ว่าการอำเภอบ้านลาด (หลังใหม่)
กกต. ชวนผู้สนใจสมัครสว. นำบัตรประชาชนเขียนใบสมัครทุกเขต ทั่วประเทศ เริ่ม 10 พ.ค. 67 นี้
"การบินไทย" แถลงผลประกอบการ ไตรมาสแรก 67 รายได้รวมกว่า 4.5 หมื่นล้าน
ปธน.จีนเยือนฮังการี ปิดทริปยุโรป

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น