No data was found

“วันไตโลก” 14 มี.ค. รู้จักหน้าที่ความสำคัญการป้องกันและรักษา

วันไตโลก 14 มี.ค. รู้จักหน้าที่ความสำคัญการป้องกันและรักษา

กดติดตาม TOP NEWS

14 มีนาคม 2567 "วันไตโลก" ชวนรู้จักหน้าที่และความสำคัญ ไตเสื่อมทำให้เกิดผลเสียอย่างไร รวมถึงอาหารที่ดีมีประโยชน์ การป้องกัน และรักษาไต

TOP News รายงาน “วันไตโลก” (World Kidney Day) มีขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม 2549 ปีนี้ ตรงกับวันที่ 14 มีนาคม โดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ได้กำหนดให้วันพฤหัสบดีของสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมีนาคมของทุกปีเป็นวันไตโลก เพื่อรณรงค์ให้คนได้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคไต รวมถึงส่งเสริมให้ความรู้และความเข้าใจในการป้องกันและชะลอความเสื่อมของไต

ข่าวที่น่าสนใจ

14 มีนาคม 2567 วันไตโลก ชวนรู้จักหน้าที่และความสำคัญ ไตเสื่อมทำให้เกิดผลเสียอย่างไร รวมถึงอาหารที่ดีมีประโยชน์ การป้องกัน และรักษาไต

“วันไตโลก” ไตสำคัญ?

  • ไตเป็นอวัยวะภายในร่างกาย มี 2 ข้าง อยู่บริเวณด้านหลัง ใต้ชายโครง บริเวณบั้นเอว รูปร่างเป็นเม็ดถั่วแดง ไต ประกอบด้วยหลอดเลือดฝอยมากมาย เรียกว่า หน่วยไต (nephron) หน่วยไตจะลดจำนวน และเสื่อมสภาพตามอายุขัย ไต เปรียบเสมือนเครื่องกรองชนิดพิเศษที่มีความจำเป็นอย่างมากในการดำรงชีวิต ทำหน้าที่
  1. กำจัดของเสีย
  2. ดูดซึม และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
  3. รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย
  4. รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกาย
  5. รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย
  6. ควบคุมความดันโลหิต
  7. และสร้างฮอร์โมน

อาหารดีต่อไต?

ตัวอย่างอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อไต อาทิ

น้ำเปล่า

  • ควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะน้ำเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายให้ทำงานได้อย่างราบรื่น เป็นตัวช่วยกรองสารพิษจากเลือดและขับสารพิษออกทางปัสสาวะ ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่มีอาการโรคไตอยู่แล้วและมีอาการบวมน้ำ ควรบริโภคน้ำตามความเหมาะสม เช่น 3 – 4 แก้วต่อวัน เพราะความสามารถในการขับปัสสาวะของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะลดลง ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้

ปลาทะเล

  • ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาเทราต์ เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง ทั้งยังอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 มีส่วนช่วยลดการอักเสบ และสาร DHA ในกรดไขมันโอเมก้า 3 ยังมีคุณสมบัติช่วยลดคอเรสเตอรอล ลดไขมันเลว (LDL) ที่สะสมในหลอดเลือด ข้อมูลของมูลนิธิโรคไตแห่งสหรัฐอเมริกา ระบุว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 มีส่วนช่วยลดระดับไขมันในเลือด และยังช่วยลดความดันโลหิตได้ ซึ่งการมีความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงก่อให้เกิดโรคไต ดังนั้น ควรรักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับดีเพื่อช่วยปกป้องสุขภาพไตอีกทางหนึ่ง

ลูกเดือย

  • เป็นธัญพืชที่มีสรรพคุณบำรุงไต บำรุงตับ จัดเป็นยาอายุวัฒนะตามศาสตร์แพทย์แผนจีน ลูกเดือยมีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยกำจัดสิ่งตกค้าง ลดอาการบวมน้ำ ทั้งยังมีสารสำคัญชื่อว่า สารคอกซีโนไลด์ (Coxenolide) ซึ่งมีสรรพคุณในการยับยั้งการเกิดเนื้องอก และอาจลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้

กะหล่ำปลี

  • จัดเป็นผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ ไม่เพิ่มภาระให้ไต ทั้งยังมีกรดฟอลิก วิตามินซี ไฟเบอร์ พร้อมสรรพคุณช่วยขับสารพิษและกรดยูริกออกจากร่างกาย

กระเทียม

  • เป็นแหล่งที่ดีของแมงกานีส ซัลเฟอร์ วิตามินซี วิตามินบี 6 และยังจัดเป็นเครื่องเทศเพิ่มรสชาติอาหาร ช่วยให้อาหารอร่อย มีรสชาติเข้มข้นขึ้น ดังนั้น จึงช่วยลดการใส่เครื่องปรุงอาหารไปได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ กระเทียมยังมีสารอัลลิซิน สารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา มีสรรพคุณลดความเสี่ยงโรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิต รวมทั้งช่วยลดการอักเสบต่าง ๆ

สับปะรด

  • เป็นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ ผู้ป่วยโรคไตสามารถรับประทานได้ และคนที่ยังไม่ป่วยโรคไต สับปะรดก็จะช่วยลดการอักเสบต่าง ๆ ได้ เพราะมีเอนไซม์บรอมีเลน ที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา ลดการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่วยป้องกันการเกิดนิ่ว อีกทั้งยังมีไฟเบอร์สูง มีวิตามินซีสูง และมีแมงกานีสด้วย

แอปเปิล

  • เป็นผลไม้ที่มีเพกติน เส้นใยอาหารที่มีสรรพคุณเพิ่มประสิทธิภาพในการขับถ่าย และยังช่วยจับคอเลสเตอรอลไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ป้องกันโรคคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไต

14 มีนาคม 2567 วันไตโลก ชวนรู้จักหน้าที่และความสำคัญ ไตเสื่อมทำให้เกิดผลเสียอย่างไร รวมถึงอาหารที่ดีมีประโยชน์ การป้องกัน และรักษาไต

“วันไตโลก” โรคไตคืออะไร?

  • โรคไต คือ ภาวะที่ไตทำงานผิดปกติ มีหลายชื่อเรียก เช่น ไตวาย ไตเสื่อม ไตทำงานลดลง แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
  1. โรคไตเฉียบพลัน ซึ่งเกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้
  2. โรคไตเรื้อรัง ซึ่งเกิดขึ้นในระยะเวลามากกว่า 3 เดือนขึ้นไป รักษาไม่หายขาด และอาจดำเนินโรคต่อเนื่องจนเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต

สัญญาณเตือนโรคไต?

  • หากคุณมีอาการโรคไตเหล่านี้ บ่งบอกได้ว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคไตแล้ว รีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจและรักษาโดยทันที โดยอาการเตือนมีดังนี้

อาการบวม หน้าบวม ขาบวม

  • เกิดจากไตไม่สามารถขับน้ำและเกลือได้อย่างปกติ จนเกิดการคั่งของน้ำและเกลือ ส่งผลให้เกิดอาการบวมตามร่างกายขึ้น เช่น อาการบวมบริเวณเปลือกตา ใบหน้า เท้า และหน้าแข้ง โดยจะเห็นได้ชัดเจนในตอนที่ยืน หรือเดินนาน ๆ สามารถตรวจง่ายด้วยการใช้นิ้วกดลงไปที่เท้า หรือหน้าแข้งค้างไว้ประมาณ 5 – 10 วินาที แล้วสังเกตว่ามีการบุ๋มลงไปหรือไม่ หากมีรอยบุ๋มอย่างชัดเจนแสดงว่าคุณอาจเป็นโรคไตแล้ว

ปัสสาวะมีฟอง

  • การขับปัสสาวะมีฟอง เกิดจากการมีโปรตีนไข่ขาว หรือโปรตีนอัลบูมิน (Albumin) รั่วออกมาในปัสสาวะ ซึ่งอาจเป็นอาการของภาวะโรคไตเรื้อรัง โดยสามารถสังเกตได้เวลาถ่ายปัสสาวะแล้วมีฟองเกิดขึ้น หรือเมื่อกดน้ำล้างแล้วแต่ก็ยังมีฟองหลงเหลืออยู่

ปัสสาวะเป็นเลือด

  • ในภาวะปกติ ปัสสาวะจะมีสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเข้ม ขึ้นกับปริมาณน้ำที่รับประทานในขณะนั้น ๆ แต่ถ้ามีลักษณะที่ปัสสาวะมีเลือดปนที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือลักษณะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ สีแดง ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติเกิดขึ้นกับไต หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ นิ่วในทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน

ปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ

  • ในช่วงเวลาที่เรานอนหลับปกติ จะไม่ได้ดื่มน้ำ การทำงานของไตจะมีหน้าที่ดูดกลับน้ำ ทำให้ปริมาณปัสสาวะลดลงและถูกเก็บในกระเพาะปัสสาวะ จึงไม่จำเป็นต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะ โดยปกติในแต่ละคืนจะลุกมาปัสสาวะไม่เกิน 1 – 2 ครั้ง แต่ถ้าไตมีความผิดปกติ เช่น โรคไตเรื้อรัง ซึ่งไตจะไม่สามารถดูดกลับน้ำได้เท่าปกติ จะทำให้ผู้ป่วยต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยมากขึ้น หรือประมาณ 4 – 5 ครั้ง/คืน

ปวดเอว ปวดหลังมากผิดปกติ

  • อาการปวดนั้นอาจจะพบที่บริเวณเอว หรือหลัง เกิดจากรอยโรคที่บริเวณไต ซึ่งอยู่บริเวณหลังเอวทั้ง 2 ข้าง โดยสาเหตุมักเกิดจาก นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ หรืออาจเกิดจากโรคถุงน้ำที่ไต หรือเนื้องอกของไตก็ได้

ความดันโลหิตสูงมากผิดปกติ

  • ความดันโลหิตสูงมากผิดปกติ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี หรือความดันโลหิตสูงที่คุมได้ยากโดยจำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดในการควบคุม สาเหตุอาจเกิดจากโรคไต เช่น ไตอักเสบ ไตวาย หรือ เส้นเลือดไปเลี้ยงไตตีบ เป็นต้น

คลื่นไส้อาเจียนมาก

  • หากคุณมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก เบื่ออาหารร่วมด้วย อาจเป็นอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจงต่อโรคใดโรคหนึ่ง แต่ในโรคไตเรื้อรังนั้น จะทำให้มีอาการเหล่านี้ได้เช่นกัน รวมทั้งอาการเหล่านี้มักเกิดในโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตในที่สุด

สำหรับผู้ที่มีอาการดังกล่าว แนะนำต้องรีบเข้ารับการการวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์อายุรศาสตร์โรคไต เพื่อนำไปสู่แนวทางการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อย่างไรก็ตาม การรักษาผู้ป่วยโรคไตนั้น ควรได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ เพื่อที่แพทย์จะวินิจฉัยสาเหตุของการเกิดโรค ควบคุมรักษาที่สาเหตุ และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง หรือ โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายได้

14 มีนาคม 2567 วันไตโลก ชวนรู้จักหน้าที่และความสำคัญ ไตเสื่อมทำให้เกิดผลเสียอย่างไร รวมถึงอาหารที่ดีมีประโยชน์ การป้องกัน และรักษาไต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ปาเลสไตน์ ผู้นำลั่น สหรัฐคือผู้ที่หยุดอิสราเอลได้
ยูเครน ผู้นำบิดเบือนข้อมูลสูญเสียทางทหาร
หนุ่มดวงซวย ขึ้นเขาหาของป่าถูกปืนดักสัตว์ยิงเข้ากลางลำตัวทะลุ
คณะทำงานนายกฯ ติง "ปานปรีย์" ยื่นลาออกหลังโปรดเกล้าฯรมว.ต่างประเทศ เผยหารือก่อนหน้าไม่ปฏิเสธ
"ภูมิธรรม" รับเพิ่งทราบ "ปานปรีย์" ลาออกรมว.ต่างประเทศ เชื่อการทำงานไม่สะดุด ไม่กระทบเพื่อไทย
สลด ผู้สูงอายุ วัย 65 ปี เสียชีวิตปริศนากับพื้นปูนคอนกรีตตรวจสอบยังพบว่าผิวหนังลอกออกคาดเกิดจากสาเหตุอากาศร้อน
ชาวบ้านร้องเรียน น้ำเสียทะลักขึ้นจากพื้น ส่งกลิ่นเหม็น อวด นทท.
รู้จัก "จิราพร" รมต.ป้ายแดง DNA "สินธุไพร" อดีต สส.เสื้อแดง ผลงานแน่นไม่แพ้ใคร
"ครอบครัว" สุดเศร้าไร้ปาฎิหาริย์ ร่วมรับร่าง "ดาบตาร์" กลับไปบำเพ็ญกุศลที่บ้านเกิด
"Thailand Biennale" Chiang Rai 2023 ฉลองความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ จัดพิธีมอบธงสัญลักษณ์ให้ จ.ภูเก็ต เจ้าภาพจัดงานในปี 2025

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น