“ที่ราชพัสดุ” 2567 ใครมีสิทธิเช่า สืบทอดทายาท – เรียกคืนได้?

ที่ราชพัสดุ 2567 ใครมีสิทธิเช่า สืบทอดทายาท - เรียกคืนได้?

"ที่ราชพัสดุ" หลายคนอาจไม่คุ้นเคย หรือสงสัยว่าที่ดินประเภทนี้คืออะไร ใครบ้างมีสิทธิได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์บนที่ดิน สืบทอดถึงทายาท - เรียกคืน ได้หรือไม่

TOP News รายงานประเด็น “ที่ราชพัสดุ” ที่ดินประเภทที่หลายคนอาจไม่คุ้นเคย หรือสงสัยว่าที่ดินประเภทนี้คืออะไร ใครบ้างที่จะมีสิทธิได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์บนที่ดิน หลักเกณฑ์เป็นอย่างไร สามารถสืบทอดถึงทายาท – เรียกคืน ได้หรือไม่ เช็ค ๆ ให้หายข้องใจ ที่นี่

ข่าวที่น่าสนใจ

ที่ราชพัสดุ หลายคนอาจไม่คุ้นเคย หรือสงสัยว่าที่ดินประเภทนี้คืออะไร ใครบ้างมีสิทธิได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์บนที่ดิน สืบทอดถึงทายาท - เรียกคืน ได้หรือไม่

ที่ดินของรัฐ “ที่ราชพัสดุ” คืออะไร?

ความหมายของที่ ราชพัสดุ (ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554)

  • คำว่า ที่ ราชพัสดุ หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด แต่ไม่รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจและขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสาธารณสมบัติของแผ่นดินบางชนิด

ความหมายของที่ ราชพัสดุ (ตามพระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2518)

  • มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 บัญญัติว่า อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด เว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังนี้
  1. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน
  2. อสังหาริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ

“ส่วนอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลและขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ไม่ถือว่าเป็นที่ ราชพัสดุ”

ส่วนพระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 นั้น มิได้ให้ความหมายของที่ ราชพัสดุ ไว้ แต่ได้จำแนกที่ ราชพัสดุ ออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

  1. อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด
  2. ที่ดินที่สงวนหรือหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ
  3. ที่ดินที่สงวนหรือหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของทางราชการตามกฎหมาย

และได้กำหนดว่าอสังหาริมทรัพย์ประเภทใดที่ไม่เป็นที่ ราชพัสดุ อันได้แก่

  1. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดิน โดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน แต่ไม่รวมถึงที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือสงวนหรือหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะหรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการตามกฎหมาย
  2. อสังหาริมทรัพย์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกัน
  3. อสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  4. อสังหาริมทรัพย์ขององค์การมหาชน ซึ่งได้มาโดยมีมีผู้อุทิศให้หรือโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้หรือทรัพย์สินขององค์การมหาชนนั้น โดยไม่ได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
  5. อสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งได้มาโดยมีผู้อุทิศให้หรือโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้หรือทรัพย์สินของสถานศึกษานั้น โดยไม่ได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
  6. อสังหาริมทรัพย์ของหน่วยงานของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้ง ซึ่งได้มาโดยมีผู้อุทิศให้หรือโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้หรือทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐนั้น โดยไม่ได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
  7. อสังหาริมทรัพย์ที่มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติยกเว้นไว้ไม่ให้ถือเป็นที่ราชพัสดุ

“เห็นได้ว่า พระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 ได้มีการจำแนกประเภทของที่ ราชพัสดุ เพิ่มขึ้น โดยรวมที่ดินที่สงวนหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของทางราชการเข้าไว้ด้วย”

ผู้ถือกรรมสิทธิ์ “ที่ราชพัสดุ” ?

  • มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ ราชพัสดุ และให้กรมธนารักษ์เป็นผู้มีหน้าที่ในการปกครอง ดูแล และบำรุงรักษาที่ ราชพัสดุ ส่วนการใช้และการจัดหาประโยชน์ให้เป็นไปตามที่บัญญัติในพระราชบัญญัตินี้
  • นอกจากนี้ พระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้กรมธนารักษ์มีหน้าที่ ดังนี้
  1. จัดทำทะเบียนที่ ราชพัสดุ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการที่ ราชพัสดุ กำหนดตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2562
  2. เรียกคืนที่ ราชพัสดุ ในกรณี ดังนี้
  • เลิกใช้ที่ ราชพัสดุ
  • ครอบครองที่ ราชพัสดุ โดยไม่ได้รับอนุญาต
  • ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามหนังสือแจ้งจากกรมธนารักษ์หรือสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ตามข้อ 21
  • ไม่ใช้ที่ ราชพัสดุ ภายในระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ทำความตกลงกับกรมธนารักษ์

วัตถุประสงค์ในการนำที่ ราชพัสดุ ไปใช้

  • มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 กำหนดให้ส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความประสงค์จะขอใช้ที่ ราชพัสดุ ต้องแจ้งวัตถุประสงค์ในการใช้ที่ ราชพัสดุ และขอทำความตกลงกับกรมธนารักษ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง การใช้ที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2563

การได้มาซึ่งที่ ราชพัสดุ

  1. โดยการซื้อ ส่วนราชการต่าง ๆ ที่ทำการจัดซื้อมาต้องดำเนินการโอนเปลี่ยนชื่อมาเป็นกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2562
  2. โดยการแลกเปลี่ยน เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ ราชพัสดุ เพื่อแลกเปลี่ยนกับที่ดินของบุคคลอื่น เช่น รัฐวิสาหกิจที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ราษฎร วัด เป็นต้น
  3. โดยการรับบริจาคหรือมีผู้ยกให้ เช่น ที่ดินที่บริจาคเพื่อให้ใช้เป็นสถานพยาบาล สถานีตำรวจ มีผลทำให้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นตกเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ดังนั้น ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นที่ ราชพัสดุ โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์
  4. โดยผลของกฎหมาย เช่น ในการจัดหาประโยชน์โดยการจัดให้เช่า ประเภทการให้เช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารโดยยกกรรมสิทธิ์อาคารที่ปลูกสร้างให้แก่กระทรวงการคลัง
  5. โดยการหวงห้าม หรือดำเนินการให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในราชการ เมื่อส่วนราชการหรือทบวงการเมืองได้เข้าใช้ประโยชน์แล้วที่ดินที่หวงห้ามนั้นก็จะตกเป็นที่ ราชพัสดุ
  6. โดยการเวนคืน ตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ตั้งสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งได้มาด้วยการเวนคืนเพื่อสร้างสนามบินพาณิชย์ เป็นต้น
  7. โดยการริบทรัพย์สิน เป็นการได้มาโดยบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้ริบทรัพย์สินนั้นมาเป็นของแผ่นดิน เช่น ประมวลรัษฎากร พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เป็นต้น

ที่ราชพัสดุ หลายคนอาจไม่คุ้นเคย หรือสงสัยว่าที่ดินประเภทนี้คืออะไร ใครบ้างมีสิทธิได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์บนที่ดิน สืบทอดถึงทายาท - เรียกคืน ได้หรือไม่

“ที่ราชพัสดุ” โบราณนานมา ?

ในสมัยโบราณเมื่อครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีการปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและเป็นเจ้าของแผ่นดินทั้งราชอาณาจักรแต่เพียงผู้เดียว พระองค์จะพระราชทานให้ผู้ใดหรือริบเสียเมื่อใดก็ย่อมได้ ราษฎรไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เว้นแต่เพื่ออยู่อาศัยหรือทำกินเท่านั้น จนกระทั่งยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีความทันสมัยมากขึ้น ราษฎรเริ่มมีการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และเริ่มมีการแบ่งประเภทของที่ดินออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ที่ดินของรัฐ และ ที่ดินที่ราษฎรมีกรรมสิทธิ์

ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติกรมราชพัสดุ ร.ศ. 109 ขึ้น โดยให้กรมการราชพัสดุเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลรักษาทรัพย์สินที่มีไว้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของทางราชการ มีการจัดเก็บค่าเช่า แล้วนำเงินที่ได้เข้าท้องพระคลัง ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ครั้นมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) สยามประเทศได้มีการปรับปรุงการปกครองและมีการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ของกระทรวงต่าง ๆ ให้มีความชัดเจนมากขึ้น และมีการตราพระราชกำหนดหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร.ศ. 109 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) ขึ้น แต่เนื่องจากการจัดการทางทะเบียนในสมัยนั้นยังไม่มีความรอบคอบ รัดกุมเพียงพอ ทะเบียนที่ดินส่วนใหญ่จึงเป็นที่ดินประเภทสาธารณประโยชน์ที่ราษฎรใช้ร่วมกัน การสงวนหวงห้ามที่ดินเพื่อใช้ในราชการจึงเป็นไปตามพระบรมราชโองการหรือคำสั่งของผู้มีอำนาจเท่านั้น ข้อกำหนดเกี่ยวกับการหวงห้ามที่ดินเพื่อประโยชน์ของทางราชการจึงไม่มีการระบุไว้เป็นการเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด อีกทั้ง พระราชบัญญัติกรมราชพัสดุ ร.ศ. 109 ก็มิได้กล่าวไว้ว่ากรมราชพัสดุมีอำนาจในการดูแลที่ดินประเภทใด

ดังนั้น ที่ดินที่อยู่ภายใต้การดูแลรักษาของกระทรวงต่าง ๆ จึงยังมิได้มีการนำมาขึ้นทะเบียน จนมาถึง ร.ศ. 140 (พ.ศ. 2464) รองเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ว่าสมควรจะรวบรวมบรรดาที่ดินของหลวงที่กระจัดกระจายอยู่ตามกระทรวงต่าง ๆ มาขึ้นทะเบียนราชพัสดุไว้ที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติที่เดียว หากกระทรวงและกรมต่าง ๆ มีความประสงค์ต้องการที่หลวงเพื่อใช้ประโยชน์ในทางราชการ ก็ให้ยืมไปใช้เพื่อการนั้นได้ และเพื่อให้การจัดการปกครองที่หลวงนี้มีหลักฐานในการจัดเก็บ จากคำกราบบังคมทูลดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) จึงทรงมีพระบรมราชโองการที่ 65/507 วันที่ 25 มีนาคม พุทธศักราช 2464 ว่าเห็นชอบให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดการกับกระทรวงต่าง ๆ เพื่อรวบรวมบรรดาที่ดิน ของหลวงที่อยู่ในกระทรวงต่าง ๆ มาขึ้นทะเบียนไว้ที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติเสียทางเดียว เพื่อเป็นหลักฐานสืบไป

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการตรากฎหมายออกมาใช้บังคับ เช่น ร่างระเบียบการปกครองจัดประโยชน์ที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2477 แต่มิได้มีการนำมาใช้ จึงมิได้มีการนำมาอ้างอิงเพื่อการปฏิบัติงานด้านที่ราชพัสดุ ต่อมา ได้มีการออกระเบียบการปกครองและจัดประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างราชพัสดุ พ.ศ. 2485 ซึ่งวิวัฒนาการมาจากร่างระเบียบดังกล่าวข้างต้น จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการตราพระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ขึ้น โดยมีการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ ราชพัสดุ ทั้งหมด โดยมีคณะกรรมการที่ ราชพัสดุ ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์และวิธีการในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์อันเกี่ยวกับที่ ราชพัสดุ หากกระทรวงและกรมต่าง ๆ ต้องการที่หลวงเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางราชการก็สามารถยืมไปเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการนั้น ๆ ได้ ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 เพื่อปรับปรุงบทบัญญัติบางประการให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้การบริหารจัดการที่ ราชพัสดุ มีความคล่องตัวเพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีพื้นที่ทั้งหมดโดยประมาณ 320.7 ล้านไร่ หรือประมาณ 513,120 ตารางกิโลเมตร โดยมีที่ดินของรัฐที่เป็นที่ ราชพัสดุ ประมาณ 12.727 ล้านไร่ แบ่งออกเป็นที่ ราชพัสดุ ที่กรมธนารักษ์บริหารจัดการประมาณ 10.575 ล้านไร่ และที่ ราชพัสดุ ที่ใช้ในราชการเพื่อความมั่นคงประมาณ 2.152 ล้านไร่ โดยที่ดินที่กรมธนารักษ์บริหารจัดการนี้ยังแบ่งออกเป็น ที่ ราชพัสดุ ที่ใช้ในราชการประมาณ 9.659 ล้านไร่ หรือประมาณ 91.31% และที่ ราชพัสดุ ที่นำมาจัดหาประโยชน์ประมาณ 0.919 ล้านไร่ หรือประมาณ 8.69% (ข้อมูล ณ วันที่ 11 พฤษภาคม 2565)

ผู้มีสิทธิขอเช่าที่ดินราชพัสดุ?

  • อ้างอิง กฎหมาย กฎ ระเบียบ และคำสั่งเกี่ยวกับการเช่าที่ ราชพัสดุ : อ่านทั้งหมด…คลิกที่นี่ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในที่ ราชพัสดุ พ.ศ. 2552 หมวด 3 วิธีการจัดให้เช่าและระยะเวลาเช่า ข้อ 19 การจัดให้เช่าที่ดินเพื่ออยู่อาศัยขึ้นใหม่ให้ดําเนินการ ดังนี้

(2) ให้จัดการให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยตามลําดับก่อนและหลัง ดังนี้

(2.1) ผู้ที่อยู่อาศัยในที่ดินแปลงที่จะจัดให้เช่ามาแต่เดิมโดยชอบหรือสุจริต
(2.2) ผู้เดือดร้อนที่อยู่อาศัยเพราะถูกขับไล่หรือถูกไฟไหม้ที่อยู่อาศัย
(2.3) ข้าราชการ ลูกจ้างประจํา และพนักงานราชการของส่วนราชการ
(2.4) พนักงาน ลูกจ้างประจําและพนักงานราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(2.5) เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรอื่นของรัฐ
(2.6) ผู้ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง

ที่ราชพัสดุ หลายคนอาจไม่คุ้นเคย หรือสงสัยว่าที่ดินประเภทนี้คืออะไร ใครบ้างมีสิทธิได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์บนที่ดิน สืบทอดถึงทายาท - เรียกคืน ได้หรือไม่

และ ข้อ 20 การจัดให้เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ขึ้นใหม่ให้ดําเนินการ ดังนี้

(2) ให้จัดการให้เช่าเพื่อเกษตรกรรมตามลําดับก่อนและหลัง ดังนี้

(2.1) ผู้ที่ประกอบการเกษตรในที่ดินแปลงที่จะจัดให้เช่ามาแต่เดิมโดยชอบหรือสุจริต
(2.2) ผู้ที่รัฐมีนโยบายให้ความช่วยเหลือในเรื่องที่ดินทํากิน
(2.3) ผู้มีอาชีพเกษตรกรซึ่งยากจนไม่มีที่ดินทํากิน
(2.4) ผู้มีอาชีพเกษตรกรซึ่งมีที่ดินไม่พอทํากิน

ที่ราชพัสดุ หลายคนอาจไม่คุ้นเคย หรือสงสัยว่าที่ดินประเภทนี้คืออะไร ใครบ้างมีสิทธิได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์บนที่ดิน สืบทอดถึงทายาท - เรียกคืน ได้หรือไม่

สิทธิประโยชน์จากระบบเช่า “ที่ราชพัสดุ” ?

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กถึง สิทธิประโยชน์จากระบบเช่าที่ดินราชพัสดุ โดยกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับนโยบายมอบสิทธิการเช่าที่ดินสำหรับอยู่อาศัยและทำกินในการดูแลของกรมธนารักษ์ ผมขออนุญาตเพิ่มเติมรายละเอียดสิทธิประโยชน์ในการเข้าสู่ระบบเช่าของกรมธนารักษ์ ดังนี้ครับ

ที่ราชพัสดุ หลายคนอาจไม่คุ้นเคย หรือสงสัยว่าที่ดินประเภทนี้คืออะไร ใครบ้างมีสิทธิได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์บนที่ดิน สืบทอดถึงทายาท - เรียกคืน ได้หรือไม่

  • พื้นที่ ราชพัสดุ ถูกจัดสรรให้พี่น้องประชาชนได้ใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง และยังไม่เคยเรียกคืนสิทธิการเช่า เว้นพื้นที่ติดภารกิจสำคัญทางราชการ เช่น ภารกิจทางทหารที่อาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ก็จะไม่สามารถให้เช่าได้
  • ระบบสิทธิการเช่า 3 ปี เป็นการปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ หากจัดให้เช่ามากกว่าสามปี เช่น 30 ปี จะมีการต่ออายุสัญญาเช่าอย่างต่อเนื่องคราวละ 3 ปี เพื่อไม่ให้ประชาชนต้องเสียค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิการเช่าจำนวนมาก (ในกรณีเช่าคราวละเกิน 3 ปี)
  • สิทธิในการเช่าที่ดินราชพัสดุสามารถสืบทอดไปยังทายาทได้ ตั้งแต่ดำเนินการมารัฐยังไม่เคยเรียกคืนสิทธิการเช่า

อัตราค่าเช่าที่ดินราชพัสดุ ดังนี้

  1. สำหรับการเช่าเพื่ออยู่อาศัย เนื้อที่เช่าทั้งหมดไม่เกิน 100 ตารางวา คิดอัตรา 25 สตางค์/ตารางวา/เดือน เกินกว่า 100 ตารางวา คิดอัตราค่าเช่า 50 สตางค์/ตารางวา/เดือน
  2. หากเช่าเพื่อการเกษตร เนื้อที่เช่าทั้งหมดไม่เกิน 50 ไร่ คิดอัตราค่าเช่า 20 บาท/ไร่/ปี เกินกว่า 50 ไร่ คิดอัตราค่าเช่า 30 บาท/ไร่/ปี กรมธนารักษ์จะยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้าทั้งหมด ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการรังวัดทั้งหมด และเรียกเก็บหลักประกันสัญญาเช่าเท่ากับอัตราค่าเช่าเพียงแค่ 1 ปีเท่านั้น

แก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่างรัฐและประชาชนอย่างยั่งยืน?

  • เมื่อทำสัญญาเช่าที่ดิน จะมีการยกเว้นค่าเสียหายฐานบุกรุกที่ดินราชพัสดุให้ผู้ได้สิทธิเช่า
  • ผู้เช่าจะได้รับการอำนวยความสะดวกและการดูแลจากรัฐในฐานะที่ดินเช่า มีการจัดการสาธารณูปโภคเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา การขอทะเบียนบ้าน และการช่วยบรรเทาความเสียหายเมื่อเกิดเหตุอุบัติภัยต่าง ๆ เนื่องจากเป็นพื้นที่ในการกำกับดูแลของรัฐโดยตรง
  • ผู้เช่าสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น เพราะสิทธิการเช่าที่ดินราชพัสดุสามารถนำไปเป็นหลักประกันเพื่อขอสินเชื่อจากธนาคารที่ดำเนินการโดยรัฐได้

จากความสำเร็จของหนองวัวซอโมเดล ที่จังหวัดอุดรธานี และพื้นที่ในจังหวัดกาญจนบุรี ผมในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในความร่วมมือของกรมธนารักษ์และกระทรวงกลาโหม ขอเชิญชวนพี่น้องที่สนใจมาเข้าร่วมโครงการกับกรมธนารักษ์กันครับ รัฐบาลพร้อมสนับสนุนและดูแลผู้เช่าที่ดินราชพัสดุ เราตั้งใจจะขยายพื้นที่โครงการเพื่อมอบสิทธิในที่ดินสำหรับอยู่อาศัยและทำกินแก่พี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่องต่อไปครับ

ที่ราชพัสดุ หลายคนอาจไม่คุ้นเคย หรือสงสัยว่าที่ดินประเภทนี้คืออะไร ใครบ้างมีสิทธิได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์บนที่ดิน สืบทอดถึงทายาท - เรียกคืน ได้หรือไม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“อนุทิน” ยันมีงบเพียงพอ เยียวยาอุทกภัยภาคเหนือ
"น้องเบญ" สาวฝันสลาย สอบติดครูอันดับ 1 แต่รายชื่อหาย เข้าร้อง รมว.ศธ. ขอความเป็นธรรม
ศาลอุทธรณ์ยืนคุก 12 เดือน “สายน้ำ” คดี 112 ร่วมม็อบ กระทำการหมิ่นสถาบันฯ
สหรัฐเตรียมลดดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 4 ปี
“จิรายุ” ยิ้มร่าพบ “หมอมิ้ง“ บอก รอพรุ่งนี้ชัด นั่ง “โฆษกรัฐบาล”
ปธน.อิหร่านตอบรับเข้าประชุมสุดยอด BRICS
ยุโรปกลางน้ำท่วมอ่วม ดับเพิ่มเป็น 8 ราย
ราชกิจจาฯแพร่ประกาศแต่งตั้ง “รองประธานสภาฯ”
"องค์กรต้านโกง" ร่อนจม.ถึงนายกฯ เสนอตั้งวอร์รูมต้านโกงแห่งชาติ
อิสราเอลยิงคนร้ายดับ ขณะเข้าแทงเจ้าหน้าที่ในเยรูซาเล็ม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น