No data was found

‘แพทย์ศิริราช’ชี้ ไทยอยู่ช่วงขาขึ้นการระบาด แนะ 6 ข้อ รับมือวิกฤตโควิด-19

กดติดตาม TOP NEWS

'แพทย์ศิริราช'ชี้ ไทยอยู่ช่วงขาขึ้นการระบาด แนะ 6 ข้อ รับมือวิกฤตโควิด-19

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เสวนาในหัวข้อ “ถอดบทเรียนจากสัญญาณเตือนภัย สถานการณ์โลกจากวิกฤตสายพันธุ์เดลต้า”ระบุว่า การแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลต้า ทั่วโลกได้แพร่ระบาดไปแล้ว 132 ประเทศ และพบว่าทั่วโลกติดเชื้อ 4 ล้านคนต่อสัปดาห์ และแม้จะฉีดวัคซีนไปแล้วจำนวนมากในหลายประเทศ อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และอิสราเอล ที่ช่วงแรกการติดเชื้อลดลงแต่ต่อมาพบว่ามีการระบาดเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะสายพันธุ์เดลต้า ทำให้แต่ละประเทศต้องกลับมาทบทวนมาตรการทางสาธารณสุขที่เข้มงวดขึ้น

ทั้งนี้ การระบาดของสายพันธุ์เดลต้า ถือว่าเป็นการระบาดที่ใกล้กับช่วงที่มีวัคซีนใหม่ๆ แต่จำนวนของความชันของคลื่นนั้น มีความชันไม่มากเท่า ซึ่งสาเหตุอาจจะเพราะการฉีดวัคซีนที่ในขณะนี้มีการฉีดวัคซีนไปแล้วทั่วโลกกว่า 4,400 ล้านโดส

สำหรับการระบาดของประเทศไทย ยังคงถือว่าอยู่ในการระบาดในช่วงขาขึ้น ซึ่งเห็นได้จากจำนวนของผู้เสียชีวิตที่ยังคงมีถึง 3 หลัก ดังนั้นในช่วงขาขึ้นจึงจำเป็นที่จะต้องเร่งการล็อกดาวน์ รวมถึงเร่งความเร็วในการฉีดวัคซีน เพื่อที่จะทำให้ไปสู่เป้าหมายของการลดการแพร่ระบาด

ดังนั้น หากสรุปข้อมูลจากการระบาดทั่วโลกจะสามารถแบ่งข้อสรุปออกเป็น 7 ข้อ ได้แก่

1.เชื้อของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า ไม่เพียงแพร่ระบาดได้รวดเร็วโดยเร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟ่า ประมาณร้อยละ 60 แต่มีหลักฐานว่าก่อให้เกิดอาการที่รุนแรง และอันตรายมากกว่าสายพันธุ์เดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่มีอาการรุนแรงในกลุ่มที่มีผู้อายุน้อยลง

2.ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบไม่ว่าจะชนิดไหนก็มีโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ โดยรายงานจากสหรัฐอเมริกา พบว่า ไม่แตกต่างจากผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน แต่อาการมักไม่รุนแรง

3.รายงานจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน พบว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว ยังสามารถพบมีปริมาณไวรัสในจมูกและคอไม่แตกต่างจากผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน 4.หลายประเทศพบการติดเชื้อในเด็กมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง

5.สัดส่วนของประชากรที่ได้รับวัคซีนที่มากพอ จะมีส่วนสำคัญในการลดแพร่ระบาดและการเสียชีวิต

6.การแพร่ระบาดในกลุ่มคนจำนวนมาก อาจจะนำไปสู่การกลายพันธุ์และสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดในจะทดแทนสายพันธุ์เดิม

7.ความปลอดภัยจากเชื้อโควิดในประเทศใดประเทศหนึ่ง จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของเชื้อในโลก

อย่างไรก็ตาม การกำหนดแนวทางการรับมือวิกฤตโควิด-19 นั้น ต้องดำเนินการดังนี้

1.ต้องลดความเสียหายที่เกิดจากวิกฤตที่เกินศักยภาพของระบบการดูแลสุขภาพ

2.การเร่งลดโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อ ทั้งมาตรการทางการปกครอง มาตรการทางการสาธารณสุข ในการพัฒนาศักยภาพการตรวจหาผู้ติดเชื้อ การจัดการเตรียมสถานพยาบาลและมาตรการส่วนบุคคลและทางสังคม

3.การเร่งฉีดวัคซีนเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตผู้สูงอายุ และผู้สูงวัย 8 กลุ่มโรค อย่างมากและรวดเร็ว

4.การเร่งค้นหาผู้เสี่ยงติดเชื้อและแพร่เชื้อโดยเฉพาะการใช้ Antigen Test Kit และ RT-PCR

5.การได้รับยาที่เร็ว แจ้งลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบ

6.การพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้ติดเชื้อทั้ง Home isolation และ Community isolation

ส่วนสำหรับประเทศไทยนั้นการแพร่ระบาดในปัจจุบัน ถือว่ายังไม่ถึงจุดสูงสุด โดยดูจากกราฟที่ปัจจุบันยังคงไม่วิ่งลง ซึ่งตราบใดที่กราฟยังไม่วิ่งลง ก็แปลว่าการแพร่ระบาดยังไม่ถึงจุดสูงสุด อีกทั้งยังพบว่าประมาณร้อยละ 60-70 ของผู้เสียชีวิต เป็นผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี

ดังนั้น จึงเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่จะต้องเร่งเข้าไปฉีดวัคซีนก่อนวัยอื่นๆ ซึ่งวัคซีนที่ไทยมีอยู่ในปัจจุบัน ยังถือว่าลดความรุนแรงของการติดเชื้อและการเสียชีวิตได้อยู่ แต่โอกาสในการลดการแพร่กระจายถือว่าน้อยลงไปมาก ซึ่งมาตรการจัดการโควิด-19 ต้องเป็นมาตรการที่จะต้องติดตามและต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยนั้น ยังถือว่ามีคลัสเตอร์อีกมากที่จะต้องมีมาตรการเข้าไปควบคุมให้อยู่ภายในพื้นที่ ซึ่งในขณะนี้โดยรวมถือว่าสังคมการ์ดไม่ตก ซึ่งการที่การ์ดไม่ตกนั้น อาจจะเห็นกราฟของการติดเชื้อในพื้นที่กรุงเทพฯ มีค่าความชันลดลง ซึ่งถ้าหากรักษาระยะของการป้องกันและควบคุมในรูปแบบนี้ได้ และเร่งในการฉีดวัคซีนให้ทั่วประเทศ ก็จะเริ่มเห็นผลบางอย่าง

แต่เนื่องจากปัจจุบันยังคงพบกิจกรรม เช่น การพบปะกัน การเข้าไปในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด ซึ่งหากทุกคนปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ภายในเดือนสิงหาคม-กันยายน อาจจะเห็นผลบวกจากการฉีดวัคซีน แต่ทุกอย่างจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ว่าไม่มีสิ่งใดที่เข้ามาก่อให้เกิดการแพร่กระจายเพิ่มขึ้น

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ภูมิธรรม" รับเพิ่งทราบ "ปานปรีย์" ลาออกรมว.ต่างประเทศ เชื่อการทำงานไม่สะดุด ไม่กระทบเพื่อไทย
สลด ผู้สูงอายุ วัย 65 ปี เสียชีวิตปริศนากับพื้นปูนคอนกรีตตรวจสอบยังพบว่าผิวหนังลอกออกคาดเกิดจากสาเหตุอากาศร้อน
ชาวบ้านร้องเรียน น้ำเสียทะลักขึ้นจากพื้น ส่งกลิ่นเหม็น อวด นทท.
รู้จัก "จิราพร" รมต.ป้ายแดง DNA "สินธุไพร" อดีต สส.เสื้อแดง ผลงานแน่นไม่แพ้ใคร
"ครอบครัว" สุดเศร้าไร้ปาฎิหาริย์ ร่วมรับร่าง "ดาบตาร์" กลับไปบำเพ็ญกุศลที่บ้านเกิด
"Thailand Biennale" Chiang Rai 2023 ฉลองความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ จัดพิธีมอบธงสัญลักษณ์ให้ จ.ภูเก็ต เจ้าภาพจัดงานในปี 2025
"ท่านใหม่" ห่วงใยสุขภาพ "บิ๊กจิ๋ว" เตรียมเข้าเยี่ยมพร้อมอวยพรวันเกิด 2 พ.ค.นี้
เปิดโปรไฟล์ "เผ่าภูมิ" ขุนพลเศรษฐกิจเพื่อไทย รมช.คลังคนใหม่
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ชวนชมโชว์ช้างว่ายน้ำและเลือกซื้อสินค้าธงฟ้าราคาประหยัดเพื่อแรงงาน
“บิ๊กโจ๊ก” ย้ำไม่ได้สั่งลูกน้องปลดป้ายชื่อหน้าห้องทำงานสตช. ให้ขนแต่ของจำเป็นออกมาเท่านั้น

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น