No data was found

BTSC เปิดซองประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม พิสูจน์ผลตอบแทนรัฐดีสุด

กดติดตาม TOP NEWS

BTSC เปิดซองประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม พิสูจน์ผลตอบแทนรัฐดีสุด

วันที่ 12 ก.ย.65 นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เปิดเผยภายหลังการเปิดซองข้อเสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี ) (สุวินทวงศ์) ซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน โดยระบุว่า บริษัทได้ทำหนังสือแจ้งรฟม. ลงวันที่ 9 ก.ย. 65 เพื่อขอรับซองเอกสารการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ครั้งที่1) คืน ในวันนี้ ( 12 ก.ย.65) ช่วงเวลา 13.00-15.00 น. ซึ่งทางด้านบีทีเอส ได้ส่งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทฯ ไปติดต่อเพื่อรับเอกสารคืน แต่ทางด้านของรฟม. ได้มีการว่าจ้างบริษัทขนส่งเอกชน นำกล่องเอกสาร ซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน จำนวน 4 กล่อง มาส่งยังบริษัท บีทีเอส สำนักงานใหญ่ ในเวลา 13.16 น. โดยแนบหนังสือขอส่งคืนซองเสนอราคา ลงวันที่ 8 ก.ย.65 สวนทางกับตัวแทนบริษัทที่เดินทางไปรับเอกสารที่ รฟม. สร้างความแปลกใจให้แก่ทางด้านบีทีเอส เนื่องจากได้ทำหนังสือแจ้งล่วงหน้าว่าจะไปรับเอกสารด้วยตนเอง รวมถึงตั้งข้อสังเกตในเรื่องเอกสารที่มีการลงวันที่ก่อนที่บีทีเอสจะทำหนังสือขอรับซองคืนไปยังรฟม.

 

 

จากนั้น ในเวลา 15.00 น. นายสุรพงษ์ พร้อมด้วยผู้บริหาร และทีมฝ่ายกฎหมาย ได้ทำการเปิดซองข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน ซึ่งเป็นซองที่ 3 ให้สื่อมวลชนได้ทราบถึงราคาที่ทางด้านบริษัทได้นำเสนอในการประมูลครั้งแรกเมื่อปี 2563 โดยบริษัท ได้ขอรับเงินสนับสนุนค่างานโยธา รวม 79,820 ล้านบาท (79,820.40 ) มีการจ่ายเงินตอบแทนให้แก่ รฟม. รวม 70,144 ล้านบาท (70,144.98 ) รวมยอดเงินขอสนับสนุนจากภาครัฐ รวม 9,676 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่า ผู้ชนะการประมูลที่เสนอผลประโยชน์สุทธิ รวม 78,287.95 ล้านบาท

โดยผลประโยชน์สุทธินั้น คือเงินตอบแทนที่ผู้ยื่นข้อเสนอจะให้แก่รฟม. หักลบด้วยจำนวนเงินสนับสนุนค่างานโยธาที่ผู้ยื่นข้อเสนอจะขอรับจากรฟม.

 

 

 

 

นายสุรพงษ์ ระบุว่า สำหรับการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตัวเลขที่บริษัทได้นำเสนอประกอบไปด้วยสองตารางตามแบบฟอร์มของรฟม. และเช่นเดียวกับที่ได้ประกาศผู้นำเสนอดีที่สุด โดยผู้ที่เสนอราคาดีที่สุดคือ ผู้ที่เสนอขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลน้อยที่สุด ( มูลค่าปัจจุบันสุทธิ Net Present Value: NPV) ประมาณ 78,000 ล้านบาท ซึ่งจากการเปิดเอกสารของบีทีเอสวันนี้ พบว่า จำนวนเงินที่บีทีเอสได้เสนอขอรับเงินสนับสนุนอยู่ที่ประมาณ 9,000 ล้านบาท ซึ่งมีความแตกต่างกันเกือบ 7 หมื่นล้านบาท แต่ทั้งนี้ ในส่วนของรายละเอียดของการเสนอราคามีอะไรบ้าง จึงอยากให้รฟม.นำเสนอข้อมูลทั้งหมด ว่า ในข้อเสนอที่ยื่นไปนั้น มีการขอเงินสนับสนุนอยู่ที่เท่าใด และมีส่วนแบ่งรายได้อยู่ที่เท่าใด เพื่อบริษัทจะได้มีการชี้แจงรายละเอียดใหัชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขการขอรับเงินสนับสนุนที่ต่างกันมาก ถึงแม้จะมีอัตราการคิดที่ต่างกันบ้างแต่ก็ต่างกันหลายหมื่นล้านบาท

“คนที่ให้ข้อเสนอดีที่สุด ขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล หรือรฟม. กลมๆ ประมาณ 78,000 ล้าน แต่วันนี้ ผมได้เปิดให้ดูแล้ว ว่าสิ่งที่เราเสนอไป ในการประมูลที่เรายื่นเมื่อปี 63 เราขอรับการสนับสนุน อยู่ที่ประมาณ 9 พันล้านเท่านั้น ก็จะเห็นว่า ตัวเลขแตกต่างกันอยู่เกือบ 7 หมื่นล้าน” นายสุรพงษ์ กล่าว

นายสุรพงษ์ ระบุถึงความเสียโอกาส หากไม่มีการยกเลิกประมูลครั้งที่ 1 ว่า หากไม่มีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ รวมถึงยกเลิกการประมูล และดำเนินโครงการตามปกติ รัฐบาลจะได้โครงการนี้ตามราคาที่ BTSC ได้เสนอไป เนื่องจากบริษัทได้ขอเงินสนับสนุนจากรัฐเพียง 9 พันล้านบาทเท่านั้น รัฐบาลจะเสียเงิน NPV เพียง 9 พันล้านบาท โครงการจะไม่ล่าช้าถึง 2 ปี พร้อมเสียดายงบประมาณของรัฐที่จะต้องเสียเงินเพิ่มขึ้น

“ถ้าวันนั้น ไม่มีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ รัฐก็ได้เงินที่เราเปิดให้ดูวันนี้ เราขอเงินสนับสนุนไปแค่ 9 พันล้าน และโครงการก็ไม่ต้องล่าช้ามาถึง 2 ปีแล้ว ฝากกลับไปคิดเอง ว่ามันเสียหายขนาดไหน” นายสุรพงษ์ กล่าว

สำหรับความแตกต่างที่เกิดขึ้นของการเปิดประมูลครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 นั้น นายสุรพงษ์ ระบุว่า ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนเป็นเรื่องคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประมูล ซึ่งในการประมูลครั้งแรก บริษัทและพันธมิตรสามารถเข้าร่วมประมูลได้ แต่ในการประมูลครั้งที่ 2 พบว่า บีทีเอส และพันธมิตรไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติไม่เพียงพอ เพราะมีการกำหนดคุณสมบัติผู้ก่อสร้างงานโยธา ที่จะต้องมีผลงาน 3 ประเภท คือ งานอุโมงค์ งานระบบราง และงานสถานี โดยจะต้องมีผลงานกับรัฐบาลไทยเท่านั้น

ปัจจุบัน พบว่า ในประเทศไทยมีบริษัทที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้เพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้น จึงส่งผลให้บีทีเอสไม่สามารถเข้าร่วมประมูลในครั้งที่ 2 ได้ เพราะมีคุณสมบัติไม่ตรงกับที่กำหนดไว้

และเมื่อเปิดให้มีการประมูลครั้งใหม่ จากข้อกำหนดด้านคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ต่างๆพบว่า มีบริษัทที่ตรงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในทีโออาร์ เพียง 1 ราย แม้จะมีผู้เข้าประมูล 2 ราย โดย 1 บริษัทที่เข้าร่วมประมูลครั้งที่ 2 พบว่าไม่ผ่านคุณสมบัติในเรื่องของคณะกรรมการบริษัท และในการประมูลโครงการนี้ ตามหลักการ พ.ร.บ.ร่วมทุนจะต้องเปิดกว้างมากกว่านี้ ซึ่งครม. ได้กำหนดไว้ให้มีการเปิดโอกาสให้บริษัทจากต่างประเทศเข้าร่วมลงทุนได้ ซึ่งจาก TOR ครั้งใหม่จึงทำให้เหลือผู้เข้าร่วมประมูลเพียง 1 รายเท่านั้น

ส่วนด้านรายเอียดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอทางเทคนิค หรือ ข้อเสนออื่นพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง รวมถึง หลักเกณฑ์การคัดเลือกที่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย

 

นายสุรพงษ์ ระบุว่า หากไม่มีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ โครงการนี้ ในการบริการหรือดำเนินการ จะเป็นเช่นเดียวกับการบริหารรถไฟฟ้าที่ทางด้านบีทีเอสมีการดำเนินการอยู่ แต่ในส่วนของสายสีส้ม การดำเนินการส่วนใหญ่จะอยู่ใต้ดิน ส่วนการเดินรถก็ไม่มีความต่างจากการเดินรถที่บริษัทได้ดำเนินการอยู่

อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ บริษัท จะทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แจ้งตัวเลขการประมูล พร้อมเชิญสื่อมาเป็นพยานถึงตัวเลขเสนอราคาเพื่อให้ทุกหน่วยงานได้วิเคราะห์ ซึ่งในส่วนความเห็นของบีทีเอส คือต้องการให้มีการยกเลิกการประมูลนี้ เพราะมีความไม่ชอบมาพากลตั้งแต่แรก ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ การยกเลิกประมูล รวมถึงการออกหลักเกณฑ์ใหม่ ที่เป็นการกีดกัด และการทำให้รัฐเสียประโยชน์ ยืนยันบีทีเอสทำดีที่สุดแล้ว

 

 

นายสุรพงษ์ เปิดเผยความคืบหน้าคดีความของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ว่า ขณะนี้มีอยู่ด้วยกัน 4 คดี แบ่งเป็น ศาลปกครอง 3 คดี และ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง 1 คดี โดยในส่วนของศาลปกครองนั้น

มีคดี 1 ฟ้องละเมิด การเปลี่ยนหลักเกณฑ์หลักการขายซองเสนอราคา รวมถึงการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การคัดเลือก ซึ่งศาลปกครองสูงสุดนัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกในวันที่ 15 ก.ย. นี้

2 คดีฟ้องเรื่อง การยกเลิกการประมูลครั้งที่1 มิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอยู่ระหว่างการยื่นอุทธรณ์ของรฟม. และรอศาลปกครองสูงสุดนัดพิจารณา

และคดีที่ 3 การออกทีโออาร์ใหม่ที่กีดกันและการออกมิชอบด้วยกฎหมาย เพราะมีการยกเลิกการประมูลไปแล้ว ทั้งที่ขอทีโออาร์ครั้งที่ 1 ยังอยู่ ซึ่งได้มีการฟ้องร้อง

และคดีในส่วนของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง คือ คดีฟ้องร้องกรรมการม. 36 และ รฟม. เรื่องเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประมูล และการยกเลิกการประมูลมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลจะนัดพิจารณาชี้มูลความผิดในวันที่ 27 ก.ย.นี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สตช.ปลดป้ายชื่อ “บิ๊กโจ๊ก” หน้าห้องทำงาน ถอดรูปออกจากทำเนียบผู้บังคับบัญชาบนเว็บไซต์ด้วย
สหรัฐ กระแสต้านยิวลามเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำ
โคราชประกอบพิธีบรรพชา สามเณรปลูกปัญญาธรรม 1ทศวรรษแห่งความดี 10 ปีแห่งความยั่งยืน
"สุรพงษ์" ลุยปัตตานี พัฒนาระบบขนส่งรถสาธารณะ เชื่อมแหล่งท่องเที่ยว อำนวยความสะดวกนทท.-ปชช.ในพื้นที่
ผู้โดยสารอินเดีย ซุกงูอนาคอนดาเหลือง 10 ตัวจากไทย
"3 รัฐมนตรี" ยืนยันไทยไม่แทรกแซงกิจการในเมียนมา พร้อมช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ย้ำจุดยืนห้ามรุกล้ำดินแดน
"หมอเหรียญฯ" ลั่นสัญญาลูกผู้ชาย รับปาก "ลุงตู่" สร้างโครงการวิสาหกิจการแพทย์ วันนี้ทำจริงไม่ขายฝัน
ภาคเอกชน เผยสถานการณ์เมียนมากระทบค้าชายแดน ลดลงร้อยละ 30 หากยืดยื้อส่อส่งผลรุนแรง
อากาศร้อนทำพ่อค้าแม่ค้าตลาดใหม่ชลบุรีบ่นอุบผักขึ้น กก. ละ 50 บาทไข่ขึ้นราคาแผงละ 6 บาท ทำคนจับจ่ายน้อยขายของยากไม่คึกคัก
แคมป์ปิ้งจีนที่ไห่หนานสุดคึกคัก

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น