No data was found

เปิดสิทธิ “พรบ.คู่ชีวิต” หากผ่านมติสภาผู้แทนฯ จะได้อะไรบ้าง

พรบ.คู่ชีวิต สมรสเท่าเทียม พร บ. คู่ชีวิต

กดติดตาม TOP NEWS

เปิดสิทธิ "พรบ.คู่ชีวิต" หลังล่าสุดวันนี้ 7 มิถุนายน 2565 ครม. ประกาศข่าวดีไฟเขียวร่างพรบ. แล้ว ซึ่งหากผ่านมติสภาผู้แทนราษฎร จะได้รับสิทธิอะไรบ้าง

“พรบ.คู่ชีวิต” พ.ร.บ. คู่ชีวิต สมรสเท่าเทียม พร บ. คู่ชีวิต กลายเป็นข่าวดีที่สร้างความสุขให้กับหลายคนเป็นอย่างมาก เมื่อล่าสุดวันนี้ 7 มิถุนายน 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างพรบ.คู่ชีวิตแล้ว เตรียมเข้าสู่กระบวนการสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในขั้นต่อไป ซึ่งหากผ่านขั้นตอนนี้จะได้รับสิทธิอะไรบ้าง เช็คที่นี่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

เป็นที่ผลักดันของประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับการให้สิทธิคุ้มครองการสมรสเท่าเทียมของคู่รักทุกคู่ไม่ว่าเพศไหนก็ตาม ซึ่งเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 คณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล โดยทางด้าน นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า เห็นชอบร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตและแก้ไขพ.ร.บ.แพ่งและพาณิชย์ ให้สอดคล้องกัน ซึ่งเป็นผลจากการทบทวน และรับฟังความเห็นจากประชาชน โดยจะเข้าสู่กระบวนการสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในขั้นต่อไป

 

 

 

พรบ.คู่ชีวิต สมรสเท่าเทียม พร บ. คู่ชีวิต

 

 

ก่อนที่ต่อมาทางด้าน นางสาวรัชดา ธนาดิเรก จะได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวนี้ผ่านเพจเฟซบุ๊กว่า ครม.ไฟเขียว ร่าง พรบ.คู่ชีวิต เปิดทางคู่รักเพศเดียวกันจดทะเบียนคู่ชีวิต รับเลี้ยงลูกบุญธรรม และจัดการมรดกคู่ชีวิตได้ ยังไม่มีผลทันที ต้องผ่านสภาผู้แทนฯ ก่อน ครม.เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ

 

 

เพื่อเป็นกฎหมายที่รองรับความสัมพันธ์ของการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวระหว่างบุคคลเพศเดียวกัน โดยมีการอุปการะเลี้ยงดูและมีความสัมพันธ์ในด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างไปจากคู่สมรส ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นครอบคลุมทุกกลุ่มในทุกมิติเรียบร้อยแล้ว โดยกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศต้องการกฎหมายที่รับรองสิทธิในการก่อตั้งครอบครัว และผู้แทนกลุ่มศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ไม่ขัดข้องต่อกฎหมายดังกล่าว เพราะเข้าใจว่าประเทศไทยเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม

 

 

พรบ.คู่ชีวิต สมรสเท่าเทียม พร บ. คู่ชีวิต

 

 

 

 

ซึ่งร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ มีรายละเอียดดังนี้ ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. …. ฉบับนี้ ให้สิทธิและหน้าที่คู่ชีวิต เช่น

  1. หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
  2. อำนาจจัดการแทนผู้เสียหายในคดีอาญาเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา
  3. สิทธิรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน
  4. สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม
  5. สิทธิและหน้าที่ในการเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ หากอีกฝ่ายเป็นคนไร้ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
  6. สิทธิเซ็นยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย
  7. สิทธิจัดการศพ

 

 

 

พรบ.คู่ชีวิต สมรสเท่าเทียม พร บ. คู่ชีวิต

 

 

 

สำหรับสาระสำคัญของร่าง พรบ. อาทิ

  1. คู่ชีวิต หมายถึง บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิด และได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พรบ. นี้
  2. กำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตาม พรบ.นี้
  3. การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายยินยอม มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และทั้งสองมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย รวมทั้งกำหนดบุคคลต้องห้ามไม่ให้จดทะเบียนคู่ชีวิต เช่น ทั้งสองคนเป็นญาติสืบสายโลหิตกัน เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา เป็นต้น
  4. กรณีที่ผู้เยาว์จะจดทะเบียนคู่ชีวิต ต้องได้รับความยินยอมของบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือศาล และเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิตแล้วผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะ
  5. กำหนดบทบัญญัติเพื่อรองรับลักษณะความสัมพันธ์ของคู่ชีวิต เช่น ต้องอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวและช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน
  6. คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา และมีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกับสามีหรือภริยาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป. วิ อาญา)
  7. ทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต แบ่งเป็นสินส่วนตัวและทรัพย์สินร่วมกัน
  8. การสิ้นสุดการเป็นคู่ชีวิต คู่ชีวิตย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย ศาลพิพากษาให้เพิกถอน หรือการเลิกการเป็นคู่ชีวิต รวมทั้งกำหนดเหตุฟ้องเลิกการเป็นคู่ชีวิต เช่น คู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันคู่ชีวิต ประพฤติชั่ว ทำร้าย ทรมานร่างกายหรือจิตใจ จงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี
  9. บุตรบุญธรรม เมื่อคู่ชีวิตได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขใน พรบ. นี้ และ ป.พ.พ. แล้ว สามารถรับบุตรบุญธรรมได้ รวมทั้งคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็นบุตรบุญธรรมของตนด้วยก็ได้
  10. เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติใน ป.พ.พ. ว่าด้วยมรดก
  11. กำหนดให้นำบทบัญญัติใน ป.พ.พ. ว่าด้วยคู่สมรส ครอบครัว และบุตรบุญธรรม มาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตด้วยโดยอนุโลมในบางกรณี

 

 

พรบ.คู่ชีวิต สมรสเท่าเทียม พร บ. คู่ชีวิต

 

 

 

ส่วนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
  1. ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมี ‘คู่สมรส’ หรือ ‘คู่ชีวิต’ อยู่ไม่ได้
  2. กำหนดให้เหตุฟ้องหย่ารวมถึง กรณีสามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉัน ‘คู่ชีวิต’
  3. ให้สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพในกรณีหย่าหมดไป ถ้าฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพสมรสใหม่หรือจดทะเบียนคู่ชีวิต
ทั้งนี้ สิทธิที่เกี่ยวข้องกับคู่ชีวิตในกฎหมายฉบับอื่น ๆ จะมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป ภายหลังจากร่าง พรบ.นี้ มีผลบังคับใช้
พรบ.คู่ชีวิต สมรสเท่าเทียม พร บ. คู่ชีวิต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์เพลิงไหม้โรงงานเก็บการสารเคมีอุตสาหกรรมวินโพรเสส สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งควบคุมสถานการณ์ไฟที่ปะทุ และจัดทำแผนการเยียวยา ปชช.
กองทัพเรือ ร่วมมูลนิธิ รพ.สิริกิติ์ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ทอดผ้าป่าสามัคคีการกุศล
"บีทีเอส" แจงปมผู้โดยสารติดลิฟต์ สถานีแบริ่ง จนท.เร่งช่วยเหลือปลอดภัย
"ตร.ไซเบอร์" บุกทลาย 2 เหมืองบิทคอยน์ ภาคตะวันตก ลักไฟหลวง 2 เดือน กว่า 5 ล้านบาท
"กกต." เตือน จูงใจ ชี้ชวนให้คนลงสมัครสว.เสี่ยงผิดกฎหมาย
ข่าวดี "นายกฯ" เผยยางพาราแตะ กก. 100 บาทเร็วๆนี้ ลั่นมาจากการทุ่มเททำงาน ไม่ใช่โชคช่วย
สอบสวนกลาง รวบ "หนุ่มดาวทวิต" ลวงเด็กชายถ่ายคลิปสร้างคอนเทนต์ ขายในกลุ่มลับ
จนท.ชุดลาดตระเวนกว่า 20 นาย เร่งติดตาม "แก๊งผ้าเหลือง" ลอบล่าสัตว์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
สอบสวนกลาง บุกค้นโรงงานรีไซเคิลพลาสติกเถื่อน ชลบุรี สร้างความเดือนร้อนให้ชุมชน
เปิดเบื้องลึก "รมว.ปุ๋ง" ถูกโยกนั่งวธ. รับงานใหญ่ ลุย Soft Power

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น