No data was found

“ศ.นพ.ประสิทธิ์”ห่วงไทย ป่วยใหม่ไม่ลด เสี่ยงวิกฤติ-กลายพันธุ์

กดติดตาม TOP NEWS

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อัปเดตสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่ทั่วโลก ในหัวข้อ สถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ทั่วโลก, ข้อพึงระวังของประเทศไทย และคำแนะนำในการดูแลตนเอง และบทบาท และความร่วมมือของคนไทยในการจัดการสภาวะวิกฤต

ศาสตราจารย์ ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อมูลว่า ประเทศไทย ขณะนี้มีพบการการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด -19 เกิดสายพันธุ์ใหม่ คือ สายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดิม พบว่าแพร่กระจายเร็วขึ้นเดิมพบว่าไม่เพิ่มความรุนแรง แต่รายงานล่าสุดจากสหราชอาณาจักร แสดงให้เห็นว่าอาจทำให้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นวิกฤตของประเทศ เพราะสัดส่วนผู้ป่วยที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบ และผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจมีปริมาณเพิ่มขึ้น เริ่มส่งผลให้มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น (สาเหตุอาจเป็นจากจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นหรือสัมพันธ์กับการกลายพันธุ์)

นพ.ประสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงรวมถึงผู้ที่เสียชีวิตพบในผู้ป่วยที่อายุน้อยมากขึ้น เป็นตัวเลข 2 หลัก ในอายุ 20-40 ปี ซึ่งเสียชีวิตภายใน 7-10 วันเท่านั้น อีกทั้งความต้องการใช้หอผู้ป่วยวิกฤต (ICU) เพิ่มมากขึ้น จนอาจเกิดเหตุการณ์เตียงในหอผู้ป่วยวิกฤตไม่เพียงพอกับความต้องการ นำไปสู่การเสียชีวิตมากขึ้น ยาที่ต้องใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เช่น Favipiravir, Remdesivir มีการแย่งสั่งซื้อหรือควบคุมการจำหน่ายของประเทศผู้ผลิต ทรัพยากรไม่เพียงพอกับความต้องการ เช่น บุคลากรด้านสุขภาพอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์บางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดูแลผู้ป่วยหนัก

“ประเทศไทยได้แบ่งยุทธศาสตร์การป้องกันโควิด-19 ออกเป็น 2 ส่วน คือ ยุทธศาสตร์ต้นน้ำ เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยใหม่ คือ คนไทยทั้งประเทศอยู่บ้าน รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล ใส่หน้ากาก ล้างมือ รวมไปถึงการมีจิตสำนึก ความรับผิดชอบ วินัยในการปฏิบัติตามาตรการ และยุทธศาสตร์ปลายน้ำ ลดอัตราการเสียชีวิต เพิ่มอัตราการหายและกลับบ้าน ซึ่งเป็นหน้าผู้รับผิดชอบระบบการดูแลสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรคน แพทย์ เตียง ยา และงบประมาณ” คณบดี ม.มหิดล กล่าว

คณบดี ม.มหิดล ย้ำว่า การฉีดวัคซีน คือเครื่องมือในการจัดการกับการแพร่ระบาดจะเห็นผลเมื่อประชากรอย่างน้อยร้อยละ 25 ได้รับการฉีดวัคซีนการฉีดได้เร็วและฉีดได้มากจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบันทั่วโลกมีความปลอดภัยสูง โดยข้อมูล European Medicine Agency (EMA) รายงานของ PRAC ที่ศึกษาดูเรื่องการเกิดลิ่มเลือด 37 รายในผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน AstraZeneca จำนวน 17 ล้านโดสในประเทศต่างๆของยุโรป(08/03/2021) ไม่พบมีความสัมพันธ์กัน (18/03/2021) ซึ่งสหราชอาณาจักรศึกษาผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน AstraZeneca จำนวนรวม 18.1 ล้านโดส (ถึง 24/03/2021) พบมี 22 รายเกิดลิ่มเลือดในระบบเลือดดำของสมองและ 8 รายเกิดลิ่มเลือดร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ทั้งนี้ The Medicines and Health Products Regulatory Agency-MHRA ของสหราชอาณาจักรสรุปว่าวัคซีนของ AstraZeneca ปลอดภัยมากอุบัติการณ์การเกิดลิ่มเลือดต่ำกว่าสถิติทั่วไป

สำหรับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่ยังต้องระวังเพิ่ม คือ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ B.1.351 เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดิมพบว่าแพร่กระจายเร็วขึ้น แต่ข้อมูลล่าสุดพบว่าไม่เพิ่มความรุนแรง สายพันธุ์บราซิล P.1 เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดิมพบว่าแพร่กระจายเร็วขึ้น และมีโอกาสติดเชื้อซ้ำ ส่วนสายพันธุ์ B.1.427 และ B.1.429 พบที่ในสหรัฐอเมริกา อาจจะสัมพันธ์กับการแพร่ระบาดง่ายขึ้น และสายพันธุ์อินเดีย B.1.617 พบในอินเดียซึ่งรายละเอียดของการติดต่อเชื้อยังน้อย

ในส่วนของการเฝ้าระวังและป้องกัน คณบดี ม.มหิดล กล่าวว่า ทั้งมาตรการทางบุคคล มาตรการทางสังคมและการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง 4 ประการ คือ บุคคลเสี่ยง สถานที่เสี่ยง กิจกรรมเสี่ยงและช่วงเวลาเสี่ยง และการระวังการลักลอบข้ามแดน ที่หลุดพ้นจากกระบวนการกักกัน เพราะการแพร่ระบาดที่รุนแรงในประเทศของตนเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดผู้ลักลอบข้ามแดนเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะนำโควิด-19 เชื้อกลายพันธุ์เข้าสู่ประเทศไทย และหลบซ่อนการสอบสวนโรค อีกทั้งมักย้ายที่อยู่อาศัยเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุมจึงกลายเป็นผู้กระจายเชื้อ

นพ.ประสิทธิ์ ยังได้กล่าวถึง คำเตือนขององค์การอนามัยโลก(WHO) เมื่อวันที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมา ว่ามีการเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงอุบัติการการติดเชื้อโควิด-19 และการเสียชีวิต ทั้งนี้มีการติดตามใน 8 สัปดาห์ต่อเนื่องที่พลโลกใหม่มีการติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นภายใน 5 สัปดาห์ ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 กว่า 3 ล้านคน แบ่งเป็น กลุ่มแรกใช้เวลาถึง 9 เดือน การเสียชีวิตรวม 1 ล้านคน กลุ่มที่สองใช้เวลา 4 เดือน มีการเสียชีวิตรวม 1 ล้านคน และกลุ่มที่สามใช้เวลาเพียง 3 เดือน มีการเสียชีวิตรวม 1 ล้านคน สะท้อนให้เห็นว่าเรากำลังเจอกับอุบัติการณ์โควิด-19 ที่ทำให้มีการเสียชีวิตเร็วขึ้น โดยมีปัจจัยหลายอย่าง อาทิ พบผู้ติดเชื้อในคนอายุน้อยลง องค์การอนามัยโลกเร่งให้ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนกระจายสู่คนให้เร็ว เพื่อให้ลดการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ดื่มกาแฟจากตู้กด เจอแมลงไม่รู้ตัว แพ้เกือบตาย
ตัวประกันในเงื้อมมือฮามาส เจรจากันถึงไหนแล้ว
“พาณิชย์” ลุยต่อ จัดธงฟ้าราคาประหยัด ลดภาระค่าครองชีพพี่น้องประชาชน จ.นครพนม
แล้งจัด ชุมชนโบราณ 300 ปีโผล่กลางเขื่อนฟิลิปปินส์
หลุดโผ!ปรับครม.เศรษฐา 2 ปลอบใจ "เจ๊แจ๋น" หาเก้าอี้ใหม่รองก้น "กุนซือนายกฯ"
"คณะก้าวหน้า" ไม่แยแสกฎเหล็ก "กกต." เดินหน้ารณรงค์หาแนวร่วมลงสมัครส.ว.ทำเป็นฟุ้งคงกลัว "ส.ว.ส้ม" พาเหรดเข้าสภาสูง
"ปคบ." ยันฟ้องศาลทุกคดี "นอท" เฉพาะค่าปรับเกือบ 2 ล้านไม่เข็ด ซิกแซกเปลี่ยนชื่อ "ลอตเตอรี่พลัส"ขายออนไลน์เร่งสอบเอาผิดเพิ่ม
สอบสวนกลาง รวบแก๊ง “ซ้อส้ม” ทวงหนี้เงินกู้โหดรุมซ้อมผู้เสียหายปางตาย
“สุริยะ” กดปุ่มเดินเครื่องหัวเจาะ “รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้” เริ่มทะลวงอุโมงค์ทางวิ่งรถไฟฟ้า ยันรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายมีแน่
ไม่รอด "ศาลฯนครโฮจิมินห์" สั่งคุก "เจ้าสัว" ธุรกิจเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ในเวียดนาม-ร่วมมือกับลูกฉ้อโกงพันล้าน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น