No data was found

หมอวรงค์ ร้องนายกฯ ตั้งกก สอบ ชัยวุฒิ-ปลัดดีอีเอส ปมไทยคม

กดติดตาม TOP NEWS

ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ฯ 6 ก.ย.-"วรงค์ เดชกิจวิกรม"  ร้อง นายกฯ ตั้งกรรมการสอบ ชัยวุฒิ-ปลัดดีอีเอส หลังไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกานักการเมือง ปมดาวเทียมไทยคม 4 สิ้นสุดสัญญา 10 ก.ย.

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รักษาการหัวหน้าพรรคไทยภักดี ยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กรณีการดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศจะหมดอายุในวันที่ 10 กันยายน 2564 ประกอบกับมีคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) และสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทอินทัชต่อบริษัทไทยคม ซึ่ง ป.ป.ช. แนะให้คณะรัฐมนตรี ควรกำหนดแนวทางให้เป็นไปตามคำพิพากษา

แต่ล่าสุด นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือดีอีเอส ได้ตอบฝ่ายค้านในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไม่ตรงตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศข้อที่ 15 เรื่องส่งมอบทรัพย์สิน เป็นการกระทำที่เอื้อประโยชน์กับ บริษัท ไทยคม จำกัด มหาชน ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย จึงขอเรียกร้องให้นายกฯ และคณะรัฐมนตรี นำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีก่อน 10 กันยายน และให้มีมติ ดังนี้

1.ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง รัฐมนตรีดีอีเอส และสอบสวนวินัยร้ายแรงปลัดกระทรวง ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือโดยทุจริตที่ไม่ได้ปฏิบัติไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาฯ มติคณะรัฐมนตรีและข้อเสนอแนะของ ป.ป.ช.

2.ให้กระทรวงดีอีเอสยกเลิกสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ฉบับที่ 5 ตามคำพิพากษาศาลฎีกาฯ และมติคณะรัฐมนตรี 22 กุมภาพันธ์ 2554 (ให้คงหุ้นอินทัชในบริษัทไทยคม ไม่น้อยกว่า 51%)

3.ให้กระทรวงดีอีเอส รวบรวมเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทไทยคม และบริษัทอินทัช ในกรณีบริษัทไทยคมที่ นำดาวเทียมไอพีสตาร์ไปใช้หาประโยชน์ต่างประเทศร้อยละ 94 เพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว

4.ให้กระทรวงดีอีเอส ตรวจสอบการส่งมอบดาวเทียม สถานีควบคุมดาวเทียม และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนลูกค้าให้เป็นไปตามเงื่อนไขข้อ 15 ของสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ

ทั้งนี้แม้ว่า กสทช. ชุดรักษาการ จะยกเลิกการประมูลสัญญาสัมปทานดาวเทียมไทยคม แต่ต้องติดตาม กสทช. ชุดใหม่ที่จะเข้ามาดำเนินการ โดยย้ำว่าดาวเทียมที่เป็นสมบัติของชาติต้องส่งมอบในรูปแบบของสัญญาสัมปทานเท่านั้น ไม่ใช่ระบบใบอนุญาต เพราะแม้จะให้เอกชนดำเนินการ แต่ทุกอย่างอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของรัฐทั้งหมด

ด้านนายเสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับเรื่องไว้ และกล่าวว่าจะรีบส่งให้นายกฯ ทันที เพราะสัญญาจะใกล้สิ้นสุด 10 กันยายนนี้แล้ว

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ตร.ไซเบอร์" บุกทลาย 2 เหมืองบิทคอยน์ ภาคตะวันตก ลักไฟหลวง 2 เดือน กว่า 5 ล้านบาท
"กกต." เตือน จูงใจ ชี้ชวนให้คนลงสมัครสว.เสี่ยงผิดกฎหมาย
ข่าวดี "นายกฯ" เผยยางพาราแตะ กก. 100 บาทเร็วๆนี้ ลั่นมาจากการทุ่มเททำงาน ไม่ใช่โชคช่วย
สอบสวนกลาง รวบ "หนุ่มดาวทวิต" ลวงเด็กชายถ่ายคลิปสร้างคอนเทนต์ ขายในกลุ่มลับ
จนท.ชุดลาดตระเวนกว่า 20 นาย เร่งติดตาม "แก๊งผ้าเหลือง" ลอบล่าสัตว์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
สอบสวนกลาง บุกค้นโรงงานรีไซเคิลพลาสติกเถื่อน ชลบุรี สร้างความเดือนร้อนให้ชุมชน
เปิดเบื้องลึก "รมว.ปุ๋ง" ถูกโยกนั่งวธ. รับงานใหญ่ ลุย Soft Power
สุดแปลก ควายเปลี่ยนสีได้ จากสีเผือกกลายเป็นสีดำทั้งตัว ปศุสัตว์ยันไม่ได้ป่วยหรือเป็นโรคผิวหนัง
"เอกสิทธิ์" ผงาด นั่งหน.พรรคพลังปวงชนไทย คนใหม่ พร้อมชูนโยบายทันสมัย ตอบโจทย์คนไทย
"นายกฯ" ลุยตรวจโรงงานสารเคมีระยอง จี้ถามอธิบดีกรมโรงงานลงพื้นที่ช้า สั่ง 5 ข้อแก้-เยียวยา ปชช.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น