No data was found

 ปชป.แนะรัฐกู้เพิ่มช่วยเยียวยาประชาชน -ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ต้องมาก่อน

กดติดตาม TOP NEWS

“ปริญญ์” หวั่นงบสู้วิกฤติโควิด-19 ไม่เพียงพอ หลังร่างงบปี 65 วาระ 3 ผ่านการลงมติของรัฐสภา ชี้ภาครัฐควรกู้เพิ่ม 1 ล้านล้านบาท พร้อมเร่งเบิกจ่ายเงินกู้ที่เหลืออยู่และปรับเพดานหนี้ให้เหมาะสม และเร่งเยียวยาประชาชน ฟื้นฟูเศรษฐกิจก่อน

วันที่ 28 ส.ค. – นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรค และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หลังจากที่ได้ติดตามการอภิปรายร่างงบประมาณปี 65 วาระสองและสามอย่างใกล้ชิด เข้าใจดีว่างบประมาณ 3.1 ล้านล้านบาทนั้นเกิดจากการที่ภาครัฐมีรายจ่ายมากขึ้น และไม่สามารถเก็บภาษีได้มากตามที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ต้องปรับลดงบในบางส่วนลง แต่ทีมเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์มีความเป็นห่วงว่างบประมาณดังกล่าวอาจไม่ตอบโจทย์กับช่วงวิกฤติโควิด-19 เพราะยังมีอีกหลายภารกิจที่ภาครัฐต้องเร่งขับเคลื่อนเพื่อเยียวยาทุกภาคส่วนให้ทันท่วงที ตรงจุด และเหมาะสม รวมถึงฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเดินหน้าได้อย่างเต็มที่

 

จึงอยากเสนอให้ภาครัฐเร่งกู้เงินเพิ่มเติมอีก 1 ล้านล้านบาท โดยอย่ากังวลเรื่องเพดานหนี้มากนัก เพราะเพดานหนี้สาธารณะยังสามารถขยายเพิ่มเติมได้อีกในภาวะวิกฤติที่เราไม่เคยเจอมาก่อน ไม่จำเป็นต้องกำหนดที่ 60% ของ GDP เสมอไป ตอนนี้หลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และหลายประเทศในยุโรป ก็มีเพดานหนี้ที่สูงกว่า 100% ดังนั้นควรปรับเพดานหนี้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์จะดีกว่า ประกอบกับตอนนี้ภาพรวมในด้านความเสี่ยงทางการคลังยังคงสมเหตุสมผล ภาคเศรษฐกิจไทยยังรองรับได้ และดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาวในช่วงนี้ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เหมาะสมที่จะกู้เพิ่มเติมเพื่อมาใช้ในยามจำเป็นที่สุดแล้ว หากตัดสินใจช้าหรือรอไปกู้ในอนาคต อาจต้องแบกรับภาระที่หนักขึ้น เพราะในปีหน้านั้นมีสัญญาณว่าดอกเบี้ยทางอเมริกาจะปรับตัวสูงขึ้น

 

นายปริญญ์ กล่าวต่อว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือการนำเงินมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด เพื่อการฟื้นฟูและเติบโตในระยะยาวของประเทศ โดยควรมีแผนการใช้เงินกู้ ดังนี้ 1.ใช้เยียวยากลุ่มคนที่ไม่ได้รับการเยียวยาอย่างตรงจุด หรือยังไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ตามที่ทางทีมเศรษฐกิจได้นำเสนอต่อศบค. ไปแล้วหลายครั้ง อาทิ กลุ่มอาชีพอิสระ อาชีพกลางคืน นักดนตรี ศิลปิน อีเว้นท์ ฟิตเนส หมอนวดแผนโบราณ ลูกจ้างในร้านอาหาร เป็นต้น เพราะถึงแม้จะมีมาตรการเยียวยาออกมาบ้างแล้ว แต่ยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับผลกระทบที่พวกเขาได้รับจากการโดนสั่งปิดกิจการอย่างยาวนาน 2. ฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วยการปรับโครงสร้างการผลิต เพิ่มผลิตภาพ (Productivity) รวมถึงการลงทุนในระบบหุ่นยนต์ (Automations) เพื่อนำไปสู่การเพิ่มรายได้ ต่อหัวของพี่น้องคนไทยและกลุ่มเศรษฐกิจไทยในระยะยาว เพื่อให้ก้าวทันนานาชาติ ควบคู่ไปกับการเร่งจัดซื้อวัคซีนที่มีคุณภาพมาให้คนไทยอย่างทั่วถึงเพื่อให้ธุรกิจกลับมาเปิดได้เป็นปกติในเร็ววันและสนับสนุนการพัฒนาการผลิตวัคซีนของไทยเราเอง

 

3. จัดสรรงบประมาณมาพัฒนาด้านการสร้างทุนมนุษย์ (Human Capital) เพื่อแก้ไขปัญหาการตกงาน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสร้างแรงงานฝีมือยุคใหม่ที่มีศักยภาพและขีดความสามารถสูงขึ้น เหมาะสำหรับการทำงานในยุคดิจิทัล หลังจากวิกฤตโควิด-19 ผ่านพ้นไปแล้ว การลงทุนเพื่อพัฒนาการศึกษาโดยเฉพาะกลุ่มปฐมวัยสำคัญมาก รวมถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ต้องปรับทักษะสมรรถนะผ่านการเทรนแบบใหม่ อาทิเช่นโครงการ เรียนจบพบงานที่ทีมเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ได้ทำเป็นกะบะทราย 4. การพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) และเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างรายได้จากธุรกิจยุคใหม่เช่น การเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า การบริหารจัดการขยะและพลังงานบริสุทธิ์ สินค้าเกษตรออินทรีย์เป็นต้น

 

นายปริญญ์ กล่าวอีกว่า 5. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานท้องถิ่น เนื่องจากเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนโดนกระทบหนักจากวิกฤติรอบนี้ ภาครัฐต้องมีแผนการกระจายอํานาจไปสู่ท้องถิ่นและสนับสนุนการเติบโตของวิสาหกิจชุมชน เช่นการสร้างแหล่งน้ำชุมชน ยกระดับระบบและคุณภาพการบริการของสาธารณสุขชุมชนเป็นต้น 6. การลงทุนในการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อบ่มเพาะนวัตกรรมและสร้างเทคโนโลยีใหม่ที่เราต้องใช้ในอนาคต ปัจจุบันสัดส่วนของการลงทุนนี้ยังต่ำกว่า 1% ของ GDP ซึ่งน่าเป็นห่วงถ้าเราไม่เร่งพัฒนา รัฐสามารถทำร่วมกับเอกชนและสร้างแรงจูงใจให้เอกชนลงทุนมากขึ้น

 

7. การสร้างรัฐบาลดิจิตอล (e-Government)ที่โปร่งใสและอำนวยความสะดวกให้ประชาชนมากขึ้น ตามที่ทางทีมเศรษฐกิจ ปชป เคยเสนอไปแล้วว่ารัฐบาลต้องนําร่องในการปฏิรูประบบรัฐราชการที่ล่าช้าและไม่ตอบสนองความต้องการของสังคมดิจิตอล ที่ควรมีการนําข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ (OpenGov) และปรับปรุงพัฒนากระบวนการทํางานของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ (GovTech) เพื่อบริการประชาชนได้ดีขึ้นและขจัดการทุจริตคอรัปชั่น รวมถึงการสังคยานากฎหมาย (Regulatory Guillotine) 8. การเข้ามามีบทบาทเชิงรุกที่จะสร้างกลไกสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยสินเชื่อ เพิ่มสภาพคล่องให้กับสตาร์ทอัพและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs เพื่อให้กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกและเป็นธรรมอย่างแท้จริงเพราะมาตราการ Soft Loans ตอนนี้ยังไม่ตอบโจทย์ อีกทั้งการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐต้องสนับสนุนสตาร์ทอัพและวิสาหกิจเพื่อสังคม (SE) ของคนไทย

 

“เมื่อครั้งที่รัฐบาลมีพ.ร.ก. เงินกู้เพิ่ม 5 แสนล้านคราวก่อน ทางทีมเศรษฐกิจทันสมัยพรรคประชาธิปัตย์ได้เคยแสดงความคิดเห็นไปแล้วว่างบประมาณเท่านั้นไม่เพียงพอกับการเยียวยาประชาชนและฟื้นฟูประเทศ ควรกู้อย่างต่ำ 1 ล้านล้านให้ครั้งเดียวจบ เพราะไม่ว่าจะเป็นการกู้เงิน หรือการปรับเพดานหนี้สาธารณะ ล้วนเป็นสิ่งที่รัฐบาลทำได้ในช่วงวิกฤตแบบนี้ แต่สิ่งสำคัญที่ต้องทำให้ได้คือการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด” นายปริญญ์ กล่าว

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"สพท." แตะมือ "สสส." ร่วมหนุนเสริมโครงการ Gig Worker กระทรวงแรงงาน หวังบรรเทาปัญหาปากท้อง "แรงงานอิสระ" สู้วิกฤตเศรษฐกิจเปราะบาง
สุดตื่นตา โขลงช้างป่าละอู กว่า 30 ตัว เล่นน้ำคลายร้อน นทท.แห่ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก
วิกฤตภัยแล้งน้ำแห้งคลองชาวสวนทุเรียนขาดน้ำ ผลผลิตร่วงเสียหายต้นทุเรียนตาย ต้องซื้อน้ำรดพอประทังผลผลิตที่เหลือ วอนภาครัฐเข้าช่วยเหลือและเยียวยา
รวบแล้ว ไอซ์ ห้วยยายพรม ก่อเหตุยิงปืนขึ้นฟ้า ลักรถชาวบ้าน ขณะนั่งไลฟ์สดเย้ยตำรวจ
กลุ่มติดอาวุธ จับทหารเมียนมาหลายร้อยนาย หลังโจมตี-ยึดพื้นที่ตะวันตกของรัฐยะไข่ได้สำเร็จ
สะเทือนใจเด็กชายวัย 12 ปี ถูกแม่เมาสุราใช้มีดขว้างใส่ถูกคมมีดบาดขาเป็นแผลได้รับบาดเจ็บ เพื่อนบ้านเกรงเด็กได้รับอันตรายจึงขอความช่วยเหลือมูลนิธิเป็นหนึ่ง
เมียนมา กลุ่มติดอาวุธจับทหารเมียนมาหลายร้อยนายที่รัฐยะไข่
"ภูมิธรรม" ลั่น "ชลน่าน" ยังอยู่ในใจเสมอ ย้ำ 3 รัฐมนตรีหลุดครม. ไม่ได้ลาออกจากเพื่อไทย
บลูมเบิร์กชี้จีนจะมีบทบาทมากที่สุดต่อเศรษฐกิจโลกในอีก 5 ปี
ทัพ ‘นักท่องเที่ยวจีน’ เยือนไทยปีนี้ ทะลุ 2 ล้านคนแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น