บ่าวสาวปลื้ม “โลมาเผือก” สุดหายาก อวดโฉมร่วมยินดีพร้อมฝูง 200 ตัว

โลมาเผือก, ลูกโลมาเผือก, โลมาปากขวดอินโดแปซิฟิก, ภาวะเผือกแท้, Albinism, Leucism, ยีนเผือก

เป็นปลื้ม "โลมาเผือก" สุดหายาก โผล่อวดโฉมร่วมยินดีบ่าวสาวพร้อมฝูงโลมากว่า 200 ตัว ที่อ่าว Algoa ในแอฟริกาใต้

ปลื้มแทนบ่าวสาว เมื่อ ลูก “โลมาเผือก” โผล่อวดโฉมพร้อมฝูงกว่า 200 ตัว ร่วมยินดี ขณะจัดงานฉลองวันแต่งงานบนเรือชมวาฬ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นตัวแรกในแอฟริกา ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

บ่าวสาวเป็นปลื้ม เมื่อกำลังล่องฉลองงานแต่งบนเรือ Raggy Charters ในอ่าว Algoa  ซึ่งเป็นจุดชมสัตว์ทะเลในอีสเทิร์นเคปของแอฟริกาใต้ บังเอิญพบลูก “โลมาเผือก” สุดหายาก พร้อมฝูงโลมาปากขวดอินโดแปซิฟิกกว่า 200 ตัว ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นตัวแรกในแอฟริกา

จากการประเมินรูปภาพเบื้องต้น ผู้เชี่ยวชาญเผยว่าบอกว่า ลูกโลมาตัวนี้น่าจะมีอายุประมาณ 1 เดือน มีความยาวประมาณ 1 เมตร (3.3 ฟุต) และคาดว่าน่าจะเป็นภาวะเผือกแท้ แต่ต้องมีการยืนยันอีกทีจากการตรวจสอบทางพันธุกรรมอีกที (หากทำได้) เนื่องจากเป็นยากที่จะบอกได้จากภาพถ่ายเพียงอย่างเดียว

 

โลมาเผือก, ลูกโลมาเผือก, โลมาปากขวดอินโดแปซิฟิก, ภาวะเผือกแท้, Albinism, Leucism, ยีนเผือก

 

Albinism เป็นภาวะทางพันธุกรรม ไม่ผลิตเม็ดสีเมลานิน ซึ่งให้สีผิว ขน ขนนกและดวงตา เป็นผลให้สัตว์เผือกมีสีขาวและมีดวงตาสีชมพู ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ ทำให้สัตว์เหล่านี้มีความไวต่อแสงมากกว่าปกติ และมักถูกเข้าใจผิดกับ Leucism ที่เป็นภาวะเผือกคล้ายกัน (แต่ไม่แท้) ที่ยังผลิตเม็ดสีอยู่แต่เซลล์ไม่ตอบสนอง

ซึ่งกรณีนี้ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญยังไม่สามารถระบุได้ว่า ลูกโลมาตัวนี้เป็นภาวะเผือกแท้หรือไม่แท้ เนื่องจากไม่เห็นตาของน้อง ดังนั้น สิ่งที่ยืนยันได้ชัดเจนที่สุด ก็คือ การตรวจ DNA นั่นเอง

 

โลมาเผือก, ลูกโลมาเผือก, โลมาปากขวดอินโดแปซิฟิก, ภาวะเผือกแท้, Albinism, Leucism, ยีนเผือก

Erich Hoyt นักวิจัยจากศูนย์อนุรักษ์วาฬและโลมา (WDC) ในสหราชอาณาจักรเผยว่า ภาวะเผือก พบได้น้อยมากในธรรมชาติ เนื่องจาก โอกาสการรอดชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่มีภาวะนี้มักจะต่ำมาก เพราะ ภาวะนี้ทำให้สัตว์เหล่านี้สายตาไม่ดี ประกอบกับสีสรรที่สะดุดตานักล่า พรางตัวไม่ได้ ทำให้มีโอกาสรอดในธรรมชาติต่ำนั่นเอง

แต่สำหรับลูกโลมาตัวนี้ ถ้าน้องสามารถมีชีวิตรอดไปอีกสัก 2-3 เดือนข้างหน้า คาดว่า ภาวะเผือกน่าจะไม่ส่งผลกระทบกับน้อง เนื่องจาก ไม่มีอะไรมาล่าน้องได้ นอกจากออร์ก้า (วาฬเพชฌฆาต) หรือฉลามขนาดใหญ่เท่านั้น และโลมาเองก็ไม่ได้ใช้สายตาในการดำเนินชีวิตมากนัก เพราะ โลมาจะใช้เสียงในการสื่อสารและล่าสัตว์

 

โลมาเผือก, ลูกโลมาเผือก, โลมาปากขวดอินโดแปซิฟิก, ภาวะเผือกแท้, Albinism, Leucism, ยีนเผือก

 

นอกจากนี้ น้องยังมีแนวโน้มที่จะมีลูกโลมาปกติได้ในอนาคต เว้นแต่ว่าคู่ของน้องจะมียีนเผือกเช่นกัน อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพบ “โลมา เผือก” อายุน้อย ในเดือนมิถุนายน 2017 มีการพบเห็นโลมาเผือกอายุ 3 ปี (Grampus griseus) ว่ายน้ำกับแม่ในอ่าวมอนเทอเรย์ของแคลิฟอร์เนีย ซึ่งตอนนี้ก็ยังมีสุขภาพแข็งแรงอยู่

ข้อมูล : livescience และ Raggy Charters – Marine-Eco Cruises

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"รมว.เกษตรฯ" แจ้งข่าวดี GACC เชื่อมั่นมาตรฐานไทย แจ้งลดระดับการสุ่มตรวจ สาร BY2 ทุเรียนส่งออกจีน เริ่มมีผล 10 พ.ค.นี้
"สภาวิศวกร" เผยพบผู้ประกอบวิชาชีพ 2-3 ราย ส่อผิดจรรยาบรรณ เหตุ สตง.ถล่ม เร่งรวบรวมข้อมูลใหชัด
จีนเตือนสหรัฐฯแสดงความ 'จริงใจ'ในการคุยดีลการค้า
“ดนุพร” ลั่นไม่เคยพูด “ทักษิณ” ป่วยวิกฤต แจงยิบถามนายกฯแล้ว ภาพใส่เฝือกคอ-คล้องแขน
"ดีเอสไอ" ลงนามด่วนถึง "ผบ.ตร.-ปลัด มท." พร้อมร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วสว.
ผู้ว่าแบงก์ชาติ เตือนศก.ไทย “จ่อปากเหว” เจรจาภาษีสหรัฐยังไม่ชัด แนะรัฐบาลเร่งปรับโครงสร้าง- คุมสินค้าตปท.ทะลัก-ทบทวนมาตรการแจกเงินหมื่น
เปิดเอกสารเต็มหมายเรียก "สว.อลงกต" รับทราบข้อหาคดีฮั้วเลือกสว. เจ้าตัวไม่อยู่ห้อง นิติคอนโดฯ รับเอกสารไว้แทน
ปูตินสวมกอดทหารเกาหลีเหนือในพิธีสวนสนาม
"วิรังรอง" คาใจแพทย์รพ.ราชทัณฑ์ โดนโทษแค่ตักเตือน ทั้ง ๆ เป็นต้นเหตุปัญหาชั้น 14
รัสเซียฉลองวันชัยชนะครบรอบ 80 ปียิ่งใหญ่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น