มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ร่วมกับสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ,มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ,คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย หรือ ครป. ,ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย หรือ YPD ,สถาบันสังคมประชาธิปไตย ,คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ได้ร่วมลงชื่อสางจดหมายเปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกา เรื่อง ข้อห่วงกังวลเรื่องความเป็นอิสระของผู้พิพากษา กรณีการประกันตัว ถอนประกันและอนุญาตให้ถอนประกันผู้ต้องหา นักกิจกรรมทางการเมือง เก็ท ใบปอ ตะวันและแบม
กลุ่มองค์กรหนุนม็อบ ส่งจดหมายกดดันปธ.ศาลฏีกา กังวลความเป็นอิสระของผู้พิพากษา จี้แก้เงื่อนไขคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวนักโทษการเมือง ซัดบะเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง
ข่าวที่น่าสนใจ
โดยรายละเอียดประเด็นสำคัญของจดหมายฉบับนี้ ได้อ้างว่มขณะนี้มีถูกขังก่อนและในระหว่างพิจารณาคดีในชั้นศาล จำนวนกว่า 15 คน โดยศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวหรือประกันตัว บางคนถูกกักขังมาแล้ว 300 กว่าวัน บางกรณีได้รับการอนุญาตให้ประกันตัว แต่ต้องยอมรับเงื่อนไขติดอุปกรณ์ติดตามตาม หรือ EM และบางคนถูกกำหนดเงื่อนไขห้ามออกจากบ้าน 24 ชั่วโมง และมีข้อกำหนดอื่นๆในการจำกัดสิทธิเสรีภาพอีกมากมาย
พร้อมอ้างรัฐธรรมนูญมาตรา 29 ที่บัญญัติว่า ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด แสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ และการควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี ดังนั้นการกำหนดหลักประกันและเงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวนั้น มีลักษณะที่ขัดกับหลักการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง และพวกเขาไม่ได้มีพฤติกรรมที่จะหลบหนี อีกทั้งยังมีเงื่อนไขประกอบกันที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของพวกเขาอย่างร้ายแรง และขัดกับหลักความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนด้วย เป็นสิ่งที่พวกเขารับไม่ได้ จึงแสดงออกถึงการไม่ยอมรับตามวิถีทางประชาธิปไตย
เมื่อการใช้อำนาจของผู้พิพากษาคนที่ไม่เป็นธรรม การที่กระบวนการยุติธรรมและกฎหมายไทยมีข้อจำกัดหรือบิดเบือนไป จึงขอให้ท่านในฐานะประธานของฝ่ายตุลาการดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราว การกำหนดหลักประกันและเงื่อนไข การถอนการประกันตัวอย่างเร่งด่วน เพื่อเรียกความเชื่อมั่นของประชาชนและประชาคมนานาชาติต่อฝ่ายตุลาการ ซึ่งเป็นเสาหลักของกระบวนการยุติธรรมไทยกลับมา เพื่อให้ฝ่ายตุลาการสามารถมีบทบาทในการตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหาร คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน อำนวยความยุติธรรม ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและนำมาซึ่งสันติสุขและการพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมได้อย่างแท้จริง ตามหลักการของสังคมประชาธิปไตยต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดตรวจสอบและแก้ไขคำสั่งเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหาและจำเลยในคดีการเมืองดังกล่าวอย่างเร่งด่วน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-