No data was found

คกก.ฉก.เตรียมพร้อมรับมือวิกฤต 4 ด้าน กระทบพลังงาน-สงครามรัสเซีย ยูเครน

กดติดตาม TOP NEWS

คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ ประชุมเตรียมพร้อมรับมือวิกฤต ใน 4 ด้าน รองรับวิกฤตพลังงาน และสงครามความขัดแย้งรัสเซีย ยูเครน พร้อมทั้งเตรียมมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือประชาชน

วันที่ 11 ส.ค.65 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ แถลงผลการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ ครั้งที่ 1/2565 โดยพลเอก ประยุทธั จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เห็นชอบแนวทางเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ในระดับวิกฤตเศรษฐกิจ ผ่านมาตรการระยะเร่งด่วน (Quick win) และมาตรการที่ต้องเร่งดำเนินการต่อเนื่อง (Follow-up Urgent Poliy) เพื่อรองรับสถานการณ์ในระดับวิกฤตเศรษฐกิจ โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์
สถานกรณ์วิกฤตเศรษฐกิจพิจารณากำหนดรายละเอียดมาตรการ และเสนอคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

นายกฤษฎา กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการประเมินสถานการณ์ต่างๆที่มีโอกาสกลายเป็นวิกฤต พร้อมทั้งมีแผนรองรับสถานการณ์ ใน 4 ด้าน 1.วิกฤตต้นทุนพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ 2.วิกฤตการเพิ่มขึ้นของตันทุนการผลิตและการขาดแคลนวัตถุดิบด้านการเกษตร 3.วิกฤตการเงินภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ SMES และ 4.วิกฤตเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจและการลดลงของขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมทั้งได้เสนอแนวทางที่ควรจะดำเนินการในระยะสั้นและระยะยาวให้ที่ประชุมรับทราบ

ขณะที่ วิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัว จากวิกฤตราคาพลังงาน เงินเฟ้อในครึ่งปีแรกยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และคาดว่า จะชะลอตัวลงในครึ่งปีหลัง และการขึ้นดอกเบี้ยที่ยังปรับตัวต่อเนื่อง

ส่วนเศรษฐกิจไทย ในไตรมาสที่ 2 ยังปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสแรก โดยมีแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายการบริโภคภาคเอกชนภายในประเทศ การท่องเที่ยว การส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ประชุมได้มีการประเมินสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน โดยได้กำหนดฉากทัศน์ 3 แบบ 1.ในกรณีความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ยังยืดเยื้อ แต่มาตรการตอบโต้ทางเศรษฐกิจ ระหว่างรัสเซีย กับสหรัฐ มีลักษณะทรงตัว ถ้าเป็นกรณีนี้ เศรษฐกิจยังขยายตัวได้ตามการประมาณการณ์ไว้ โดยสภาพัฒน์ฯประเมินจีดีพี ปี 65 ที่ 2.5-3.5% กระทรวงการคลัง ประเมินจีดีพีที่ 3.5% ธนาคารแห่งประเทศไทย ประเมินจีดีพีที่ 3.3% ส่วนปี 66 ยังคาดว่า เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้น

 

ข่าวที่น่าสนใจ

2.ในกรณีความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ยังยืดเยื้อ แต่มาตรการตอบโต้ทางเศรษฐกิจ ระหว่างรัสเซีย กับสหรัฐ ทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้อุปสงค์ อุปทานน้ำมันและพลังงานในตลาดโลกปรับตัวไม่ทัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง อาจทำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวต่ำกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ และทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวได้ และกรณีที่อาจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปีหน้า ขยายตัวได้ต่ำกว่าที่ประมาณการณ์ไว้เล็กน้อย

3.ในกรณีความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ยังยืดเยื้อ และขยายขอบเขตความขัดแย้งชัดเจน เป็นฝั่งตะวันตก กับรัสเซียและจีน ถ้าเป็นกรณีนี้ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยสูงขึ้น

ด้านนายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคสัง ในฐานะอนุกรรมการและเลขานุการคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ ยืนยันว่า สิ่งที่รัฐบาลดำเนินการได้ต่อเนื่อง สามารถรองรับวิกฤตได้ แต่จำเป็นต้องเตรียมความพร้อม และรัฐบาลให้ความสำคัญเรื่องของต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพลังงาน วัตถุดิบ หรืออาหาร ให้ความมั่นใจว่า จะไม่ขาดแคลน แต่ระดับราคารัฐบาลพยายามเข้าไปดูแลไม่ให้กระทบกับประชาชน

ทั้งนี้ นายพรชัย กล่าวว่า มีหลายมาตรการที่ดำเนินการอยู่ เช่น การช่วยเหลือค่าน้ำมันให้กับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง 250 บาทต่อเดือน ช่วยเหลือผู้ขับรถแท็กซี่ภายใต้โครงการลมหายใจเดียวกัน การลดภาระค่าไฟฟ้า รวมถึงค่าก๊าซ ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะสิ้นสุดมาตรการภายใน 1-2 เดือนนี้ รัฐบาลได้มอบหมายให้ไปพิจารณาต่อว่าจะดำเนินการอย่างไร เนื่องจากสถานการณ์บางส่วนเปลี่ยนแปลงไป เช่น ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ซึ่งทางอนุกรรมฯจะไปหารือร่วมกับกระทรวงพลังงานต่อไป

ทั้งนี้ ด้านวัตถุดิบด้านการเกษตร เช่น ปุ๋ยและอาหารสัตว์ยังไม่ขาดแคลน แต่มีราคาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สินค้าเกษตรบางรายการ มีราคาขายที่ต่ำกว่าต้นทุน หรือภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ SMEs พบว่าหนี้ครัวเรือนเริ่มลดลงตามการเพิ่มขึ้นของรายได้ แต่รายจ่ายครัวเรือนยังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในหมวดค่าโดยสาร ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง จึงต้องไปดูมาตรการที่จะให้ความช่วยเหลือประชาชนต่อไป

 

สำหรับมาตรการที่จะดำเนินการต่อไป ประกอบด้วย มาตรการระยะเร่งด่วน (Quick win) ได้แก่ 1.ในพรก.ซอฟโลนด์ของธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีการเพิ่มขอบเขตการให้สินเชื่อ เพื่อปรับเปลี่ยนการผลิตและเทคโนโลยี 2.มาตรการประหยัดพลังงาน ขอความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน และการควบคุมราคาพลังงาน 3.การลดภาระการเดินทางสาธารณะ ด้วยการออกบัตรโดยสารตั๋วเดือน สำหรับรถไฟฟ้า รถใต้ดิน รถเมล์ ซึ่งกระทรวงคมนาคมพร้อมดำเนินการ และ 4. การบริหารจัดการปุ๋ย เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคเกษตร และมาตรการที่ต้องเร่งดำเนินการต่อเนื่อง (Follow up Urgent Polig) มาตรการที่ต้องเร่งดำเนินการต่อเนื่อง (Follow-up Urgent Policg)

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจพิจารณากำหนดรายละเอียดมาตรการระยะเร่งด่วน (Quick win) และเสนอคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจพิจารณาให้ความเห็นซอบก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

การรับประทานอาหารและเก็บรักษาอย่างถูกวิธี ในช่วงฤดูร้อน
ชาวประมงช็อกขับเรือออกหาปลาพบศพไม่มีหัวลอยกลางทะเล
นายก ส.ไก่ เตือนคนไทยใช้จ่ายประหยัดหลังไม่พบสัญญาณบวกด้าน ศก.แม้รัฐประกาศขึ้นค่าแรง
ผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรม ฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ เข้าร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษและการประชุมใหญ่สามัญสมาชิกหอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา ครั้งที่ 58 ประจำปี 2567
สหรัฐอนุมัติเงินฉุกเฉิน สนองเหตุสะพานบัลติมอร์ถล่ม
Tomorrowland ปฏิเสธข่าวจัดคอนเสิร์ตเมืองไทย
“อ.ไชยันต์” จัดอีกชุด เบิกเนตร “ส.ศิวรักษ์” กางข้อมูลประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ 2475 อย่าเข้าใจอะไรผิด ๆ
"อดีตบิ๊กข่าวกรอง" เสียงแข็ง ไม่เชื่อมีดีลลับ ต้องเอาแดงมาจัดการส้ม เพราะเห็นอยู่ใครเน่าใน
"เสมา1" นำถกบอร์ดก.ค.ศ.เคาะปรับเงินเดือนใหม่ขรก.ครูทั่วประเทศ
จีนยกเลิกกำแพงภาษีไวน์ออสเตรเลีย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น