เตรียมพบ “วันครีษมายัน 2565” 21 มิ.ย. กลางวันยาวนานที่สุด

วันครีษมายัน 2565 วันที่กลางวันยาวที่สุด 2565

เตรียมพบ "วันครีษมายัน 2565" ในวันที่ 21 มิถุนายนนี้ ปรากฏการณ์ช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี รวมเวลาดวงอาทิตย์อยู่บนท้องฟ้า 12 ชั่วโมง 56 นาที

“วันครีษมายัน 2565” วันที่กลางวันยาวที่สุด 2565 21 มิถุนายน 2565 เป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ธรรมชาติที่หลายคนรอชมอยู่ไม่น้อย โดยทางด้าน NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความแจ้งข่าวว่า 21 มิถุนายน ที่จะถึงนี้ จะเป็นวันที่เรียกว่า ‘ครีษมายัน’ วันที่มีช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี รวมเวลาดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่บนท้องฟ้าประมาณ 12 ชั่วโมง 56 นาที เลยทีเดียว ติดตามเรื่องราวเหล่านี้ที่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“วันครีษมายัน 2565” โดยทางด้านเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความว่า วันที่ 21 มิถุนายน 2565 ที่จะถึงนี้ เป็นวัน ‘ครีษมายัน’ (ครีด-สะ-มา-ยัน) (Summer Solstice) ช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี ‘Solstice’ เป็นภาษาอินโดยูโรเปียน คำว่า ‘Stice’ หมายถึง สถิต หรือ หยุด ดังนั้น Summer Solstice จึงหมายถึงวันที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึงจุดหยุด หรือจุดสุดทางเหนือ

 

 

วันครีษมายัน 2565 วันที่กลางวันยาวที่สุด 2565

 

 

แต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏในตำแหน่งต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปทางเหนือเรื่อย ๆ และจะหยุดที่จุดเหนือสุดในวันที่ 21 มิถุนายน จากนั้นจะค่อย ๆ เคลื่อนลงมาทางใต้ ในวันดังกล่าวดวงอาทิตย์จะขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด จึงทำให้มีช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูร้อนของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศทางซีกโลกใต้

 

 

วันครีษมายัน 2565 วันที่กลางวันยาวที่สุด 2565

 

 

 

สำหรับประเทศไทย ในวันที่ 21 มิถุนายน 2565ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 05:51 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18:47 น. รวมเวลาที่ดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่บนท้องฟ้าประมาณ 12 ชั่วโมง 56 นาที ใน 1 ปีที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะเกิดปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น – ตก ของดวงอาทิตย์ทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่
  • วันครีษมายัน – วันที่กลางวันยาวนานที่สุด
  • วันเหมายัน – วันที่กลางคืนยาวนานที่สุด
  • วันวสันตวิษุวัตและวันศารทวิษุวัต – วันที่มีช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน

 

ปรากฏการณ์ถัดไปที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น – ตกของดวงอาทิตย์ ได้แก่ ‘วันศารทวิษุวัต’ (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) (Autumnal Equinox) ตรงกับวันที่ 23 กันยายน 2565 เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกและตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกพอดี ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน สำหรับประเทศทางซีกโลกเหนือ ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้เปลี่ยนสู่ฤดูใบไม้ผลิ

 

 

วันครีษมายัน 2565 วันที่กลางวันยาวที่สุด 2565

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อนุทิน" รับคำขอโทษ "ผู้ว่าฯปราจีนบุรี" นำพวงมาลัยไหว้ ปมตั้งที่ปรึกษาต่างชาติ ลั่นจากนี้คงไม่มีใครทำอีก
2 พิธีกรดัง "ดำรง พุฒตาล-ต๊ะ นารากร" เข้าแจ้งความเอาผิด ผู้เกี่ยวข้อง "ตึกสตง."ถล่ม หวั่นเวลาผ่านไปเรื่องเงียบ
นักวิชาการกฎหมาย มองต่าง อธิบดีอัยการ ภาค 6 พลิกไม่สั่งฟ้อง "ดร.พอล" ถามกลับ ผตห.ทำผิดตาม “โครงสร้างความรับผิดทางอาญา” หรือไม่
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) โดรนพันลำโชว์เรื่องราว 'อวกาศจีน' กลางผืนฟ้า
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) เซี่ยงไฮ้เปิดให้บริการทัวร์เฮลิคอปเตอร์ครั้งแรก
"ตำรวจพัทยา" ลุยกวาดล้างผู้ลักลอบขายน้ำกระท่อม ริมหาดจอมเทียน
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนเปิดตัวเครื่องซื้อขายทองคำอัตโนมัติที่ซูโจว
"กทพ." โร่ชี้แจงความจริง เหตุก้อนปูนตกใส่รถ บนถนนบางนา พร้อมกางหลักฐานฝีมือคนทำ
เหตุการณ์สุดสลด "พ่อพาลูก-หลาน" ไปเล่นน้ำชี สุดท้ายจมน้ำดับ 3 คน
"อุตุฯ" เตือน 43 จังหวัด โดนฝนถล่มหนัก-ลมกระโชกแรง กทม.ร้อยละ 40 ของพื้นที่ 

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น