No data was found

“อัลไซเมอร์” 5 สัญญาณเตือน รู้ให้ทันก่อนเผชิญภาวะสมองเสื่อม

อัลไซเมอร์

กดติดตาม TOP NEWS

"อัลไซเมอร์" โรคที่มักพบในผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิด 5 สัญญาณเตือน รู้ให้ทันก่อนเผชิญภาวะสมองเสื่อม พร้อมแนะ 3 วิธีป้องกัน

“อัลไซเมอร์” โรค อั ล ไซ เม อ ร์ สาเหตุ โรค อั ล ไซ เม อ ร์ วิธี รักษา โรค อั ล ไซ เม อ ร์ เกิด จาก โรคอัลไซเมอร์ Alzheimer มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม มีอาการหลง ๆ ลืม ๆ นั่นเอง งานนี้ทางด้าน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงได้ออกมาให้ความรู้ เปิด 5 สัญญาณเตือน พร้อมแนะ 3 วิธีป้องกัน ติดตามได้ที่นี่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“อัลไซเมอร์” โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า โรคนี้เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะสมองเสื่อม และเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด โดยความชุกของโรคจะเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ พบความชุกร้อยละ 10-15 ในประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปี และพบร้อยละ 20-30 ในประชากรที่อายุมากว่า 80 ปี สาเหตุของโรคนี้ คือ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมองจนบางส่วนของสมองทำหน้าที่ลดลง เกิดการฝ่อ ทำให้กระทบกับการทำงานของสมองส่วนนั้น และแสดงอาการต่าง ๆ ออกมา เช่น หลงลืม ถามซ้ำ ๆ ฯลฯ อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรคอัลไซเมอร์ มีการศึกษาพบว่าในสมองของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มีการสะสมของโปรตีนบางชนิด เช่น อะไมลอยด์ (amyloid) และ ทาว (tau) มากกว่าปกติ

 

 

อัลไซเมอร์

 

 

ผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านความจำเป็นอาการหลัก ผู้ป่วยจะไม่สามารถจดจำ และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ จึงมักจะลืมว่าวางของไว้ที่ไหนทั้งที่พยายามจำ ถามซ้ำ ๆ พูดซ้ำ ๆ เป็นต้น เมื่อโรคดำเนินไปจะทำให้เกิดความบกพร่องของการรู้คิดด้านอื่นร่วมด้วย เช่น หลงทาง คิดเลขไม่ได้ ไม่สามารถจัดการกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานได้เอง มีปัญหาด้านอารมณ์ ปัญหาพฤติกรรม และความผิดปกติทางจิตตามมา เช่น หงุดหงิด เฉื่อยชาและเฉยเมย ขาดการยับยั้งชั่งใจ มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน เป็นต้น

 

 

อัลไซเมอร์

 

 

 

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงออกมาให้ความรู้ เปิด 5 สัญญาณเตือน ได้แก่

  • หลง ๆ ลืม ๆ ความจำแย่ลง จำสิ่งที่เพิ่งเกิดไม่ได้ ถามซ้ำ ๆ พูดซ้ำ ๆ
  • การรับรู้คลาดเคลื่อน จำเส้นทางกลับบ้านไม่ได้ เดินหลงในสถานที่ที่คุ้นเคย
  • ลืมคนคุ้นเคย ลืมวันและเวลา ลืมคนใกล้ตัว เช่น ลูก สามี ภรรยา สับสนระหว่างกลางวันกับกลางคืน
  • มีปัญหาเรื่องการใช้ภาษา นึกคำพูดไม่ออก เขียนไม่ถูก เรียกของที่ใช้ประจำไม่ได้
  • บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง แสดงออกทางอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม

 

วิธีการป้องกัน

  • ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ถ้ามีโรคเรื้อรังที่เป็นปัจจัยเสี่ยงกับหัวใจและหลอดเลือด เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ ความดันโลหิตสูง ควรควบคุมโรคประจำตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ดูแลสุขภาพใจ ทำจิตใจให้สดชื่น เบิกบาน ไม่เครียด ไม่ซึมเศร้า
  • สุขภาพสังคมต้องดี ควรมีเพื่อน ทั้งเพื่อนต่างวัย และเพื่อนวัยเดียวกัน

 

 

อัลไซเมอร์

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

หลวงพ่อใหญ่วัดห้วยสูบไม่แผ่วให้โชคอย่างต่อเนื่อง
ระทึก กระบะยางแตกชนเสาไฟเจ็บยกคันรวม 8 ราย มีเด็ก 3 ขวบเจ็บด้วย
ตำรวจพัทยา รวบโจ๋ 17 ชักปืนคู่คู่อริวันสงกรานต์ สารภาพเคยปืนตบอริ ริมหาดจอมเทียน
อันวาร์ ชี้อิหร่านโจมตีอิสราเอล "ชอบธรรม"
กราบหัวใจ จนท.บาดเจ็บ แข็งใจสู้ขับรถฉุกเฉิน รุดช่วยผู้ประสบอุบัติเหตุ
เกาหลีใต้รำลึก 10 ปีโศกนาฏกรรมเรือเซวอล
นองเลือด! บุคคลปริศนากระหน่ำยิง กลุ่มวัยรุ่นโดนลูกหลง ตาย 1 เจ็บ 3 ล่าสุด ตร.ทราบตัวคนร้ายแล้ว
ตร.ทางหลวงจัดกำลังอำนวยความสะดวก หลังเส้นทางเลี่ยงถนนสายเอเชีย รถหนาแน่น มุ่งหน้าเข้ากทม.
"นิ้วขาด" สุดสยองแต่ต้องมีสติ 4 ข้อเก็บรักษาส่วนขาดต่อคืนได้
"ปู่จ๋าน" แร็พเปอร์ดัง เล่าอุทาหรณ์ชีวิต หลังป่วยหนักจนต้องเข้าไอซียู

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น