No data was found

“กัญชา” 8 ข้อสำคัญ ที่สายเขียวต้องรู้! หากจะนำมาทำอาหาร

กัญชา, ช่อดอกกัญชา, ใบกัญชา, อ.เจษฎ์, อาหารใส่กัญชา, ใบสด, มึนเมา, สาร CBD, สาร THC

กดติดตาม TOP NEWS

"กัญชา" ทำพิษ หลายคนมึนเมาหนักจากการทานอาหารที่มีส่วนผสม ชาวเน็ตสุดงง ตกลงทำอาหารได้จริงไหม อ.เจษฎ์ ยืนยันทำได้จริง แนะ 8 ข้อควรรู้ก่อนทำอาหาร

“กัญชา” จากเคสทีมงานนักข่าวชื่อดังมีอาการมึนเมาจากการทานคุกกี้กัญชากันไป ทำให้ชาวเน็ตเกิดความสงสัย จริง ๆ แล้ว กัญชาสามารถนำมาทำอาหารได้จริงหรือ? แล้วมีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง? อ.เจษฎ์ คอนเฟิร์มแล้ว ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

“กัญชา” ยังคงเป็นประเด็นที่ชาวเน็ตยังคงถกเถียงอยู่เนื่อง โดยเฉพาะเมนูอาหารที่พืชดังกล่าวลงไปเป็นส่วนผสม เผยหลายเคสมีอาการมึนเมาเหมือนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชาวเน็ตสงสัย สรุปกินได้จริงไหม? ล่าสุด อ.เจษฎ์ หรือ หรือ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์  ออกมาเผยข้อมูลชัด ๆ ชี้แจงผ่านเพจ Facebook อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ โดยระบุว่า
กัญชา, ช่อดอกกัญชา, ใบกัญชา, อ.เจษฎ์, อาหารใส่กัญชา, ใบสด, มึนเมา, สาร CBD, สาร THC
หลังจากที่กัญ ชาถูกปลดออกจากรายชื่อสิ่งเสพติดของประเทศไทยไปแล้ว และมีคนนำมาอุปโภคบริโภคกันมากขึ้น โดยเฉพาะในการนำมาประกอบอาหาร จนทำให้เริ่มมีข่าวของผู้ที่รับประทานอาหารที่ใส่กัญ ชาลงไปแล้วเกิดอาการป่วย ตั้งแต่ไม่มากไปจนถึงกับรุนแรง ตามแต่ระดับการแพ้ของแต่ละคน เลยขอสรุปข้อแนะนำจากทางศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) ที่เกี่ยวข้องกับการนำมาประกอบอาหารและเครื่องดื่ม ดังต่อไปนี้ครับ
  • ไม่ควรใช้ ช่อดอกกัญชา เพราะ มีสาร THC ทีเอชซี ที่ฤทธิ์มึนเมาสูง รวมทั้งไม่ควรใส่ส่วนอื่น เช่น กิ่ง ก้าน ลำต้น ราก ลงไปด้วย (ให้ใช้แต่ใบเท่านั้น)
  • อาหารประเภท ต้ม ผัด แกง ทอด ให้ใช้ใบสด ใส่ได้ไม่เกิน 1-2 ใบ/เมนู เพราะ ถ้าใช้มากเกินไป จะมีผลข้างเคียงหรือนำไปสู่การเสพติดได้
  • ร้านค้าที่ประกอบอาหาร หรือทำผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสม ต้องเขียนบอกผู้บริโภคให้ชัดว่า อาหารนั้นมีกัญ ชาเป็นส่วนประกอบ เพราะ มีหลายคนที่แพ้ และไม่ใช่ว่าทุกคนจะชอบรสชาติ

 

 

 

กัญชา, ช่อดอกกัญชา, ใบกัญชา, อ.เจษฎ์, อาหารใส่กัญชา, ใบสด, มึนเมา, สาร CBD, สาร THC

  • ห้ามไปโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่าอาหารที่ใส่กัญ ชานั้น มีสรรพคุณรักษาหรือป้องกันโรคได้ ถ้าไม่ได้อยู่ในความดูแลของแพทย์ที่รักษาโรคด้วยกัญ ชา
  • เด็ก เยาวชน คนที่อายุต่ำกว่า 25 ปี สตรีมีครรภ์และให้นมลูก ไม่ควรกินอาหารที่มีส่วนผสมเพราะ เสี่ยงที่จะได้รับอันตรายต่อสุขภาพ
  • คนที่แพ้สาร THC หรือแม้แต่สาร CBD หรือสารอื่น ๆ ในกัญ ชา จะต้องไม่บริโภค เพราะ อาจจะเสี่ยงอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้
  • คนที่บริโภคไปแล้ว ไม่ควรขับขี่รถ หรือทำงานกับเครื่องจักรกล เพราะ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเช่นกัน
  • หากจำเป็นต้องกินหรือใช้กัญ ชา ควรจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

ข้อแนะนำเพิ่มเติม

  • หลีกเลี่ยงการใช้กัญ ชาในรูปแบบสูบ เพราะ ควันจาก “กัญชา” เป็นอันตรายกับปอดและระบบทางเดินหายใจ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ ช่อดอก กัญ ชา เพราะ มีสาร delta-9-THC ความเข้มข้นสูง ทำให้เกิดพิษต่อสมอง จิตประสาท ระบบการเคลื่อนไหว และทำให้เกิดการดื้อต่อสารหรืออาการเสพติดได้
  • คนที่มีโรคประจำตัวทางกายและใจ ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ เพราะ อาจกระตุ้นทำให้โรคมีอาการมากขึ้น หรือไปทำอันตรกิริยากับยารักษาโรคที่ใช้อยู่ จนกระทบกับการรักษาได้
  • หากต้องการครอบครอง เช่น ปลูก ขาย หรือไว้ใช้ในครัวเรือน ควรจดแจ้งให้ถูกต้อง และเก็บต้นกัญ ชาให้พ้นสายตาคน โดยเฉพาะเด็ก-เยาวชน
  • ให้ครู ผู้ปกครอง ทำความเข้าใจกับเด็กและเยาวชน ถึงผลกระทบด้วยเหตุด้วยผล ไม่ใช้อารมณ์ เพราะ จะยิ่งกระตุ้นให้อยากลองใช้

 

 

 

กัญชา, ช่อดอกกัญชา, ใบกัญชา, อ.เจษฎ์, อาหารใส่กัญชา, ใบสด, มึนเมา, สาร CBD, สาร THC

 

 

 

  • งานวิจัยพบว่า กัญ ชามีผลกระทบกับสมอง ทำให้เด็ก-เยาวชน มีความสามารถทางสติปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ลดลง โดยมักเกิดจากการใช้ในรูปแบบสูบ หรือใส่ผสมอาหารเป็นปริมาณมากเกิน
  • มีผลกระทบระยะสั้น เช่น มึนเมา ใจเต้นแรง ความดันต่ำหรือสูงเกินไป อารมณ์แปรปรวน คลื่นไส้ อาเจียนฯ
  • มีผลกระทบระยะยาว เช่น หากใช้เกิน 2-3 ปีขึ้นไป เพิ่มความเสี่ยงให้เป็นโรคจิตเภท สมาธิสั้น ความคิด ความจำแย่ลงฯ
  • สาร THC (Tetrahydrocannabinol) เป็นสารเสพติด มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท หากไม่ควบคุม จะทำให้อยากใช้มากขึ้น

 

 

 

 

 

  • องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันพบว่าใน ใบสดของกัญ ชา จะพบสาร cannabidiolic acid (CBDA) และ Tetrahydrocannabinolic acid (THCA) ซึ่งไม่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ไม่เมา)
  • แต่เมื่อถูกแสงและความร้อน ทั้งจากการปรุงและเก็บรักษา จะเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลง (decarboxylation) โดยสาร THCA จะถูกเปลี่ยนเป็นสาร THC (ที่ทำให้เมา)
  • มีการศึกษาพบว่า หากใช้ความร้อน 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หรือ 98 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง หรือ 160 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที หรือ 200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1-2 วินาที สาร THCA จะถูกเปลี่ยนเป็นเป็นสาร THC อย่างสมบูรณ์
  • การสูบ จะทำให้สาร THCA จะถูกเปลี่ยนเป็นสาร THC ประมาณ 95% ใบกัญ ชาแห้งที่ถูกเก็บไว้ สาร THCA จะถูกเปลี่ยนเป็นสาร THC อย่างช้า ๆ

 

 

 

กัญชา, ช่อดอกกัญชา, ใบกัญชา, อ.เจษฎ์, อาหารใส่กัญชา, ใบสด, มึนเมา, สาร CBD, สาร THC

 

 

 

ข้อมูล : อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ และศูนย์นวัตกรรมแพทย์แผนไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สตช.ปลดป้ายชื่อ “บิ๊กโจ๊ก” หน้าห้องทำงาน ถอดรูปออกจากทำเนียบผู้บังคับบัญชาบนเว็บไซต์ด้วย
สหรัฐ กระแสต้านยิวลามเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำ
โคราชประกอบพิธีบรรพชา สามเณรปลูกปัญญาธรรม 1ทศวรรษแห่งความดี 10 ปีแห่งความยั่งยืน
"สุรพงษ์" ลุยปัตตานี พัฒนาระบบขนส่งรถสาธารณะ เชื่อมแหล่งท่องเที่ยว อำนวยความสะดวกนทท.-ปชช.ในพื้นที่
ผู้โดยสารอินเดีย ซุกงูอนาคอนดาเหลือง 10 ตัวจากไทย
"3 รัฐมนตรี" ยืนยันไทยไม่แทรกแซงกิจการในเมียนมา พร้อมช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ย้ำจุดยืนห้ามรุกล้ำดินแดน
"หมอเหรียญฯ" ลั่นสัญญาลูกผู้ชาย รับปาก "ลุงตู่" สร้างโครงการวิสาหกิจการแพทย์ วันนี้ทำจริงไม่ขายฝัน
ภาคเอกชน เผยสถานการณ์เมียนมากระทบค้าชายแดน ลดลงร้อยละ 30 หากยืดยื้อส่อส่งผลรุนแรง
อากาศร้อนทำพ่อค้าแม่ค้าตลาดใหม่ชลบุรีบ่นอุบผักขึ้น กก. ละ 50 บาทไข่ขึ้นราคาแผงละ 6 บาท ทำคนจับจ่ายน้อยขายของยากไม่คึกคัก
แคมป์ปิ้งจีนที่ไห่หนานสุดคึกคัก

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น