No data was found

“สั่งงานนอกเวลา” 2565 ต้องทำยังไง เพจดังชี้ งานนี้มีสะเทือน

สั่งงานนอกเวลา, นายจ้าง, ลูกจ้าง, กฎหมายแรงงาน

กดติดตาม TOP NEWS

"สั่งงานนอกเวลา" งานนี้ นายจ้างมีสะเทือน หลังเพจดังชี้แจง เคสตามงานนอกเวลา ลูกจ้างสามารถเก็บหลักฐานร้องเรียนทางกฎหมายได้นะ

“สั่งงานนอกเวลา” TOP News เปิดข้อกฎหมายชัด ๆ ก่อนวันแรงงาน รู้หรือไม่? หากลูกจ้างถูกตามงานหรือสั่งงานนอกเวลา นายจ้างต้องจ่ายค่า OT หากเป็นวันหยุด ต้องจ่ายค่าทำงานเพิ่ม 3 เท่าเลยนะ! โดยที่ลูกจ้างสามารถเก็บหลักฐานเรียกร้องทางกฎหมายได้ด้วย

ข่าวที่น่าสนใจ

เข้าใกล้วันแรงงานแบบนี้ TOP News ขอเอาใจเหล่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ด้วยการเปิดข้อกฎหมายชัด ๆ จากเคสสุดเอือม ตามงานนอกเวลาหรือสั่งงานในวันหยุด ทำแบบนี้ก็ได้หรอ? กลายเป็นวันหยุดที่ควรจะพักผ่อนสบาย ๆ กลับไม่มีอยู่จริง แถมยังต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำกันฟรี ๆ โดยที่ไม่ได้อะไรอีกด้วย

ล่าสุด เพจกฎหมายแรงงาน เฉลยข้อข้องใจที่เหล่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลายต้องเผชิญ โดยได้ชี้แจงตามกฎหมายแรงงานว่า ถ้านายจ้างหรือเจ้าหายสั่งงานช่วงกลางวัน ที่เป็นเวลาทำงานปกติ ถือเป็นการสั่งการหรือมอบหมายงาน หากเป็นหน้าที่ตามที่ตกลงกัน สามารถใช้ช่องทางแชทหรือไลน์ได้ แต่ถ้าไลน์สั่งงานในเวลา ดังต่อไปนี้

  • นอกเวลาทำงานปกติ
  • ในวันหยุด ไม่ว่าจะหยุดประจำสัปดาห์ หยุดตามประเพณี หยุดพักผ่อนประจำปี
  • นอกเวลาทำงานปกติของวันหยุดทั้ง 3 ประเภทในข้อ 2

สั่งงานนอกเวลา, นายจ้าง, ลูกจ้าง, กฎหมายแรงงาน

นายจ้างจะบังคับให้พนักงานหรือลูกจ้างทำงานในเวลาดังกล่าวไม่ได้ ต้องขอความยินยอมก่อน หาก “สั่งงานนอกเวลา”

  • ต้องจ่าย OT ไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของค่าจ้างที่ได้รับต่อชั่วโมง
  • หากสั่งงานในวันหยุดต้องจ่ายเพิ่มอีก 1 แรง เช่น ถ้าเคยได้วันละ 500 บาท ก็ต้องจ่ายเพิ่มอีก 500 บาท
  • สั่งงานวันหยุด (ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ หยุดตามประเพณี หยุดพักผ่อนประจำปี) ต้องจ่าย 3 เท่าของค่าจ้างที่ได้รับต่อชั่วโมง

สั่งงานนอกเวลา, นายจ้าง, ลูกจ้าง, กฎหมายแรงงาน

กฎหมายบอกว่า การทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราว ๆ ไป แต่มีปัญหาว่าหากนายจ้างสั่งให้ทำงานล่วงเวลา ทั้งผ่านไลน์ หรือโทรศัพท์ ซึ่งก็ไม่ได้เคยได้ขอความยินยอม ลูกจ้างก็ทำงานไปด้วยความเกรงใจ โดยการทำงานล่วงเวลาไม่จำเป็นต้องนั่งทำงานที่สำนักงาน ไม่ว่าจะทำที่ไหน นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา จะอ้างว่าลูกจ้างไม่เคยให้ความยินยอมเป็นหนังสือไม่ได้ เพราะ ถือว่าที่ลูกจ้าง (ต้องจำใจ หรือเกรงใจ) ทำงานนั่นแหละความยินยอม ก็ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา 1.5 เท่าของค่าจ้างรายชั่วโมงในเวลาทำงานปกติ

สั่งงานนอกเวลา, นายจ้าง, ลูกจ้าง, กฎหมายแรงงาน

ส่วนลูกจ้างก็อาจเก็บข้อมูลการทำงานนอกเวลาทำงานไว้ หลักฐานอาจเป็นไลน์สั่งงาน หรือโทรศัพท์ หรืออีเมล ส่วนสถานที่ทำงานจะทำที่บ้าน ทำบนรถ ทำที่สำนักงาน หรือไปกางเต็นท์นอนชิว ๆ อยู่หากถูกสั่งงานก็ถือเป็นการทำงาน OT หรือทำงานในวันหยุดก็ถือเป็นการทำงานทั้งสิ้นนอกจากนี้ เพจดังกล่าว ยังเน้นย้ำ สำหรับคนที่กลัวมีปัญหาว่า ในวันที่เรายังคงทำงานอยู่ หลายคนก็คงไม่กล้าฟ้อง หรือร้องต่อเจ้าหน้าที่ แต่หากออกจากงานไปแล้วก็สามารถไปฟ้องหรือร้องเรียนย้อนหลังได้ เพียงแต่ต้องเก็บหลักฐานเอาไว้ให้ดี

สั่งงานนอกเวลา, กฎหมายแรงงาน,​นายจ้าง, ลูกจ้าง

ข้อมูล : กฎหมายแรงงาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นรุตม์ชัย" สวน "อุ๊งอิ๊ง" ระบบยุติธรรมของประเทศถูกทำลาย ย่อยยับ ต้องเป็นหนี้ 500,000 ล้าน เพื่อกู้มาแจก
"อาจารย์อุ๋ย ปชป." ชี้ชัด เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่แค่อยู่กระท่อม ปลูกผัก ซัดกลับคนบิดเบือน
เมียนมา ‘อากาศร้อนจัด’ กระทบรายได้คนขับแท็กซี่
ประมวลภาพโมเมนต์สำคัญ ‘สีจิ้นผิง-มาครง’
เจ้าคณะฯ สั่งปลดแล้ว "เจ้าอาวาส" เคลมเด็กหนุ่ม เผยยังสอบวินัยสงฆ์ไม่ได้ เหตุหายตัวไร้เงา
รัสเซียเยาะเซเลนสกี้แอบอ้างพระเจ้าเป็นพันธมิตรยูเครน
เดือดกว่านี้ไม่มีแล้ว "อ.สุวินัย" จัดหนัก "โน้ส อุดม" ลงลึกธาตุแท้ ลั่นเมริงกับKuเป็นมนุษย์คนละสายพันธุ์
กองทัพบกนำกำลังพล ขนน้ำแจกปชช. 7 หมื่นลิตร  ด้านทัพอากาศ จ.ชุมพร ขนน้ำช่วยชาวสวนทุเรียนสู้ภัยแล้ง
วธ.เปิดชุมชนคุณธรรมฯ วัดท่าขนุน กาญจนบุรี 1 ใน 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ปี 66 ดินแดนประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 หลากหลายชาติพันธุ์ ชมเส้นทางรถไฟสายมรณะ บ้านหลบภัยเชลยศึก ไหว้พระยอดเขารอยพระพุทธบาท-พระพุทธเจติยคีรี ช้อปชิมสินค้า-อาหารตลาดริมแคว
TPIPL จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น