No data was found

“Omicron” XE โควิด-19 อาจไม่ได้แพร่เร็วอย่างที่กังวลกัน

Omicron

กดติดตาม TOP NEWS

"Omicron" XE อาจคลายความกังวลได้ เมื่อ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล เผย อาจไม่ได้แพร่เร็วอย่างที่กังวลกัน

“Omicron” XE โควิด-19 สายพันธุ์ Omicron (โอมิครอน หรือ โอไมครอน) สืบเนื่องจากก่อนหน้านั้นมีรายงานว่า โอไมครอนสายพันธุ์ลูกผสม XE พบการแพร่ระบาดที่ค่อนข้างรวดเร็ว ทำให้ประชาชนต่างเป็นกังวลอยู่ไม่น้อย แต่ล่าสุด ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อัปเดตว่า อาจจะไม่ได้แพร่ติดต่อรวดเร็วอย่างที่เรากังวลกัน เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ที่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“Omicron” XE โดยเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ของ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์อัปเดตเรื่องราวเกี่ยวกับ โอไมครอนสายพันธุ์ลูกผสม XE ว่า รหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสลูกผสม โอไมครอน XE ที่พบในประเทศไทย

โอไมครอนสายพันธุ์ลูกผสม XE เกิดจากการผสมจีโนมของสายพันธุ์ย่อย BA.1 และ BA.2 รวมกันในสัดส่วนประมาณ 35:65% ซึ่งทาง WHO ได้แจ้งเตือนให้ทุกประเทศช่วยกันจับตาเฝ้าระวัง เนื่องจากพบการแพร่ระบาดที่ค่อนข้างรวดเร็วกว่าโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ประมาณ 10% และ รวดเร็วกว่าโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 ประมาณ 43% ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลมากพอที่จะสรุปถึงความรุนแรงในการก่อโรคโควิด-19

ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี ได้ตรวจพบสายพันธุ์ลูกผสม โอไมครอน XE จาก สวอป ส่งตรวจจากผู้ติดเชื้อในกลุ่มสีเขียว ซึ่งมีอาการเพียงเล็กน้อย ปัจจุบันหายดีแล้ว และหลังจากแพทย์ผู้รักษาได้รับการแจ้งถึงสายพันธุ์ไวรัสของผู้ติดเชื้อรายนี้ ทาง โรงพยาบาลที่ดูแลผู้ติดเชื้อรายนี้ไม่พบการระบาดจากผู้ติดเชื้อรายนี้ (index case) ไปยังผู้ใกล้ชิดแต่อย่างใด ด้วยการตรวจด้วย ATK ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ ได้ถอดรหัสพันุกรรมประมาณ 30,000 ตำแหน่ง (base) ของไวรัสตัวนี้และแชร์ไปยังฐานข้อมูลโควิดโลก GISAID เป็นที่เรียบร้อยโดยได้รับลำดับหมายเลขในการสืบค้นคือ ‘EPI_ISL_11720091’ (ภาพ 1)

Omicron

เมื่อใช้โปรแกรม Nextclade v1.14.0 (https://clades.nextstrain.org/) ซึ่งเป็นโปรแกรมช่วยกำหนดสายพันธุ์ กำหนดตำแหน่งการกลายพันธุ์ และแสดงคุณภาพของรหัสพันธุกรรมที่ถอดรหัสได้ (Clade assignment, mutation calling, and sequence quality checks) เข้ามาสร้าง ต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ (phylogenetic tree) ร่วมกับไวรัสโคโรนา 2019 ทุกสายพันธุ์ ทั้งสายพันธุ์หลัก สายพันธุ์ย่อย และบรรดาสายพันธุ์ลูกผสมจากทั่วโลก พบว่าไวรัสตัวนี้มีรหัสพันธุกรรมจัดอยู่ในกลุ่มไวรัสเป็นลูกผสม โอไมครอน XE (ภาพ 2)

Omicron

องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาแจ้งเตือนประชาคมโลกถึงการอุบัติขึ้นของสายพันธุ์ลูกผสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ลูกผสม โอไมครอน XE ที่ก่อให้เกิดความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการกลายพันธุ์แบบก้าวกระโดด ซึ่งอาจส่งผลต่อ
  1. การระบาดของสายพันธุ์ลูกผสม “โอไมครอน XE” ที่อาจเข้ามาแทนที่สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.2 ในอนาคตอันใกล้
  2. การตรวจกรองด้วย ATK หรือ PCR ที่อาจไม่ถูกต้อง
  3. การป้องกันการติดเชื้อด้วยวัคซีนที่อาจด้อยประสิทธิภาพลง
  4. การรักษาด้วยยาต้านไวรัสและโดยเฉพาะอย่างยิ่งแอนติบอดีสังเคราะห์ที่อาจลดประสิทธิภาพหรือไม่ได้ผล
  5. ผลกระทบต่ออาการ ลองโควิด (ภาพ 3)

Omicron

สายพันธุ์ลูกผสม โอไมครอน XE พบแพร่ระบาดครั้งแรกในประเทศอังกฤษตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 จากการสุ่มถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งจีโนมของประเทศอังกฤษ (ร้อยละ 20 จากตัวอย่างที่ตรวจ PCR ให้ผลเป็นบวก) พบโอไมครอน XE ประมาณ 600 รายเมื่อต้นเดือนมกราคม 2565 และปลายเดือนมีนาคม 2565 เพิ่มเป็น 736 ราย อันแสดงให้เห็นในเบื้องต้นว่าสายพันธุ์ลูกผสม โอไมครอน XE อาจจะไม่ได้แพร่ติดต่อรวดเร็วอย่างที่เรากังวลกัน
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดีได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), มูลนิธิรามาธิบดี, Wellcome Trust (องค์กรการกุศลด้านการวิจัยชีวการแพทย์ที่ตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ) และ มูลนิธิ เอดส์ เฮลท์ แคร์/เอเอชเอฟ (องค์กรระหว่างประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา) ให้ทำการศึกษาธรรมชาติการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบันเพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการกลายพันธุ์ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในการนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแล ป้องกัน และรักษาโรคโควิด-19 ในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเสนอข้อมูลทางวิทยาศาสตร์แก่ประชาชนผ่านสื่อสารมวลชนเพื่อปรับเปลี่ยน ความตื่นตระหนก ให้เป็น ความตระหนัก ให้ประชาชนไทยได้รับทราบข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อการระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มเข้าสู่ภาวะของ โรคประจำถิ่น ที่ระบบสาธารณสุขของประเทศสามารถควบคุมการระบาดได้
Omicron
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Center for Medical Genomics

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ตำรวจรวบตัว "3 ชาวจีน" ถูกทิ้งอยู่ข้างทาง หลังหนีการสู้รบจาก "เมืองเมียวดี" ลักลอบเข้าไทย
เด็ก "เจ๊แดง" ผงาด "จักรพล" ขึ้นแท่น "โฆษกรัฐบาล" ลุยทำงานเต็มสูบหลังโผครม.เศรษฐา 2 คลอด
ตำรวจสอบสวนกลาง รวบ "แม่เล้า" ริมฝั่งโขง ค้ากามเด็กสาวไทย-ลาว เตือนผู้ปกครองควรใส่ใจดูแลบุตรหลาน
“แม่น้องไนซ์” รอพบสำนักพุทธฯ เคลียร์ปมเชื่อมจิต ลั่นเตรียมฟ้องสื่อ 5 ช่อง เผยแพร่ข้อมูลเท็จ
3 จีนเทา หนีสู้รบ จากเมียวดีฯ ลอบเข้าไทยจะไปปอยเปตถูกนำมาปล่อยทิ้งข้างถนน
เมืองพัทยา คึกคัก กองเรือพิฆาตเทียบฝั่ง ทหารอเมริกันยกพลขึ้นบกท่องเที่ยว
ชาวเน็ตแห่แชร์ภาพคุณยายวัย 89 ปี อยู่คนเดียว สุดรันทดในบ้านไม้ผุพังไม่มีหลังคาบังแดดบังฝนวอนหน่วยงานเร่งช่วยเหลือ
"หมอธีระวัฒน์" แจ้งข่าวลาออก หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ รพ.จุฬาฯ หลังวิจารณ์ปมวัคซีนโควิด หวั่นกระทบภาพลักษณ์องค์กร
"รทสช." ยังไม่นิ่ง! สะพัด "เสี่ยเฮ้ง" รีเทิร์นคั่วเก้าอี้ "รมช."
สลด "นศ.สาวปี 3" รอมอบตัว หลังใช้มีดไล่แทง "แฟนหนุ่ม" บาดเจ็บสาหัส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น