No data was found

5 วิธี “แยกกักตัว” ทำยังไงเมื่อต้องอยู่ในบ้านกับผู้ป่วยโควิด

แยกกักตัว, กักตัว, Home Isolation, โควิด-19, โควิด, โอไมครอน, โอมิครอน, โควิด xe

กดติดตาม TOP NEWS

5 วิธี "แยกกักตัว" ทำยังไงดี เมื่อต้องอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันกับผู้ป่วยโควิด-19 แต่ไม่มีห้องแยก รพ.ราชวิถี แนะแล้ว ทำตามนี้ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้

“แยกกักตัว” กักตัวที่บ้าน Home Isolation เป็นอีกทางเลือกการรักษาสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 โควิด omicron โควิด xe กลุ่มสีเขียว แต่การกักตัวที่บ้านนี้บางครอบครัวอาจมีการอาศัยอยู่ร่วมกัน ไม่มีห้องแยก แล้วจะทำอย่างไรให้อาศัยร่วมกันได้อย่างปลอดภัย ลดความเสี่ยงการติดเชื้อได้ งานนี้ทางด้าน โรงพยาบาลราชวิถี ได้ออกมาให้ข้อมูลความรู้แล้ว เพียงแค่ 5 วิธีให้ปฏิบัติตาม จะมีอะไรบ้าง ดูได้เลยที่ TOP News

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

แยกกักตัว” โดยทางด้าน โรงพยาบาลราชวิถี ก็ได้เผยแพร่ข้อมูลว่า โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ แนะนำแนวทางการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโควิด-19 ในการทำ Home Isolation กรณีที่ไม่มีห้องแยกให้กักตัวในบ้าน แต่จำเป็นต้องอาศัยอยู่ร่วมกันกับคนในครอบครัวอย่างไรให้ปลอดภัย ลดความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด-19 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันโควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน ทำให้มีผู้ติดเชื้อสูงมากกว่าหมื่นรายต่อวัน แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการน้อยสามารถรักษาตัวที่บ้านได้ โดยอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาล สำหรับผู้ที่เข้าเกณฑ์ในการทำ Home Isolation ได้แก่ ผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อย หรือไม่แสดงอาการ , มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อาจมีโรคร่วมที่รักษา และสามารถควบคุมได้ตามดุลยพินิจของแพทย์ , มีอายุน้อยกว่า 75 ปี และยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง ทั้งนี้ แนวทางการดูแลผู้ป่วยโควิดที่ทำ Home Isolation อาจปรับได้ตามดุลยพินิจของแพทย์ โดยพิจารณาเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยและด้านการควบคุมโรคประกอบกัน

แยกกักตัว, กักตัว, Home Isolation, โควิด-19, โควิด, โอไมครอน, โอมิครอน, โควิด xe

นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า สิ่งที่ผู้ป่วยโควิด-19 จะได้รับการสนับสนุนเมื่อทำ Home Isolation ได้แก่ อุปกรณ์ประเมินอาการ เช่น ปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เพื่อประเมินการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดว่าปกติดีหรือไม่ โดยค่าปกติจะอยู่ที่ประมาณ 96-100% ถ้าตัวเลขอยู่ที่ 94% หรือต่ำกว่านั้น มีแนวโน้มที่เชื้อโควิด-19 จะลงปอดได้ ซึ่งอยู่ในภาวะที่ต้องเฝ้าระวัง , การประเมินอาการผ่านระบบเทเลเมด หรือ ระบบออนไลน์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยตอบโต้กันได้ , การให้ยากับผู้ป่วยในแต่ละวัน (ประเมินตามอาการขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์) , อาหารสามมื้อ และการติดตามประเมินอาการ รวมทั้งการให้คำปรึกษา

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญ คือ ผู้ป่วยต้องหมั่นสังเกตอาการของตนเอง วัดอุณหภูมิและวัดค่าออกซิเจนปลายนิ้ว 2–3 ครั้งต่อวัน หากมีอาการแย่ลง คือ มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ เช่น ไข้สูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส หายใจ หอบเหนื่อย วัดค่าออกซิเจนปลายนิ้วได้น้อยกว่า 94% หรือไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ ให้รีบโทรติดต่อโรงพยาบาลที่รับการรักษาอยู่ และหากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องเดินทางมาโรงพยาบาล แนะนำให้ใช้รถยนต์ส่วนตัวหรือรถที่โรงพยาบาลมารับ ไม่ควรใช้รถโดยสารสาธารณะ และต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยอยู่ตลอดเวลา หากใช้รถยนต์ส่วนตัวขอให้ยึดแนวทางป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด จัดให้ผู้ป่วยนั่งในแถวหลัง เปิดกระจกในรถเพื่อควบคุมทิศทางลมให้ไหลออกไปนอกรถ เป็นการลดความเสี่ยงในการหมุนวนของอากาศ เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่เดินทางไปด้วย

แยกกักตัว, กักตัว, Home Isolation, โควิด-19, โควิด, โอไมครอน, โอมิครอน, โควิด xe

นายแพทย์ไพโรจน์ เครือกาญจนา รองผู้อำนวยการด้านวิชาการและการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับ แนวทางการปฏิบัติกรณีที่ไม่มีห้องแยกให้กักตัวในบ้าน แต่จำเป็นต้องอาศัยอยู่ร่วมกันกับคนในครอบครัว ควรปฏิบัติดังนี้

  1. ขอให้ทุกคนที่อยู่ในห้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา และยึดแนวทางการป้องกันตนเองตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  2. แบ่งเขตพื้นที่ส่วนผู้ที่เป็นและส่วนผู้ที่ไม่เป็นแยกออกจากกันอย่างชัดเจน
  3. จัดหาพัดลมวางไว้ในห้องและเปิดตลอดเวลา เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางลมให้ไปออกที่หน้าต่างฝั่งที่ใกล้กับส่วนผู้ที่เป็น ซึ่งจะทำให้พื้นที่ของส่วนผู้ที่ไม่เป็นปลอดภัยเนื่องจากอยู่เหนือลม โดยมีพื้นที่กำหนดพิเศษที่จะให้ผู้ที่เป็นสามารถผ่านเข้ามาได้เฉพาะกรณีวางของหรือออกจากห้องเท่านั้น
  4. กำหนดพื้นที่พิเศษสำหรับการจัดการกับสิ่งของหรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้แล้ว โดยขอให้ผู้ป่วยนำของใส่ในถุง พ่นด้วยแอลกอฮอล์ข้างในก่อนปิดปากถุง เมื่อวางแล้วให้พ่นแอลกอฮอล์ซ้ำที่ตรงปากถุงด้านนอก ส่วนผู้ที่จะนำไปจัดการต่อจะต้องใส่ถุงมือ โดยพ่นแอลกอฮอล์ที่ด้านนอกถุงอีกครั้ง เมื่อนำถุงออกมาจากพื้นที่แล้ว ให้เปิดปากถุงแล้วแช่ด้วยน้ำสบู่หรือน้ำผสมผงซักฟอกประมาณ 10-15 นาที ก่อนที่จะนำไปทำความสะอาดตามปกติ
  5. เมื่อมีการสัมผัสสิ่งของที่ใช้ร่วมกัน ขอให้มีการปฏิบัติตัวป้องกันตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยยึดหลัก ‘ไม่แพร่เชื้อ-ไม่ติดเชื้อ’ ทั้งนี้ หากผู้พักอาศัยหรือผู้ดูแลมีอาการผิดปกติควรรีบตรวจหาเชื้อทันที

แยกกักตัว, กักตัว, Home Isolation, โควิด-19, โควิด, โอไมครอน, โอมิครอน, โควิด xe

แยกกักตัว, กักตัว, Home Isolation, โควิด-19, โควิด, โอไมครอน, โอมิครอน, โควิด xe

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลราชวิถี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

องค์บุญแห่งล้านนา ครูบาธรรมชัย เจ้าอาวาสวัดศรีพันต้น ทอดผ้าป่า ยกช่อฟ้า ทำพิธีไม้ค้ำจุน ศิลปิน ดารา นักร้องศิษยานุศิษย์พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศเข้าร่วมพิธี เป็นจำนวนมาก
“ภูมิธรรม” ยันเพื่อไทยไม่คิดเปลี่ยนประธานสภาฯ ที่ผ่านมา “วันนอร์” ทำหน้าที่ได้ดี สมเกียรติ
รวบ ป้ามหาภัย ตะเวน กรีดกระเป๋า นทท.ตามแหล่งท่องเที่ยว
ปรับครม.เศรษฐา 2 เขย่าบัลลังก์ "วันนอร์" ระส่ำ! "พิชิต-ชูศักดิ์" แย่งเข้าวิน "มือกฎหมายรัฐบาล"
สาวร้อยเอ็ด คิดสั้นผูกคอหวังปลิดชีพตัวเองคาห้องพัก
วันไหลทับไทร สนั่นเมือง รถแห่รถเครื่องเสียงกว่า100 คัน สร้างความบันเทิงชุ่มฉ่ำ
ลุ้น ราคาน้ำมันดีเซล วันพรุ่งนี้ ทะลุ 31 บาทต่อลิตร หรือไม่ หลังครม.ไม่ต่ออายุลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน
CNN ยัน "อิสราเอล"โจมตีทางอากาศ"อิหร่าน"ยันไม่กระทบโรงงานนิวเคลียร์
“นายกฯ” ย้ำไม่มีปัญหาพรรคร่วมฯ ยึดผลงานเกณฑ์ปรับครม.
หวั่นสงครามอิสราเอล-อิหร่าน "ราคาทองคำ" วันนี้พุ่งพรวด 550 บาท น้ำมันโลกปรับเพิ่มทันทีกว่า 3 %

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น