No data was found

“โรคลมแดด” กรมอนามัยเผย 4 สัญญาณอันตราย ป้องกันก่อนสาย

กดติดตาม TOP NEWS

"โรคลมแดด" เผย 4 อาการ เป็นสัญญาณอันตราย รีบป้องกันด่วน กรมอนามัยเปิดคำอธิบายชัด มีอะไรบ้าง

“โรคลมแดด” TOP News กรมอนามัย เผยชัด 4 สัญญาณอันตราย ที่หลายคนอาจมองข้าม ในฤดูกาลแสนร้อยระอุในปีนี้ มีอะไรบ้าง? เช็คเลย

ข่าวที่น่าสนใจ

“โรคลมแดด” คืออะไร?

โรคลมแดด หรือ โรคลมร้อน หรือที่หลายคนคุ้นเคยกับอีกชื่อหนึ่งว่า Heatstoke เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงเกินไป เกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูง 40 องศาเซลเซียส (104 ฟาเรนไฮต์หรือมากกว่า และมักจะเกิดในช่วงฤดูร้อนหรือบริเวณที่มีความชื้นในอากาศสูง ภาวะนี้ อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ปอด ไต และกล้ามเนื้อได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที ที่สำคัญหากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ล่าช้าจะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย โดยบางรายถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้

สาเหตุ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่  

  • Exertional Heatstroke : เกิดจากการที่ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อุณหภูมิสูง ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงตาม มักพบในผู้ที่อยู่ในบริเวณที่อากาศร้อนและชื้นเป็นเวลานาน
  • Exertional Heatstroke : อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นจากการทำงานหรือออกกำลังกายอย่างหนักในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง การสวมใส่เสื้อผ้าที่หนาและมากเกินไปจนเหงื่อระเหยและระบายความร้อนได้ยาก ภาวะขาดสารน้ำ การดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งทำให้กลไกการควบคุมอุณหภูมิร่างกายผิดปกติไปก็เป็นสาเหตุร่วมที่ทำให้เกิด Heatstroke ได้ 

โรคลมแดด, โรคลมร้อน, Heatstroke

อาการสำคัญ

  •  เหงื่อไม่ออก
  • สับสน มึนงง
  • ผิวหนังเป็นสีแดง และแห้ง
  • ตัวร้อนจัด

นอกจากนี้ ยังอาจเกิดอาการชักหรือหมดสติได้ ร่วมกับหัวใจเต้นเร็ว อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น

หากพบผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวให้โทร 1669 และควรทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • โดยการพาผู้ป่วยหลบเข้าที่ร่ม หรือห้องที่มีความเย็น
  • นอนราบ ยกเท้าและสะโพกสูง
  • ถอดเสื้อผ้าให้เหลือเท่าที่จำเป็น
  • ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามตัว
  • ใช้พัดลมเป่าหรือวางถุงน้ำแข็งที่คอ รักแร้ และขาหนีบ
  • หากผู้ป่วยหมดสติ ให้จับนอนตะแคง เพื่อป้องกันโคนสิ้นอุดทางเดินหายใจ
  • และนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วด้วยรถปรับอากาศ
  • หรือเปิดหน้าต่างรถ เพื่อให้อากาศถ่ายเท

โรคลมแดด, โรคลมร้อน, Heatstroke

วิธีป้องกัน

  • ในช่วงที่อากาศร้อนควรอยู่ในอาคาร บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หรือสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ
  • สวมเสื้อผ้าสีอ่อน หลวม มีน้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี
  • ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ ประมาณ 10-12 แก้วต่อวัน
  • หลีกเสี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง
  • อาบน้ำบ่อย ๆ ไม่เปิดพัดลมแบบจ่อตัว เพราะ พัดลมจะดูดความร้อนเข้ามาหาตัว ควรเปิดพัดลมแบบส่าย และเปิดหน้าต่างระบายอากาศ
  • หากมีอาการที่เกี่ยวข้องกับความร้อนควรรีบแจ้งบุคคลใกล้ชิดทันที
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
  • หากจำเป็นต้องอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ควรป้องกันตนเองด้วยการสวมหมวกปีกกว้าง สวมแว่นกันแดด กางร่ม และทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 15 ขึ้นไป

Heatstroke

ข้อมูล : กรมอนามัย และ โรงพยาบาลกรุงเทพฯ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"โฆษกรบ." โชว์ตัวเลขสงกรานต์เชียงใหม่ นทท.ต่างชาติแน่น เงินสะพัดพันล้าน
ร้อนจัดทะลุ 40 องศา เจ้าของสระใจดี เปิดสระน้ำให้เล่นคลายร้อนฟรี ชุดฟรี ที่จอดรถฟรี ห่วงยางฟรี ไม่มีกำหนด
"หมอชลน่าน" ยันคุม "โควิด" ได้ วอนปชช. อย่าตื่นตระหนก
รู้จัก "จิราพร" ว่าที่รมต.ป้ายแดง โควต้าเพื่อไทย DNA สินธุไพร ผลงานแน่นไม่แพ้ใคร
เปิดโปรไฟล์ "เผ่าภูมิ" ขุนพลเศรษฐกิจเพื่อไทย ว่าที่รัฐมนตรี ครม.ใหม่ จบดีกรีมหาลัยดังระดับโลก
"สันติสุข" ถามตรงจำเป็นไหม? ใช้เงินหมื่นล้าน ทำ 3 ครั้ง ประชามติแก้รัฐธรรมนูญ
ตร.บุกรวบ "คนขับรถ" ให้ชาวญี่ปุ่น คดีฆ่าหั่นศพยัดถุงดำทิ้งบ่อน้ำ
สภาพอากาศวันนี้ "อุตุฯ" เตือน 2 ภาคพายุฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง 42 จังหวัดเตรียมรับมือ ร้อนสุด 43 องศา
"รมว.แรงงาน" หนุนภาคีเครือข่ายแรงงาน "สพท." ผนึก "สสส." ผ่าทางตันความเห็นต่าง ขับเคลื่อน "ร่างพรบ.แรงงานอิสระ" ดูแลแรงงานอิสระ 20 ล้านคน
สมาคมธนาคารไทย เห็นพ้องนายกฯ เร่งช่วยลูกหนี้กลุ่มเปราะบาง นัดถก 24 เม.ย.หาทางออกลดภาระการเงิน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น