No data was found

งดหรือไม่งด เลื่อนหรือไม่เลื่อนสอบเข้าม.1 และ ม. 4 แต่นักเรียนหายไปแล้ว

กดติดตาม TOP NEWS

สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19  ในหลายพื้นที่ยังไม่น่าไว้วางใจ  ล่าสุดเมื่อวันที่  21 พ.ค. 64  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยผลตรวจเชื้อโควิด-19 ในแคมป์คนงานก่อสร้าง และบริเวณใกล้เคียง จำนวน 80 ตัวอย่าง พบว่าเป็นสายพันธุ์อินเดีย จำนวน 36 ราย  สายพันธุ์ที่ทำให้การติดเชื้อรวดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น 

แม้ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ยืนยันเอาอยู่ โดยสถานพยาบาลได้ดูแลกลุ่มผู้ติดเชื้อสายพันธุ์อินเดีย เป็นอย่างดีแล้ว  แต่กับข่าวการพบเชื้อสายพันธุ์อินเดียก็ยิ่งสร้างความหวาดวิตกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบรรดา ”นักเรียนและผู้ปกครอง”

เพราะไม่เพียงกระทรวงศึกษาธิการ ออกประกาศ เลื่อนการเปิดภาคเรียนประจำปีการศึกษา 2564 จากเดิมวันที่  17  พ.ค. พอเจอการระบาดของโควิดระลอกสาม ทำให้ต้องเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 1 มิ.ย. แต่ล่าสุดเจอโรคเลื่อนออกไปอีกเป็นวันที่ 14 มิ.ย. ซึ่งจะเป็นการเลื่อนครั้งสุดท้ายหรือไม่ต้องมีการประเมินสถานการณ์เป์นระยะๆ

ทว่าสถานการณ์ที่กำลังสร้างความกังวลใจให้ผู้ปกครองและนักเรียนภายในระยะเวลาอันใกล้นี้ นั่นคือ กำหนดการสอบเข้าเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ มัธยมศึกษาปีที่ 4  (ภาคปกติ )  

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีกำหนดสอบเข้าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในวันเสาร์ที่  22  พ.ค. 64  ขณะที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สอบเข้าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในวันอาทิตย์ที่  23  พ.ค. 64  เป็นการประกาศสอบพร้อมกันทั่วประเทศ  มีนักเรียนมากกว่าพันคน ต่างเดินทางสู่สนามสอบหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบรรดาสถานศึกษาที่อยู่เขตพื้นที่สีแดงเข้ม   “กทม. นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ”

 

โควิด-19 ได้สร้างแรงกระเพื่อมกระบวนการสอบเข้าครั้งนี้ อย่างเห็นได้ชัด พบว่า สถานศึกษาหลายแห่ง ตัดสินออกประกาศการรับนักเรียนใหม่  บางโรงเรียนออกประกาศยกเลิกการสอบเข้า   บางโรงเรียนเลื่อนการสอบ

ขณะที่บางโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีการแข่งขันสูงคงเดินหน้า กำหนดสอบเข้าในวันที่ 22-23 พ.ค. เช่นเดิม  พร้อมกับออกมาตรการคุมเข้ม ในเรื่องของการคัดกรองนักเรียน และการจัดห้องสอบให้ปลอดจากเชื้อโรค   มีการกำหนดเวลาการสอบ  ลดจำนวนข้อสอบ เพื่อให้การสอบเสร็จสิ้นภายในครึ่งวัน เป็นต้น

 

แน่นอนการปรับเปลี่ยนกระบวนการสอบ กระทบไปถึงนักเรียนโดยตรง  ทั้งการเตรียมความพร้อมในการสอบ  เกิดความกังวลใจ กระทบมาถึงบรรดาผู้ปกครองห่วงบุตรหลานในการเข้าสอบจะได้รับความปลอดภัยในสุขภาพพลานามัยหรือไม่  ที่สำคัญกว่านั้น  บุตรหลานจะมีสถานศึกษาเรียนต่อหรือไม่

 

 

อีกปรากฎการณ์หนึ่ง เมื่อสถานศึกษาบางแห่งต้องออกประกาศรับสมัครนักเรียนเพิ่มเติม  เช่น โรงเรียนบางแห่งที่เคยมีการสอบแข่งขันเข้าห้องเรียนGIFTED  หรือ ห้องเรียนที่จัดหลักสูตรให้เหมาะสมเพื่อส่งเสริมศักยภาพของเด็กที่ฉายแววอัจฉริยะ  ไม่ได้นักเรียนตามโคว้ต้าที่กำหนด  ส่งผลให้โรงเรียนต้องประกาศรับสมัครจากนักเรียนสอบติดลำดับสำรอง แต่ทว่า ก็ยังไม่มีนักเรียนแสดงสิทธิ์เข้าเรียน ทำให้โรงเรียนต้องออกประกาศซ้ำแล้วซ้ำเล่า  ยังไม่นับรวม โรงเรียนที่ไม่มีการแข่งขันสูง ยืดเวลารับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาต่อ

เกิดคำถามตามมาว่า กำลังเกิดอะไรขึ้น นักเรียนหายไปไหน !!!!

 

มิพักกล่าวถึง สถานการณ์โควิด-19  ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ปกครองต้องขาดรายได้  ไม่มีเงินส่งเสียบุตรหลานศึกษาต่อ ทำให้นักเรียนหลุดออกจากระบบการศึกษาไปเลย

ทั้งนี้  มีข้อมูลจากองค์การยูนิเซฟ   เมื่อช่วงต้นปี 64   นางเฮนเรียตตา โฟร์ ผอ.บริหารองค์การยูนิเซฟ ออกแถลงการณ์ระบุว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบสอง มีมาตรการปิดโรงเรียน ส่งผลกระทบต่อนักเรียนร้อยละ 90 ทั่วโลก โดยเด็กนักเรียนกว่า 1 ใน 3 ไม่สามารถเรียนทางไกลได้ ประมาณการว่าเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาจะเพิ่มขึ้นถึง 24  ล้านคน เป็นระดับที่สูงที่สุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ทักษะการอ่านออกเขียนได้และการคำนวณกำลังได้รับผลกระทบ อีกทั้งทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตท่ามกลางเศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 21 ก็กำลังถดถอย

กลับมาที่ประเทศไทย การแพร่ระบาดโควิดระลอกสาม มีการประเมินว่า ยิ่งการปิดเทอมยาวนาน ส่งผลให้ความรู้นักเรียนถดถอย สำคัญกว่านั้นส่งผลให้เด็กอาจหลุดจากระบบการศึกษา

“จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลให้เด็กต้องหยุดเรียน โดยปี 2563 เด็กไทยหยุดเรียนไปนานกว่า 90 วัน ส่วนปี 2564 เลื่อนเปิดภาคเรียนไม่น้อยกว่า 10 วันและอาจมีเหตุการณ์ปิดเรียนอีก หากเรายังควบคุมการระบาดไม่ได้ ที่ผ่านมาจากการติดตามภาวะวิกฤติของนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษของ กสศ. พบภาวะวิกฤติที่เป็นปัญหา 4 เรื่องใหญ่ คือ เรื่องแรกภาวะเครียดเงียบ เนื่องจากเด็กเป็นห่วงโซ่สุดท้ายในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ซึมซับปัญหาของครอบครัวที่พ่อแม่ตกงาน ไม่มีเงิน ทะเลาะกัน ใช้ชีวิตยากลำบาก แต่เด็กไม่สามารถระบายออกมาได้ ส่งผลให้เด็กเก็บตัว ไม่ร่าเริง สายตาเศร้าสร้อย สะสมความเครียดในตัวเอง ระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต และวุฒิภาวะทางอารมณ์ เรื่องที่สอง ภาวะการเรียนรู้ถดถอย”

“พบว่า ยิ่งหยุดเรียนยาวนาน เด็กจะเกิดภาวะถดถอยการเรียนรู้ทุกวิชา เรื่องที่สาม ภาวะทุพโภชนาการพบว่าเด็กยากจนพิเศษ ไม่ได้รับประทานอาหารเช้า ก่อนเกิดโรคระบาดมากถึงร้อยละ 40-45 จึงตั้งความหวังอาหารกลางวันที่โรงเรียน เมื่อโรงเรียนปิดยาว เด็กจะยิ่งขาดสารอาหารมากขึ้น เรื่องที่สี่ ภาวะหลุดจากระบบการศึกษา โดยเฉพาะช่วงรอยต่อระหว่างช่วงชั้น เช่น ปฐมวัยต่อ ป.1, ป.6 ต่อ ม.1 และ ม.3 ต่อ ม.4 เพราะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเด็กยากจนพิเศษที่ครอบครัวตกงาน ทำให้เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้เรียนต่อและต้องทำงานหารายได้เลี้ยงครอบครัว “  ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาสังคม กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)  กล่าวไว้เมื่อวันที่ 17  พ.ค. 64

นับเป็นสัญญาณร้ายในระบบการศึกษา ที่ทุกฝ่ายต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เครื่องบินขนส่งโบอิ้งลงจอดล้อไม่กาง ครูดทางวิ่งไฟลุก (คลิป)
มาเลเซีย เล็งใช้ การทูตอุรังอุตัง กระชับมิตรคู่ค้าน้ำมันปาล์ม
กกต.ซักซ้อมเลือกสว.สัปดาห์หน้า มั่นใจกม.คุมเข้มช่วยสกัดฮั้ว
แฉยับ "ณัฐชา" สส.ก้าวไกล แต่งตั้ง "ไมค์ ภาณุพงศ์ " นั่งที่ปรึกษาคกก.สวัสดิการสังคม แค่ 5 เดือนก่อนหนีหมายจับคดี 112
เมืองพัทยา ผนึกกำลังกรุงเทพมหานคร ร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว
ชาวบ้านแห่ทอดแหหวังได้ปลาจากน้ำหลากหลังฝนแรกเทไป 2 วัน เพื่อเลี้ยงครอบครัวสู้วิกฤติภัยแล้ง ตั้งแต่เช้ายันบ่ายได้ปลาไม่ถึง 2กิโล
"ประเสริฐ" สั่งตรวจสอบโครงการ "ดีอี" หลัง "ฐากร" ปูดส่อส่งกลิ่น ลั่นไม่ยอมให้มีทุจริตเกิดขึ้นแน่
จีน ปรากฏการณ์ ‘น้ำตกเมฆ’ ไหลอาบขุนเขาในฉงชิ่ง
จีน ทึ่ง! โรงงานรถอีวี Xiaomi ใช้หุ่นยนต์กว่า 700 ตัว ในการผลิต
จีน เฉิงตูเปิดตัว ‘รถไฟขบวนแพนด้า’ หนุนท่องเที่ยวจีน-ลาว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น