No data was found

“Omicron” XE โควิด-19 อาจไม่ได้แพร่เร็วอย่างที่กังวลกัน

Omicron

กดติดตาม TOP NEWS

"Omicron" XE อาจคลายความกังวลได้ เมื่อ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล เผย อาจไม่ได้แพร่เร็วอย่างที่กังวลกัน

“Omicron” XE โควิด-19 สายพันธุ์ Omicron (โอมิครอน หรือ โอไมครอน) สืบเนื่องจากก่อนหน้านั้นมีรายงานว่า โอไมครอนสายพันธุ์ลูกผสม XE พบการแพร่ระบาดที่ค่อนข้างรวดเร็ว ทำให้ประชาชนต่างเป็นกังวลอยู่ไม่น้อย แต่ล่าสุด ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อัปเดตว่า อาจจะไม่ได้แพร่ติดต่อรวดเร็วอย่างที่เรากังวลกัน เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ที่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“Omicron” XE โดยเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ของ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์อัปเดตเรื่องราวเกี่ยวกับ โอไมครอนสายพันธุ์ลูกผสม XE ว่า รหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสลูกผสม โอไมครอน XE ที่พบในประเทศไทย

โอไมครอนสายพันธุ์ลูกผสม XE เกิดจากการผสมจีโนมของสายพันธุ์ย่อย BA.1 และ BA.2 รวมกันในสัดส่วนประมาณ 35:65% ซึ่งทาง WHO ได้แจ้งเตือนให้ทุกประเทศช่วยกันจับตาเฝ้าระวัง เนื่องจากพบการแพร่ระบาดที่ค่อนข้างรวดเร็วกว่าโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ประมาณ 10% และ รวดเร็วกว่าโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 ประมาณ 43% ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลมากพอที่จะสรุปถึงความรุนแรงในการก่อโรคโควิด-19

ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี ได้ตรวจพบสายพันธุ์ลูกผสม โอไมครอน XE จาก สวอป ส่งตรวจจากผู้ติดเชื้อในกลุ่มสีเขียว ซึ่งมีอาการเพียงเล็กน้อย ปัจจุบันหายดีแล้ว และหลังจากแพทย์ผู้รักษาได้รับการแจ้งถึงสายพันธุ์ไวรัสของผู้ติดเชื้อรายนี้ ทาง โรงพยาบาลที่ดูแลผู้ติดเชื้อรายนี้ไม่พบการระบาดจากผู้ติดเชื้อรายนี้ (index case) ไปยังผู้ใกล้ชิดแต่อย่างใด ด้วยการตรวจด้วย ATK ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ ได้ถอดรหัสพันุกรรมประมาณ 30,000 ตำแหน่ง (base) ของไวรัสตัวนี้และแชร์ไปยังฐานข้อมูลโควิดโลก GISAID เป็นที่เรียบร้อยโดยได้รับลำดับหมายเลขในการสืบค้นคือ ‘EPI_ISL_11720091’ (ภาพ 1)

Omicron

เมื่อใช้โปรแกรม Nextclade v1.14.0 (https://clades.nextstrain.org/) ซึ่งเป็นโปรแกรมช่วยกำหนดสายพันธุ์ กำหนดตำแหน่งการกลายพันธุ์ และแสดงคุณภาพของรหัสพันธุกรรมที่ถอดรหัสได้ (Clade assignment, mutation calling, and sequence quality checks) เข้ามาสร้าง ต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ (phylogenetic tree) ร่วมกับไวรัสโคโรนา 2019 ทุกสายพันธุ์ ทั้งสายพันธุ์หลัก สายพันธุ์ย่อย และบรรดาสายพันธุ์ลูกผสมจากทั่วโลก พบว่าไวรัสตัวนี้มีรหัสพันธุกรรมจัดอยู่ในกลุ่มไวรัสเป็นลูกผสม โอไมครอน XE (ภาพ 2)

Omicron

องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาแจ้งเตือนประชาคมโลกถึงการอุบัติขึ้นของสายพันธุ์ลูกผสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ลูกผสม โอไมครอน XE ที่ก่อให้เกิดความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการกลายพันธุ์แบบก้าวกระโดด ซึ่งอาจส่งผลต่อ
  1. การระบาดของสายพันธุ์ลูกผสม “โอไมครอน XE” ที่อาจเข้ามาแทนที่สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.2 ในอนาคตอันใกล้
  2. การตรวจกรองด้วย ATK หรือ PCR ที่อาจไม่ถูกต้อง
  3. การป้องกันการติดเชื้อด้วยวัคซีนที่อาจด้อยประสิทธิภาพลง
  4. การรักษาด้วยยาต้านไวรัสและโดยเฉพาะอย่างยิ่งแอนติบอดีสังเคราะห์ที่อาจลดประสิทธิภาพหรือไม่ได้ผล
  5. ผลกระทบต่ออาการ ลองโควิด (ภาพ 3)

Omicron

สายพันธุ์ลูกผสม โอไมครอน XE พบแพร่ระบาดครั้งแรกในประเทศอังกฤษตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 จากการสุ่มถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งจีโนมของประเทศอังกฤษ (ร้อยละ 20 จากตัวอย่างที่ตรวจ PCR ให้ผลเป็นบวก) พบโอไมครอน XE ประมาณ 600 รายเมื่อต้นเดือนมกราคม 2565 และปลายเดือนมีนาคม 2565 เพิ่มเป็น 736 ราย อันแสดงให้เห็นในเบื้องต้นว่าสายพันธุ์ลูกผสม โอไมครอน XE อาจจะไม่ได้แพร่ติดต่อรวดเร็วอย่างที่เรากังวลกัน
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดีได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), มูลนิธิรามาธิบดี, Wellcome Trust (องค์กรการกุศลด้านการวิจัยชีวการแพทย์ที่ตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ) และ มูลนิธิ เอดส์ เฮลท์ แคร์/เอเอชเอฟ (องค์กรระหว่างประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา) ให้ทำการศึกษาธรรมชาติการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบันเพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการกลายพันธุ์ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในการนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแล ป้องกัน และรักษาโรคโควิด-19 ในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเสนอข้อมูลทางวิทยาศาสตร์แก่ประชาชนผ่านสื่อสารมวลชนเพื่อปรับเปลี่ยน ความตื่นตระหนก ให้เป็น ความตระหนัก ให้ประชาชนไทยได้รับทราบข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อการระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มเข้าสู่ภาวะของ โรคประจำถิ่น ที่ระบบสาธารณสุขของประเทศสามารถควบคุมการระบาดได้
Omicron
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Center for Medical Genomics

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียนมา ร้อนจัดทำผู้เสียชีวิตกว่าสิบคนทุกวัน
โซเชียลซัดเละ “ส.ศิวรักษ์” ดีเบต 2475 เน้นความเชื่อ ไร้ข้อมูล กล้ายกหางตัวเองเป็นปัญญาชนสยาม
อินโดนีเซีย เผชิญโคลนถล่มและน้ำท่วมครั้งใหญ่
รัสเซีย ขึ้นบัญชีผู้นำยูเครนเป็นอาชญากรที่ถูกหมายหัว
โซเชียลแซวยับ "พิธา" นำทีมก้าวไกล ร่วมงานสโมสรสันนิบาต ชีวิตสวนทางติ่งส้มหมิ่น จาบจ้วง สถาบันฯต้องนอนคุก
"อัษฎางค์" ย้อนชีวิต "โน้ส อุดม" โอดเป็นศิลปินไส้แห้ง วันนี้ด้อยค่า "พอเพียง" แขวะคนรุ่นเก่า ใช้การบูลลี่หากิน
คึกคัก ชาววังสะพุงสืบสานงานประเพณี แห่ต้นดอกไม้เครื่อง
ผู้ตรวจฯเรียกหน่วยงานเกี่ยวข้องแจงเลือกสว.ส่อขัดรธน. หลัง "ทนายธีรยุทธ" ยื่นขอให้ชงศาลรธน.วินิจฉัย
โซเชียลสวนเดือด "กุ้ง ทัศนีย์" อดีตสส.เพื่อไทย ย้ายซบก้าวไกล โผล่วิจารณ์ระบบขนส่งฯเชียงใหม่
นิด้าโพล สะท้อนคนไทยมองแก้รธน.ไม่ควรยุ่งหมวด1-2 ไม่เชื่อทำการเมืองดีขึ้น

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น