No data was found

พบโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ จากคลัสเตอร์ตากใบ หลังถอดรหัสพันธุกรรม

กดติดตาม TOP NEWS

นักวิจัยหลากหลายสถาบัน รายงาน พบโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ จากคลัสเตอร์ตากใบ หลังถอดรหัสพันธุกรรม

วันที่ 22 พฤษภาคม 2564 นักวิจัยหลากหลายสถาบัน ซึ่งรวมตัวเป็นกลุ่ม COVID-19 Network Investigations หรือ CONI เพื่อหยุดยั้งการระบาดของโควิด-19 ด้วยข้อมูลระดับจีโนม เผยแพร่รายงานสำหรับประชาคมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การระบาดในประเทศของเชื้อ สายตระกูล B.1.351 (20H/501Y.V2) ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2564 ระบุว่า

ปัจจุบันประเทศไทยมีการระบาดในประเทศของเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สายตระกูล B.1.351 (20H/501Y.V2) หรือที่มักเรียกกันในสื่อว่าเชื้อสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ทางกลุ่มพันธมิตร COVID-19 Network Investigations (CONI) ได้รับการประสานจากทางกระทรวงสาธารณสุขให้ร่วมสืบสวนคลัสเตอร์ที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยได้รับข้อมูลว่าอาจเป็นคลัสเตอร์ติดเชื้อต่อเนื่องในประเทศไทย จากผู้ลักลอบเข้าเมือง

จากการถอดรหัสพันธุกรรมระดับจีโนมพบว่าเป็นเชื้อสายตระกูล B.1351 ทางกลุ่มฯ ได้ส่งต่อข้อมูลทั้งหมดให้กับหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขในระดับภูมิภาคและระดับชาติเพื่อสื่อสารกับประชาชนต่อไป

ทั้งนี้ ทางกลุ่มขอสื่อสารข้อมูลชุดนี้ให้ประชาคมวิทยาศาสตร์เพื่อร่วมกัน ติดตาม เฝ้าระวัง และพัฒนาวิธีป้องกันรักษาโรค

1.ตัวอย่างชุดนี้จัดเก็บโดยทางกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 13 พ.ค.2564 ทางกลุ่มฯ ได้รับตัวอย่างเมื่อวันที่ 17 พ.ค.2564 และคัดเลือกมาสามตัวอย่าง เพื่อถอดรหัสพันธุกรรมระดับจีโนม โดยตำแหน่งที่ถอดได้มีลำดับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมตรงกับสายตระกูล B.1.351 ตามระบบ PANGO

2.การถอดรหัสใช้วิธี MinION ของ Oxford Nanopore Techonlogies

3.Genomic Coverage ของสามตัวอย่างอยู่ที่ 85.01%, 90.11% และ 84.93% ตามลำดับ

4.โดยปกติทางกลุ่มจะนำเสนอข้อมูลให้กระทรวงสาธารณสุขและนำข้อมูลเข้ GISAI โดยตรง แต่เนื่องจากข้อมูลชุดนี้มีความสำคัญ ทางกลุ่มจึงนำมาแสดงต่อประชาคมวิทยาศาตร์ทันที

5.เชื้อสายตระกูล B.1.351 มีการกลายพันธุ์ในตำแหน่งที่คาดว่ามีผลกระทบต่อการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันมนุษย์ต่อไวรัส และลดประสิทธิภาพการทำงานของวัคซีน แต่มิได้แปลว่าวัคซีนจะใช้ไม่ได้ เพียงแต่ต้องเพิ่มอัตราส่วนประชากรผู้ได้รับวัคซีนให้สูงขึ้นเพื่อเกิดการป้องกันระดับประชากร

สำหรับข้อมูลดังกล่าวจัดเตรียมโดยนักวิทยาศาสตร์ 9 คน ได้แก่

1.นายขจร จุลศักดิ์ (AFRIMS)
2.ผศ.ดร.ธนรรถ ชูขจร (มหาวิทยาลัยมหิดล)
3.พญ.ดร.ธีรรัตน์ คชการ (Molecular Infection Medicine Sweden)
4.นางสาวน้ำฝน โคตะนันท์ (มหาวิทยาลัยมหิดล)
5.ศ.ดร.วสันต์ จันทราทิพย์ (มหาวิทยาลัยมหิดล)
6.นางสาววิภาพร ทับทิมทอง (มหาวิทยาลัยมหิดล)
7.ดร.อลิซาเบธ แบตตี้ (มหาวิทยาลัยมหิดล/Oxford University)
8.ดร.อินทรีย์ เสนสอน (มหาวิทยาลัยมหิดล)
9.ดร.เอกวัฒน์ ผสมทรัพย์ (มหาวิทยาลัยมหิดล)

ปัจจุบันได้มีคำแนะนำให้มีการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของไวรัสใน 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

สายพันธุ์ B.1.1.7 ที่ระบาดอยู่ในอังกฤษ โดยไวรัสตัวนี้สามารถจับกับเซลส์มนุษย์ได้ดีขึ้น และแบ่งตัวได้ดีขึ้น ส่งผลให้เกิดการแพร่เชื้ออย่างรวดเร็ว

สายพันธุ์ B.1.351 ที่ระบาดอยู่ในแอฟริกาใต้ โดยไวรัสตัวนี้สามารถหนีภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น และอาจมีผลต่อการใช้วัคซีนที่พัฒนาโดยสายพันธุ์ดั้งเดิม

สายพันธุ์ P.1 ที่ระบาดอยู่ในบราซิล ซึ่งพลาสม่าหรือระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์จับกับไวรัสนี้ได้น้อยลง เมื่อเทียบกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทัพเรือภาคที่ 1 ร่วมกิจกรรมจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567
ตำรวจ รวบหนุ่มเพื่อนบ้าน ถือปืนขู่
ครอบครัววอนช่วยตามหาญาติหายตัวขณะเที่ยวไทย
กองทุนกำลังใจฯ "เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ" เปิดอบรมหลักสูตร Care Giver หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอาย ณ ทัณฑสถานหญิงกลาง
อัยการยื่นฟ้อง "ฮาร์ท- สุทธิพงศ์" เอาผิดคดีม.112 โพสต์หมิ่นเบื้องสูง เมื่อปี 64
FBI ชี้เป้า จับหนุ่มก้ามปู ชาวมะกัน หนีข้ามแดน บีบคอเหยื่อ บังคับค้ากาม หนีกบดานไทย
"แบงค์ ศรราม" เคลียร์ชัดทุกปม หลัง "นุ่น ดำดง" ขอลาออก ทำงงกันทั้งคณะลิเก
นักปีนเขาติดบนหน้าผาในจีน 1 ชม.เหตุแออัด (คลิป)
ของแท้ปังสุด ๆ “ลิซ่า” คนไทยคนแรก สร้างตำนานโบกธงF1 ตามรอยคนดังฝั่งอเมริกา
กัวลาลัมเปอร์โกลาหล ต้นไม้ใหญ่ล้มกลางกรุง ตาย 1 (คลิป)

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น