“มาริษ” แถลงข้ามโลก ร่วมประชุมเวที UN ยันติดตามเหตุปะทะไทย-กัมพูชาใกล้ชิด แจงประชาคมโลก จุดยืนไทย ชี้ปัญหาถูกเขมรละเมิดสนธิสัญญา วางทุ่นระเบิด

รมว.กต.นำประชุมเตรียมแผนช่วยคนไทยในกัมพูชา - เผยระหว่างร่วมประชุม UN ได้ยืนยันประชาคมโลกถึงความอดกลั้นของไทย หลังกัมพูชาไม่จริงใจ-ละเมิดอธิปไตยโจมตีไทยต่อเนื่อง - ขณะที่ คมนาคมประสาน 7 สานการบินพร้อมรองรับคนไทยเดินทางกลับประเทศ

“มาริษ” แถลงข้ามโลก ร่วมประชุมเวที UN ยันติดตามเหตุปะทะไทย-กัมพูชาใกล้ชิด แจงประชาคมโลก จุดยืนไทย ชี้ปัญหาถูกเขมรละเมิดสนธิสัญญา วางทุ่นระเบิด – Top News รายงาน

 

 

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2568 นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกา เพื่อนำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปี ค.ศ. 2025 (High-Level Political Forum on Sustainable Development 2025) หรือ HLPF2025 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก VDO call มายังห้องประชุมกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเป็นประธานการประชุมเกี่ยวกับแผนการช่วยเหลือคนไทยในกัมพูชา ซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วน

 

โดยยืนยันว่า ตนได้ติดตามสถานการณ์ไทย-กัมพูชา พร้อมสั่งการในการรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง แม้ขณะนี้ อยู่ระหว่างปฏิบัติภารกิจร่วมการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปี ค.ศ. 2025 (HLPF) ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก แต่ในห้วงการเข้าร่วมการประชุมฯ กระผมได้มีโอกาสพบผู้แทนระดับสูงจากต่างประเทศ ตั้งแต่เลขาธิการสหประชาชาติ, รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศปากีสถาน ในฐานะประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSC ประจำเดือนกรกฎาคม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประเทศปานามา ซึ่งจะเป็นประธาน UNSC ในเดือนสิงหาคม ซึ่งทั้งฝ่ายปากีสถาน และปานามา ก็เห็นพ้องในการแก้ปัญหาของไทย ที่จะใช้กลไกทวิภาคี และหากมีการละเมิดอนุสัญญาออตตาวา ก็จะต้องมีการแก้ไข รวมถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นจะเป็นประธานการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาออตตาวาในเดือนธันวาคม 2568

ข่าวที่น่าสนใจ

นายมาริษ ยังได้ยืนยันให้ประชาคมโลกทราบถึงจุดยืนและความอดทนอดกลั้นของประเทศไทย ต่อการดำเนินการต่าง ๆ ของกัมพูชาที่ไม่จริงใจ โดยไทยมีความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาอย่างสันติในกรอบทวิภาคี การเคารพต่ออธิปไตย และหลักการกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงไทยได้เปิดประตูเพื่อการเจรจาทวิภาคีด้วยความจริงใจมาโดยตลอด ซึ่งแตกต่างจากท่าทีของกัมพูชา ที่ตั้งใจยั่วยุ และแทรกแซงกิจการภายในของไทย ซึ่งการกระทำของกองทัพกัมพูชาละเมิดอธิปไตยของไทย โดยเฉพาะการโจมตีอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ฝั่งไทยตลอดเช้าวันนี้ (22 ก.ค.) รวมถึงเป้าหมายพื้นที่ที่เป็นพลเรือน โดยเฉพาะโรงพยาบาลจนเป็นเหตุให้ประชาชนบาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งรัฐบาลไทยพร้อมพิจารณายกระดับมาตรการป้องกันตนเอง หากกัมพูชายังคงไม่ยุติการกระทำที่เป็นการโจมตีทางอาวุธและละเมิดอธิปไตยของไทยตามหลักสากลและกฎหมายระหว่างประเทศ

นายมาริษ ยังได้สั่งการกระทรวงการต่างประเทศ จัดเตรียมแผนการอพยพคนไทยออกจากกัมพูชาแล้ว และจากการประชุมร่วมกับกระทรวงคมนาคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสายการบินพาณิชย์ในวันนี้ (22 ก.ค.) ที่ประชุมได้พิจารณาให้มีการเพิ่มจำนวนที่นั่งในเที่ยวบินระหว่างกรุงพนมเปญและกรุงเทพ เพื่อรองรับคนไทยที่ประสงค์จะเดินทางกลับบ้าน พร้อมยังขอส่งความห่วงใยถึงพี่น้องชาวไทยทุกคนที่พำนักอยู่ในกัมพูชา และขอความร่วมมือท่านติดตามข่าวสารพัฒนาการที่เกี่ยวข้องจาก

(1) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ (โทรศัพท์ฉุกเฉิน: (+855) 77 888 114)
(2) สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเสียมราฐ (โทรศัพท์: (+855) 86 608 999)
(3) Call Center กรมการกงสุล (โทรศัพท์: (+66) 2 572 8442 ซึ่งเปิดให้บริการตลอด
24 ชั่วโมง

 

 

 

นายมาริษ ยังขอขอบคุณกระทรวงคมนาคม ผู้แทนสายการบินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มาร่วมการประชุมในครั้งนี้

ขณะที่ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้ นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคมและโฆษกกระทรวงคมนาคม และพลอากาศเอกมนัท ชวนะประยูร ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ CAAT พร้อมด้วยสายการบินพาณิชย์สัญชาติไทย ทั้ง 7 สายการบิน เข้าประชุมหารือกับกระทรวงการต่างประเทศ ถึงแผนการรองรับการเดินทางของคนไทยในกัมพูชา ที่ประสงค์เดินทางกลับประเทศไทย ผลจากสถานการณ์ความไม่สงบบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา

โดยทุกสายการบินสัญชาติไทย ทั้ง 7 สายการบิน พร้อมที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ โดยขณะนี้ มี 4 สายการบิน ที่ทำการบินในเส้นทาง กรุงเทพ-กัมพูชา อยู่แล้ว ได้แก่ การบินไทย ให้บริการ 16 เที่ยวบิน/สัปดาห์ จำนวน 180 ที่นั่งต่อเที่ยวบิน, ไทยแอร์เอเชีย 28 เที่ยวบิน/สัปดาห์ จำนวน 180 ที่นั่ง ต่อเที่ยวบิน, บางกอกแอร์เวย์ส 40 เที่ยวบิน/สัปดาห์ จำนวน 180 ที่นั่ง และ 70 ที่นั่ง ต่อเที่ยวบิน และไทยเวียตเจ็ท 16 เที่ยวบิน/สัปดาห์ จำนวน 180 ที่นั่ง ต่อเที่ยวบินและอีก 3 สายการบิน ได้แก่ ไทยไลอ้อนแอร์ ไทยแอร์เอเชียร์เอ็กซ์ และ นกแอร์ พร้อมที่จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่อรองรับการเดินทางมายังประเทศไทย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

GULF ระดมทีม "กัลฟ์อาสา" ร่วมแพ็คถุงยังชีพ 1,000 ชุด ส่งต่อกำลังใจและความช่วยเหลือให้พี่น้องประชาชนพื้นที่ชายแดนไทย–กัมพูชา
เปลี่ยนของดีชุมชนให้เป็นแบรนด์โลก CPOT เปิดเวทีเฟ้นหาสุดยอดผลิตภัณฑ์รักษ์โลก
ททท.ตราด ผู้ประกอบการท่องเที่ยวตราด ยืนยันท่องเที่ยวตราด และ 3 เกาะ ไม่มีผลกระทบ หลัง นทท.ยกเลิกห้องพักเพียบหวั่นเหตุปะทะ
"เครือซีพี" เคียงข้างชาวน่าน รวมพลังทุกกลุ่มธุรกิจเร่งช่วยผู้ประสบอุทกภัยจาก "พายุวิภา" ส่งอาหาร-น้ำดื่ม-ถุงยังชีพ พร้อมหนุนสื่อสาร-ตั้งศูนย์ประสานงาน
"ผู้ว่าฯสงขลา" มอบบ้านโครงการบ้านห่วงใยจากใจ GLO ประจำปี 2568
"วธ." เร่งเตรียมพร้อมภารกิจพิธีการศพในพระบรมราชานุเคราะห์ และสนับสนุนภารกิจอื่นในพื้นที่ จากเหตุปะทะชายแดนไทย-กัมพูชา

ดู LIVE รายการ

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น​