เจาะลึกปรับครม. เกมประลองพลังเพื่อไทย-ภูมิใจไทย ใครหลุดเก้าอี้
ข่าวที่น่าสนใจ
ประเด็นร้อนกระแสข่าวพรรคภูมิใจไทยเตรียมโหวตคว่ำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2569 เพื่อต่อรองทางการเมืองต่อความไม่พอใจที สว.สีน้ำเงินจ่อถูกเช็คบิลในคดีฮั้วเลือก สว. ทั้งนี้แม้ทั้งภูมิใจไทย และเพื่อไทยจะออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าว แต่ก็ทำให้เห็นภาพความขัดแย้งของทั้งสองพรรคเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงทำให้กระแสปรับคณะรัฐมนตรีเป็นประเด็นที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด และเชื่อกันว่าการปรับ ครม.ครั้งนี้จะเป็นการประลองกำลังกันระหว่างเพื่อไทย และภูมิใจไทย ชนิดไม่มีใครยอมก้มหัวให้กัน
ทั้งนี้เมื่อดูกระแสการปรับครม. พบว่า พรรคเพื่อไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีเช่นกัน โดยเฉพาะกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจจำเป็นต้องรีเซตใหม่ โดยรัฐมนตรีที่อาจโดนปรับออกมีชื่อนายพิชัย ชุณหวชิร” รองนายกฯ และรมว.คลัง กับนายพิชัย นริพทะพันธุ์” รมว.พาณิชย์ โดยเฉพาะนายพิชัย นริพทะพันธุ์ มีโอกาสถูกเชือดมากที่สุดเพราะ เคยถูก สส.พรรคเดียวกันซักฟอกกลางวงประชุม สส.พรรค
ขณะเดียวกันยังมีชื่อนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.ต่างประเทศหลังจากถูกสหรัฐจำกัดวีซ่ากรณีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งอุยกูร์กลับจีน โดยมีข่าวว่า นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จากพรรคชาติไทยพัฒนาจะมาดำรงตำแหน่ง รมว..ต่างประเทศแทน นิดจากนี้ยังมีรายชื่อ นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมที่ทำงานเข้าตานายใหญ่ และนายกฯเป็นอย่างมาก โดยอาจโยกมานั่งรัฐมนตรีช่วยมหาดไทย เพื่อช่วยดูแลการเลือกตั้ง แต่โผนี้เพื่อไทยจำเป็นต้องทวงคืนเก้าอี้กระทรวงมหาดไทยกลับมาให้ได้ก่อน
ชณะที่ภูมิใจไทยในฐานะพรรคอันดับ 2 ที่เที่ยวนี้ถูกจับจ้องเป็นพิเศษในฐานะพรรคการเมืองที่เปิดศึกแย่งชิงดุลอำนาจทางการเมืองกับพรรคเพื่อไทยมาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ซึ่งภาพความขัดแย้งดังกล่าวทำให้เกิด 2 สมการในการปรับครม.ครั้งนี้
สมการแรก เขี่ยภูมิใจไทยพ้นจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ทั้งนี้สำหรับ สส.ในสภามีจำนวนเสียงทั้งหมด ณ ปัจจุบัน 294 เสียง โดยพรรคร่วมรัฐบาลมี 293 เสียง ส่วนพรรคฝ่ายค้าน 171 เสียง อย่างไรก็ตามเมื่อตัดภูมิใจไทยที่ตอนนี้มี 68 เสียง รัฐบาลจะมีเสียงในพรรคร่วมดังนี้ พรรคเพื่อไทย 142 เสียง พรรคภูมิใจไทย 68 เสียง (จาก 70 เสียง นางมุกดาวรรณ เลื่องศรีนิล สส.นครศรีธรรมราช ถูกตัดสิทธิ เลือกตั้งใหม่แพ้ให้แก่พรรคล้าธรรม นายเอกราช ช่างเหลา สส.ขอนแก่น ย้ายไปพรรคกล้าธรรม) พรรครวมไทยสร้างชาติ 36 เสียง พรรคกล้าธรรม 25 เสียงเดิม บวกกับการเลือกตั้งซ่อมเขต 8 ที่ จ.นครศรีรรมราช 1 พรรคกล้าธรรมชนะการเลือกตั้ง ทำให้นายก้องเกียรติ เกตุสมบัติ ได้เป็น สส.)
นอกจากนี้ยังบวกกับนางกาญจนา จังหวะ สส.ชัยภูมิ พรรคพลังประชารัฐ นายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์” หรือ ปูอัด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยก้าวหน้า และนายเอกราช ที่ถูกขับออกจากพรรคภูมิใจไทย โดยทั้ง 3 คน ประกาศชัดเจนเตรียมย้ายไปสังกัดพรรคกล้าธรรม ขณะเดียวกันยังมี นางสาวกฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ สส.ชลบุรี พรรคประชาชนที่ออกตัวว่าจะเป็นงูเห่าให้พรรคกล้าธรรม รวมแล้วทำให้พรรคกล้าธรรมมีเสียงรวม 29 เสียง และยังมีพรรคประชาธิปัตย์ 25 เสียง ประชาชาติ 9 เสียง ชาติไทยพัฒนา 10 เสียง ชาติพัฒนา 3 เสียง ไทยรวมพลัง 2 เสียง ประชาธิปไตยใหม่ 1 เสียง และไทยสร้างไทย 5 เสียง+เสรีรวมไทย 1 (โหวตสวนมติฝ่ายค้านไว้วางใจนายกฯ)
สำหรับสมการขับภูมิใจไทยจะทำให้ขั้วรัฐบาลเหลือเสียงปริ่มน้ำที่ 263 เสียง ส่วนฝ่ายค้านหากได้ภูมิใจไทยเข้ามาเติมทำให้มีเสียงดังนี้ พรรคประชาชน 142 เสียง (จากเดิม 143 แต่ น.ส.กฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ เป็นงูเห่า ) พรรคพลังประชารัฐ 19 เสียง (จาก 20 เสียงเดิม) พรรคไทยสร้างไทย 1 เสียง พรรคเป็นธรรม 1 เสียง และพรรคภูมิใจไทย 68 เสียง ทำให้มีเสียงในมือเพิ่มขึ้นเป็น 231เสียง ซึ่งในภาพรวมของพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน จะมีเสียงต่างกันไม่มาก และต้องไม่ลืมว่า ภูมิใจไทยมีเสียง สว.อยู่ในมือ เป็นเช่นนี้แม้จะชนะเกมสภาล่าง แต่อาจยังพ่ายเกมสภาสูง
ส่วนสมการที่สอง คือเก็บภูมิใจไทยไว้ แต่บีบด้วยการยึดคืนเก้าอี้กระทรวงมหาดไทย ซึ่งสมการนี้เพื่อไทยประเมินว่า ภูมิใจไทย ไม่กล้าประกาศถอนตัว โดยการทวงคืนมหาดไทยนั้น นายทักษิณ ชินวัตร ได้ประกาศกับ สส.ที่ใกล้ชิดว่า ไม่ว่าอย่างไรต้องทวงคืนกระทรวงมหาดไทยกลับมาดูแลให้ได้ เพื่อวางโครงข่ายในการปูทางสู่การเลือกตั้งในครั้งหน้าปี 2570 แต่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่าย เพราะมีกระแสข่าวว่า ภูมิใจไทยยื่นคำขาดยอมแลกกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงคมนาคมเท่านั้น หรือไม่ก็แลกด้วยสูตร 2 แลก 1 คือ กระทรวงสาธรณสุข และกระทรวงท่องเที่ยว แลกกับมหาดไทย
ขณะที่พรรครวมไทยสร้างชาติเป็นอีกพรรคหนึ่งที่อยู่ในลิสต์การปรับเปลี่ยน โดยว่ากันว่าอาจมีชื่อรัฐมนตรี 2 คนที่ถูกปรับเปลี่ยน คนแรกคือนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานที่งานนี้บอกได้คำเดียวว่าสาหัส เพราะนอกจากจะมีความขัดแย้งกับนายทุนพลังงานที่เกื้อหนุนพรรค และสิ่งสำคัญ นายพีระพันธุ์ มี 2 เรื่องร้องเรียน คือ 1.การเข้าไปถือหุ้น และเป็นกรรมการบริษัทถึง 3 แห่งระหว่างเป็นรัฐมนตรี ซึ่งถือเป็นขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 170 (5) ประกอบกับมาตรา 187 วรรคหนึ่งที่กำหนดว่า รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น หรือกรรมการในบริษัทใด หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด
2.เรื่องถุงยังชีพที่มีการอ้างว่า นายพีระพันธุ์ติดชื่อตนเองไว้บนถุงยังชีพ ขณะลงพื้นที่จ.นครศรีธรรมราช ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2567 ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดต่อมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 ข้อ 17 ที่ระบุว่า ไม่กระทําการใดที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ และจากกรณีดังกล่าวอาจส่งผลให้ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จำเป็นต้องปรับนายพีระพันธุ์ออกจากคณะรัฐมนตรี เพราะไม่อยากเสี่ยงต่อการถูกยื่นคำร้องในเรื่องความไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์กรณีแต่งตั้งรัฐมนตรีที่กระทำผิดจริยธรรมจนส่งผลให้ตกเก้าอี้เหมือนนายเศรษฐา ทวีสิน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ขณะที่หนึ่งเก้าอี้ร้อนรัฐมนตรีของพรรครวมไทยสร้างชาติอาจเป็นนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ที่ถูกกระแสปรับเปลี่ยนจากลุ่มประชาธิปัตย์เก่า และกลุ่ม กปปส.ที่ต้องการทวงคืนเก้าอี้ ซึ่งว่ากันว่า นายสุชาติ ทำใจยอมรับในเรื่องดังกล่าวไว้แล้ว ซึ่งการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีรวมไทยสร้างชาติในครั้งนี้มีชื่อนางพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กลับเข้ามาเป็นรัฐมนตรีด้วย
อย่างไรก็ตามในส่วนการปรับคณะรัฐมนตรีในพรรคร่วมรัฐบาลที่เหลือเช่น พรรคกล้าธรรม ประชาธิปัตย์ ประชาชาติ ชาตไทยพัฒนา น่าจะไม่มีการขยับอะไรมากนัก และนี่คือภาพรวมสถานการณ์การปรับครม.ที่จะเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายนนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวล่าสุด
เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น