ความมั่นคงที่ควรเอาใจใส่ : ปกรณ์ นิลประพันธ์

ความร้อนแรงในดินแดนทะเลทราย ทำให้ต้องคิดถึงความมั่งคงอย่างมาก โดยเฉพาะ “ความมั่นคงทางพลังงาน” เนื่องจากเรานำเข้าน้ำมันและก๊าซเกือบทั้งหมด แล้วนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าและการคมนาคม

TOP News  โดย ปกรณ์ นิลประพันธ์  สมัยผมเด็ก ๆ ยังจำได้ ในปี 1973 (2516) เกิดสงครามยม คิปปูร์ ระหว่างอิสราเอลกับชาติอาหรับรอบ ๆ น้ำมันขาดแคลนราคาพุ่งสูงมาก มีสตางค์ก็หาซื้อน้ำมันไม่ได้ ตอนนั้นถึงกับต้องออกพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 เพื่อจัดสรรปันส่วนน้ำมันกันทีเดียว ปี 1979 (2522) เกิดปฏิวัติในอิหร่าน นั่นก็อีกรอบหนึ่ง ยังดีว่าช่วงนั้นบ้านเรากำลัง transform จากสังคมเกษตรกรรมไปเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น โรงงานปิดก็ยังกลับบ้านไปทำไร่ทำนาเก็บผักกินได้ ไฟฟ้าก็ยังไม่ทั่วถึง ติด ๆ ดับ ๆ กันตลอด จุดเทียนกันจนชิน พลังงานไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพอย่างเดี๋ยวนี้ ถ้าเกิดเหตุไม่คาดหมายขึ้นมาในตะวันออกกลางในช่วงนี้ และไม่มีน้ำมันสักหยดออกมาจากตะวันออกกลางตามที่มีการขู่กัน คงเดือดร้อนกันไปทั่วทุกหัวระแหง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“ความมั่นคงทางอาหาร” ผมก็ไม่แน่ใจนักว่าเรามั่นคงจริง บ้านเมืองเปลี่ยนไปมาก ดินดำน้ำชุ่ม ในน้ำมีปลาในนามีข้าว มันกลายเป็นภาพจำ ไม่ใช่ภาพจริง ภาพจริงคือที่ดิน เรือ สวน ไร่ นา กลายเป็นถนน เป็นหมู่บ้าน เป็นคอนโด หมดแล้ว ไม่มีผักบุ้งให้เก็บ ไม่มีกระถินริมรั้วให้เก็บ ไม่มีดอกโสนให้เก็บ อยากกินปลาก็คว้าเบ็ดไปตกปลาในสวน ในคลอง อย่างตอนผมเด็ก ๆ แล้ว

ความมั่นคงทั้งสองด้านนี่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งภาคธุรกิจทั้งหลายทั้งปวง เราไม่ค่อยให้ความสนใจความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนอกบ้านเรามากนัก ทั้งที่มันส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนหลายสิบล้านคน และต่อความเชื่อมั่นที่มีต่อภาครัฐด้วย เราสนใจเรื่องการเมืองและผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าเรื่องส่วนรวมเหล่านี้

 

ประเทศใหญ่ ๆ เขาให้ความสำคัญแก่ความมั่นคงทั้งสองด้านนี้มาก อเมริกาหรือรัสเซียมีน้ำมันสำรองมาก มีพื้นที่เพาะปลูกมาก แถมยังมีนิวเคลียร์ไว้เป็นยันต์กันผี จีนประชากรเยอะ ทรัพยากรในประเทศมีจำกัด เขาก็พยายามเปิดเส้นทางไปยังแอฟริกาเพื่อความมั่นคงทางพลังงาน และไปยังออสเตรเลียเพื่อความมั่นคงทางอาหาร แถมมียันต์นิวเคลียร์ด้วย เมื่อสองเรื่องนี้มั่นคงแล้ว เรื่องอื่นมันจะตามมาเอง ไม่ว่าจะเป็นความอยู่ดีกินดีของประชาชน ความสามารถในการแข่งขัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศใหญ่ ๆ จึงเน้นสองเรื่องนี้เป็นหลัก

ประเทศเล็ก ๆ อย่างเราจะสถาปนาความมั่นคงที่ว่านี้ขึ้นได้อย่างไรเพื่อดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนให้มีความผาสุก ผมว่าเราควรใช้เวลาและความอุตสาหะในเรื่องนี้มากขึ้น

น่าจะดีกว่าหมกมุ่นในเรื่องเดิม ๆ ที่รังแต่จะเกิดความวุ่นวายตามมาอีก.

ผ่าจุดอ่อนสังคมไทย “รากลอย” ฝ่าวิกฤตการเมืองโลกแบ่งขั้ว | TOPNEWS

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"หมอวรงค์" ถาม "อ.พนัส" ไม่รู้จริงหรือ "นายกฯอื๊งค์" คุย "ฮุน เซน" นินทา มท.ภ.2 ผิดจริยธรรมข้อไหน
"ดร.สามารถ" ทวงแรง "โครงการแลนด์บริดจ์" คืบหน้าถึงไหนแล้ว รัฐบาลประกาศจะเปิดประมูลปลายปี 68
วันนี้ "หมอตุลย์" นัดยื่นหนังสือ "ผบ.ตร." ค้านเลื่อนขั้น 2 แพทย์ใหญ่ โดนแพทยสภาชี้ผิดจริยธรรม เอื้อ"ทักษิณ" นอนชั้น 14
"เครือข่ายกัญชา" บุก สธ.วันนี้ เตรียมปักหลักค้าง เปิดเวทีอภิปราย "สมศักดิ์" ปมสมุนไพรควบคุม
ประชุมนัดแรกวันนี้ "บช.ก." เดินหน้าสอบคำร้อง "สมชาย" พร้อมคณะ เอาผิด "นายกฯอิ๊งค์" ปมคลิปเจรจา "ฮุน เซน"กระทบความมั่นคงรัฐ
"กรมอุตุฯ" เตือน ฝนตกหนัก เช็ก 39 จว.อ่วม เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก กทม.ก็โดนด้วย
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) “นาจา 2” สร้างสถิติหนังจีนทำรายได้ในต่างประเทศสูงสุดรอบ 20 ปี
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ชมปรากฏการณ์ 'แม่น้ำสองสี' หลังฝนตกหนักในฉงชิ่ง
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) เจ้อเจียงเปิดตัว 'แพลตฟอร์มท่องเที่ยว' พลัง AI
กกล.บูรพา รวบ 2 สาวไทย อ้างถูกหลอกทำงานปอยเปต เบื้องหลังรับจ้างข้ามแดนเปิด "บัญชีม้า-สแกนหน้า" ให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น