ผ่าจุดอ่อนสังคมไทย “รากลอย” ฝ่าวิกฤตการเมืองโลกแบ่งขั้ว : ปกรณ์ นิลประพันธ์

รัฐบาลประเทศเป้าหมายที่รู้ทัน ไม่ว่าช้าหรือเร็ว พยายามเป็นกลางหรือเอาตัวออกห่าง ก็มักจะถูกบ่อนเซาะให้ขาดเสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม จนผู้คนลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลเพื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ที่สนับสนุนค่ายของตน

หมายเหตุ : เขียน โดย  ปกรณ์ นิลประพันธ์

การเมืองระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่จะตึงเครียดมากขึ้น แน่นอนว่าระบอบขั้ว ระบอบค่าย ที่จางหายไปหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในช่วงปลาย 1980s จะกลับมา คนรุ่นผมคงจะพอจำกันได้ถึง “การแทรกแซง” รูปแบบต่าง ๆ ของแต่ละขั้ว แต่ละค่าย ที่จะทำให้ “รัฐเป้าหมาย” มาอยู่ในค่ายของตัวเองเพื่อถ่วงดุลอีกค่ายหนึ่ง ผ่านการสนับสนุนหรือแม้กระทั่งทำลายในรูปแบบต่างๆ ทั้งทางตรง ทางอ้อม และทางลับเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่า โดยใช้จุดอ่อนหลัก ๆ คือ

1. การศึกษาของประเทศเป้าหมายมักจะอ่อนแอ ผู้คนพร้อมที่จะ “เชื่อ” และเฮโลสาระพากับคารมคมคายของคนที่ชอบหรือที่คิดว่าใช่ มากกว่าที่จะคิดหาคำตอบ “ด้วยเหตุผล

2. มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูง ผู้คนมีความสามารถในการทำงานจำกัด ไม่มีค่านิยมในการทำงานหนัก ชอบทำน้อยได้มาก ประมาณนั้น

3. ระบบสังคมไม่เข้มแข็ง ผู้คนส่วนใหญ่ของประเทศเป้าหมายนั่นมักจะคิดถึงแต่ตัวเองมากกว่าส่วนรวม กับ “รากลอย” ไม่รู้จักและไม่รักในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของตนเอง

4. ชอบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือแก้ผ้าเอาหน้ารอดไปวัน ๆ ไม่คิดถึงความยั่งยืนของส่วนรวมในระยะยาว

การแทรกแซงที่เขาทำกันเนียน ๆ ในอดีตคือ

1. การให้ทุนไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน ในประเทศในค่ายของตนนัยว่าเขามีความก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการชั้นสูง ใครรู้เท่าทัน ก็โชคดีไป แต่ถ้าใครไม่รู้เท่าทัน ก็จะกลายเป็นเครื่องมือของเขาไป

2. การใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์เพื่อสอดแทรกค่านิยมค่ายของตนในประเทศเป้าหมาย เดี๋ยวนี้คงเพิ่มโซเชียลมีเดียเข้าไปด้วย เพื่อสร้าง popular culture เพราะคนพร้อมที่จะเชื่อมากกว่าจะคิดตามเหตุผล

3. การให้อาวุธมือสองมาใช้งานแบบราคามิตรภาพหรือให้เปล่า ซึ่งจริง ๆ แล้วของฟรีไม่มีในโลก

4. การให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคในด้านต่าง ๆ เพื่อส่งคนเข้ามาสอนคนในประเทศเป้าหมาย ให้เกิดความรู้สึกรักชอบต่ายของตนขึ้นผ่าน “มิตรภาพ” อันบริสุทธิ์

รัฐบาลประเทศเป้าหมายที่รู้ทัน ไม่ว่าช้าหรือเร็ว พยายามเป็นกลางหรือเอาตัวออกห่าง ก็มักจะถูกบ่อนเซาะให้ขาดเสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม จนผู้คนลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลเพื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ที่สนับสนุนค่ายของตน

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในช่วงสงครามเย็น จางหายไปพักนึงดังว่า แต่มันกลับมาอีกแล้ว แรงและเร็วกว่าเดิมโดยการผสมผสานของเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย

มีตำรา/เอกสารมากมาย แต่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของตำราประวัติศาสตร์บ้านเรา ที่ยังเน้นให้ท่องจำว่ากรุงตั้งเมื่อไร เสียกรุงวันไหน ปีไหน บางเล่มยังวนเวียนอยู่กับภูเขาอัลไตอยู่เลย

ในทัศนะผม การทำยุทธศาสตร์ การวางนโยบาย และการวางแผนงานโครงการต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองระหว่างประเทศนี้ให้มาก เพราะมันจะกระทบต่อระบบของเราโดยตรง จะคิดแบบการค้าเสรีมาก ๆ อย่างในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมาอีกไม่ได้ แต่ที่สำคัญคือต้องปิดจุดอ่อนหลักสามสี่ประการข้างต้นให้ได้เพื่อสร้างความเข้มแข็งจากภายใน จะได้ไม่ถูกบ่อนเซาะได้ง่าย ๆ

ผมแก่ใกล้ปลดระวางแล้ว ก็ทำเท่าที่จะทำได้ และบ่นบ่อย ๆ เพื่อชวนคิดชวนลงมือแก้ปัญหากัน

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทอ.กองบิน 46 พิษณุโลก" เตรียมเรียกกำลังสำรอง ฝึกช่วยเหลือบรรเทาสาธารณะภัย ในการช่วยเหลือปชช.
ทรัมป์ลั่นจะเก็บภาษีปท.ที่เข้าข้าง”บริกส์”เพิ่มอีก 10%
"กปน." ยันอุบัติเหตุงานก่อสร้างถังเก็บน้ำใส สถานีสูบจ่ายน้ำมีนบุรี ไม่กระทบโครงสร้างอาคาร เร่งดูแล ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
"หมอวรงค์" ถาม "อ.พนัส" ไม่รู้จริงหรือ "นายกฯอิ๊งค์" คุย "ฮุน เซน" นินทา มท.ภ.2 ผิดจริยธรรมข้อไหน
"ดร.สามารถ" ทวงแรง "โครงการแลนด์บริดจ์" คืบหน้าถึงไหนแล้ว รัฐบาลประกาศจะเปิดประมูลปลายปี 68
วันนี้ "หมอตุลย์" นัดยื่นหนังสือ "ผบ.ตร." ค้านเลื่อนขั้น 2 แพทย์ใหญ่ โดนแพทยสภาชี้ผิดจริยธรรม เอื้อ"ทักษิณ" นอนชั้น 14
"เครือข่ายกัญชา" บุก สธ.วันนี้ เตรียมปักหลักค้าง เปิดเวทีอภิปราย "สมศักดิ์" ปมสมุนไพรควบคุม
ประชุมนัดแรกวันนี้ "บช.ก." เดินหน้าสอบคำร้อง "สมชาย" พร้อมคณะ เอาผิด "นายกฯอิ๊งค์" ปมคลิปเจรจา "ฮุน เซน"กระทบความมั่นคงรัฐ
"กรมอุตุฯ" เตือน ฝนตกหนัก เช็ก 39 จว.อ่วม เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก กทม.ก็โดนด้วย
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) “นาจา 2” สร้างสถิติหนังจีนทำรายได้ในต่างประเทศสูงสุดรอบ 20 ปี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น