เช็กสิทธิ “บำเหน็จ – บำนาญ” ชราภาพ ประกันสังคม อายุครบ 55 ปีได้เงินแบบไหน เงื่อนไขอะไรบ้าง

บำเหน็จ หรือ บำนาญ? ถ้าใครกำลังสงสัยเรื่องกรณีเงินชราภาพ อ่านเลย! สำนักงานประกันสังคมมาตอบให้แล้ว

เช็กสิทธิ “บำเหน็จ – บำนาญ” ชราภาพ ประกันสังคม อายุครบ 55 ปีได้เงินแบบไหน เงื่อนไขอะไรบ้าง – Top News รายงาน 

 

บำเหน็จ - บำนาญ

 

สำนักงานประกันสังคมได้เรียกเก็บเงินสมทบ “ชราภาพ” เพื่อเป็นเงินสะสมสำหรับสมาชิกประกันสังคมเมื่อถึงวันเกษียณอายุ ซึ่งปัจจุบัน กองทุนมีการจ่ายเงินบำเหน็จ – บำนาญชราภาพให้กับสมาชิกแล้ว

วันนี้ (23 พ.ค. 2567) สำนักงานประกันสังคมได้มีการแชร์สิทธิประโยชน์การจ่าย บำเหน็จ หรือ บำนาญ? ถ้าใครกำลังสงสัยเรื่องกรณีเงินชราภาพ อ่านเลย! สำนักงานประกันสังคมมาตอบให้แล้ว

ถาม: ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่อายุครบ 55 ปี จะได้รับเงินชราภาพแบบใด?

ตอบ: กรณีส่งเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน ได้รับเป็นบำเหน็จชราภาพ แต่หากส่งเงินสมทบ 180 เดือนขึ้นไป
(ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม)  ได้รับเป็นบำนาญชราภาพ

โดยผู้ประกันตนจะมีสิทธิในการขอรับประโยชน์ทดแทนก็ต่อเมื่อเป็นไปตาม หลักเกณฑ์เงื่อนไข ดังนี้

1) มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
2) ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

 

ประกันสังคม

ข่าวที่น่าสนใจ

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ชี้แจง เปรียบเทียบ-สูตรคำนวณ “เงินบำนาญ” ผู้ประกันตนจ่ายเงินประกันสังคมทุกเดือน เมื่อครบ 180 เดือน หรือ 15 ปีขึ้นไป  สามารถขอรับเงินกรณีบํานาญชราภาพโดยจะได้รับเงินเป็นรายเดือนตลอดชีวิต

เงื่อนไข

  • จ่ายเงินสมบทตั้งแต่ 180 เดือน หรือ 15 ปีขึ้นไป
  • อายุครบ 55 ปี บริบูรณ์
  • สิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน

 

ผู้ประกันตนสามารถดูเงินสมทบบำนาญ ชราภาพ เบื้องต้นได้จากตารางหรือคำนวณจากสูตรนี้

คำนวณเงินที่ได้รับ 2 กรณี

1. เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 180 เดือน หรือ 15 ปี 
จะได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ฐานเงินเดือนสูงสุดที่คิดคือ 15,000 บาท)
ตัวอย่างเช่น : ผู้ประกันตนอายุ 55 ปี จ่ายเงินสมทบมาแล้ว15 ปี
มีรายได้เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 15,000 บาท
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ เดือนละ 3,000 บาท

2️. เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน (15 ปี) ขึ้นไป
จะได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
(ฐานเงินเดือนสูงสุดที่คิดคือ 15,000 บาท)
และได้เพิ่ม อีก 1.5% ของทุกปี = 20% + (1.5*จำนวนปี)
ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนอายุ 60 ปี จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 35 ปี
มีรายได้เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 15,000 บาท
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ เดือนละ 7,500 บาท

บำนาญ

กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน (5 ปี) นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ
ทายาทมีสิทธิ์ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

 

สิทธิประโยชน์ กรณีชราภาพ

“เงินชราภาพ” มาจากเงินสมทบที่จ่ายประกันสังคม คิดเป็น 3% ของฐานเงินเดือนที่นำส่งเงินสมทบ โดยผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 เท่านั้นที่จะได้รับสิทธิ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ “เงินบำเหน็จชราภาพ” ที่จ่ายเป็นก้อนครั้งเดียว และ “เงินบำนาญชราภาพ” ที่จ่ายให้รายเดือนตลอดชีวิต ซึ่งจะมีการเบิกจ่ายและเงื่อนไขในการใช้สิทธิประกันสังคมที่แตกต่างกันพตามระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ

 

บำเหน็จชราภาพ

สำนักงานประกันสังคม ระบุว่า ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำเหน็จกรณีชราภาพได้ ต้องตรงตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ประกอบด้วย 1) อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ 2) สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตัว 3) เป็นผู้ทุพพลภาพ 4) เสียชีวิต ดังนี้

กรณีจ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินออมชราภาพของผู้ประกันตนฝ่ายเดียว โดยจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่าที่ผู้ประกันตนจ่ายให้กับสำนักงานประกันสังคม
กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน (15 ปี) จะได้รับเงินออมชราภาพของผู้ประกันตน + เงินสมทบนายจ้าง +ผลประโยชน์ตอบแทน ตามยอดเงินชราภาพ
เช็กสิทธิผู้ประกันสังคม กรณีผู้ประกันตน ม.33-ม.39 เสียชีวิต ทายาทได้รับ 3 สิทธิ

 

บำนาญชราภาพ

สำนักงานประกันสังคม ระบุอีกว่า ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญกรณีชราภาพ เมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ดังนี้

กรณีจ่ายเงินสมทบ 180 เดือน (15 ปี) จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนคิดเป็นอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่จ่ายประกันสังคม โดยคำนวณจากฐานค่าจ้าง ขั้นต่ำ 1,650 บาท สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

ยกตัวอย่างเช่น กรณีผู้ประกันตนอายุ 55 ปี จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 15 ปี มีรายได้เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 15,000 บาท ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญเดือนละ 3,000 บาท

  • กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนคิดเป็นอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่จ่ายประกันสังคม + อัตราการจ่ายเงินบำนาญให้อีก 1.5% ต่อปีของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ

ยกตัวอย่างการคำนวณจากเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด 15,000 บาท เช่น

  • ส่งเงินสมทบ 15-20 ปี มีค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 20.00-27.50% จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 3,000-4,125 บาท/เดือน
  • ส่งเงินสมทบ 21-25 ปี มีค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 29.00-35.00% จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 4,350-5,250 บาท/เดือน
  • ส่งเงินสมทบ 26-30 ปี มีค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 36.50-42.50% จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 5,475-6,375 บาท/เดือน
  • ส่งเงินสมทบ 31-35 ปี มีค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 44.00-50.00% จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 6,600-7,500 บาท/เดือน

ส่วนในกรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน (5 ปี) นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ทายาทมีสิทธิ์ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพ

    –  แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01)

กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย

  • สำเนามรณะบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ
  • สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันคนและของบริดามารดา (ถ้ามี)
  • สำเนาสูติบัตรของบุตรหรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร กรณีไม่มีสูติบัตร
  • หนังสือระบบให้เป็นผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ (ถ้ามี)

 กรณีบำนาญชราภาพ

สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอฯ ต้องผูกบัญชี “พร้อมเพย์”

สำเนาสมุดบัญชี เงินฝากธนาคารหน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 11 ธนาคาร ดังนี้

  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)
  • ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)
  • ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน)
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรห์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

หลังจากผู้ที่ยื่นขอเงิน “บำนาญชราภาพ” ทางสำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการตรวจสอบสิทธิ และ เงินบำนาญที่จะได้ในแต่ละเดือน โดยจะทำการโอนเข้าบัญชีทุกวันที่ 25 ของทุกเดือน

อย่างไรก็ตาม กรณีผู้ขอ “บำนาญชราภาพ” หลังจากได้รับอนุมัติ แล้วมีการโอนเงินแล้ว แต่ภายหลังกลับเข้าทำงานและเข้าระบบประกันสังคม หากไม่เกิน 60 วัน สามารถแจ้งใช้สถานพยาบาลเดิมได้ แต่หากเกิน 60 วัน ต้องเลือกสถานพยาบาลใหม่

 

 

รู้แบบนี้แล้ว อย่าปล่อยให้ตนเองขาดสิทธิ! ส่งเงินสมทบให้ตรงตามกำหนด กดลงทะเบียนผ่าน LINE @ssothai เพื่อไม่ให้พลาดทุกการแจ้งเตือน! 📲

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอบคุณ : สำนักงานประกันสังคม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผบช.ภ.2 เตือน! เครือข่ายรับจ้างเปิด บช.คอกม้า ติดคุกหัวโต 20 ปี สั่ง ตร.สืบภ.2 ปิดเส้นทางธรรมชาติตะเข็บชายแดนไทย-กัมพูชา ตามนโยบายของรัฐบาลฯ และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ว่าที่ผู้สมัคร สจ. เขต 3 อำเภอศรีราชา พรรคประชาชน โอด ป้ายแนะนำตัวถูกมือดีทำลายเสียหาย ยันเอาผิดไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง
"ทวี" แจงพักโทษ "บุญทรง" ผ่านพิจารณาคณะกรรมการฯ ยึดเกณฑ์กม.ได้สิทธิพร้อมกันพันราย
"กกต." ไม่เลื่อนเลือก "ส.อบจ.-นายก อบจ." ยังคงกำหนดให้เลือกตั้ง 1 ก.พ.2568 ยันเหมาะสมแล้ว
"พิพัฒน์" สั่งลดสมทบเงินประกันตน เตรียมแผนช่วยแรงงาน ระดมแจกถุงยังชีพช่วยน้ำท่วมใต้
ควาญช้าง 33 เชือก วอน "ผู้ว่าฯ เพชรบูรณ์ - ผู้จัด" จ่ายค่าตัวช้าง 6 แสนบาท
"บิ๊กเต่า" เตรียมแจ้งข้อหา "สามารถ" เพิ่มอีกคดี หลังพบเส้นเงิน บังคับขู่เข็ญลงทุนให้จ่ายกว่า 5 แสนบาท
จับตา "ส.ป.ก.สระบุรี" ลุยสอบบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ ถือครองที่ดิน 700 ไร่ ผิดกม.
ช่วย 4 คนไทย พ้นขุมนรก หลังถูกหลอกทำงานแก๊งคอลฯ
รมว.กต.เรียกทูตเมียนมาพบ จี้ปล่อยตัว 4 ลูกเรือคนไทย ลั่นรัฐบาลขอให้คำมั่น จะดำเนินการเร็วที่สุด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น