No data was found

“คุณภาพอากาศไทย” แย่ อันดับ 2 ของโลก ภาคเหนือ อันดับ 1 มลพิษ

คุณภาพอากาศไทย แย่ อันดับ 2 ของโลก ภาคเหนือ อันดับ 1 มลพิษ

กดติดตาม TOP NEWS

"คุณภาพอากาศไทย" แย่ พุ่งติดอันดับ 2 ของโลก มลพิษทางอากาศภาคเหนืออ่วม อันดับ 1 ของประเทศ ทำอย่างไรถึงจะอยู่ร่วม PM2.5 ให้ปลอดภัย?

TOP News รายงาน “คุณภาพอากาศไทย” วันนี้ 7 มีนาคม 2567 ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) และมลพิษทางอากาศ PM2.5 ในโลก (ณ เวลา 10.52 น.) ประเทศไทย รั้งอันดับที่ 2 เป็นรอง อินเดีย (AQI เท่ากับ ไทย = 190) ขณะที่ อันดับเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดของไทย แบบเรียลไทม์ (ณ เวลา 10.54 น.) ดอยสะเก็ด, จังหวัดเชียงใหม่ มาเป็นอันดับ 1 AQI = 215

ข่าวที่น่าสนใจ

คุณภาพอากาศไทย แย่ พุ่งติดอันดับ 2 ของโลก มลพิษทางอากาศภาคเหนืออ่วม อันดับ 1 ของประเทศ ทำอย่างไรถึงจะอยู่ร่วม PM2.5 ให้ปลอดภัย?

เว็บไซต์ iqair รายงาน คุณภาพอากาศในโลก ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) และมลพิษทางอากาศ PM2.5 ในโลก วันที่ 7 มี.ค. ณ เวลา 10.52 น. 10 อันดับคุณภาพอากาศตามเมืองสำคัญของโลก “คุณภาพอากาศไทย” พุ่งทะยานรั้งอันดับ 2

  • อันดับ 10 เสิ่นหยาง, จีน (AQI = 160)
  • อันดับ 9 ปักกิ่ง, จีน (AQI = 161)
  • อันดับ 8 มุมไบ, อินเดีย (AQI = 161)
  • อันดับ 7 หางโจว, จีน (AQI = 162)
  • อันดับ 6 ธากา, บังกลาเทศ (AQI = 172)
  • อันดับ 5 ลาฮอร์, ปากีสถาน (AQI = 176)
  • อันดับ 4 ย่างกุ้ง, เมียนม่าร์ (พม่า) (AQI = 179)
  • อันดับ 3 เดลี, อินเดีย (AQI = 187)
  • อันดับ 2 เชียงใหม่, ไทย (AQI = 190)
  • อันดับ 1 โกลกาตา, อินเดีย (AQI = 190)

ขณะที่ อันดับเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดของไทย (ณ เวลา 10.54 น.) 3 อันดับแรก ได้แก่ ดอยสะเก็ด เชียงใหม่ AQI 215, แม่เมาะ ลำปาง AQI 199 และ สันทราย เชียงใหม่ AQI 194 ตามลำดับ

คุณภาพอากาศไทย แย่ พุ่งติดอันดับ 2 ของโลก มลพิษทางอากาศภาคเหนืออ่วม อันดับ 1 ของประเทศ ทำอย่างไรถึงจะอยู่ร่วม PM2.5 ให้ปลอดภัย?

“คุณภาพอากาศไทย” แย่ ปัญหาวิกฤติ PM2.5

เป็นเรื่องปกติที่เมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ หรือเชียงใหม่ และเมืองหลวงของอีกหลายประเทศทั่วโลก ต้องเผชิญปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในอากาศอยู่เสมอ ด้วยประชากรหนาแน่น ความคับคั่งของการจราจร รวมถึงเขม่าควัน และฝุ่นผงจากการก่อสร้าง

แต่ปัญหาวิกฤติที่ชาวเมืองกำลังวิตกคือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทำให้ขาดความตระหนักถึงอันตรายต่อสุขภาพอย่างใหญ่หลวง ฝุ่นละอองจิ๋ว PM 2.5 ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้เครื่องจักร โดยเฉพาะเครื่องยนต์ของทั้งรถยนต์ใหม่และเก่า มักมีปริมาณสูงสุดช่วงรถติดมาก ๆ ในช่วงเช้าและเย็นของวันทำงาน โดยมากจะเกิดในช่วงฤดูหนาวที่อากาศนิ่งและแห้ง ส่งผลให้ฝุ่นไม่ลอยขึ้นที่สูง อีกทั้งปัญหาลมพัดผ่านได้ยาก อากาศหยุดนิ่ง เนื่องจากมีตึกสูงปิดกั้นทางลม รวมถึงฝุ่นจากการก่อสร้าง การลักลอบเผาที่มีอยู่แทบทุกพื้นที่ ก็เป็นปัจจัยเกื้อหนุนทำให้คุณภาพอากาศเลวร้ายลง

ภัยร้ายแรงของฝุ่นจิ๋ว?

ด้วยขนาดที่เล็กมาก ทำให้ฝุ่นพิษ PM2.5 สามารถถูกสูดเข้าลึกถึงทางเดินหายใจและปอด บางอนุภาคยังอาจเข้าสู่กระแสเลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย อาทิ ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคหอบหืดกำเริบ หรือเป็นสาเหตุให้คนปกติเป็นหอบหืดได้เช่นกัน หากไม่รีบแก้ไข หรือไม่รู้ตัวว่าได้สูดเอามลพิษขนาดเล็กเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและปอดจนสะสมเป็นเวลานาน อาจเป็นปัจจัยให้เกิดมะเร็งปอดได้ในที่สุด

ขณะที่ การสูดหายใจเอาฝุ่นละอองพิษเล็กจิ๋วติดต่อกันระยะหนึ่ง ก็จะส่งผลให้เกิดการตกตะกอนภายในหลอดเลือด จนทำให้เกิดหัวใจวาย หรือหลอดเลือดสมองตีบได้ ทั้งนี้ การสัมผัสมลพิษทางอากาศยังมีผลต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เต้นผิดจังหวะ และอาจรุนแรงจนส่งผลให้หัวใจวายเฉียบพลัน

รวมทั้ง เมื่อฝุ่นผงขนาดเล็กสามารถผ่านเข้าสู่กระแสเลือดและเกิดการสะสมขึ้น จะส่งผลให้ความดันโลหิตสูง และเลือดมีความหนืด ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดลิ่มเลือดในสมอง รวมถึงหลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว ทำให้เส้นเลือดในสมองตีบ หรือแตก เป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์อัมพาตและเสียชีวิตได้

กลุ่มเสี่ยงอันตรายจากฝุ่นพิษ?

ทุกคนที่กำลังเผชิญปัญหาฝุ่นพิษโดยที่ไม่ป้องกัน มีความเสี่ยงเกิดโรคมากน้อยขึ้นกับสุขภาพและความแข็งแรงของร่างกาย สำหรับเด็ก หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคปอดหรือโรคหัวใจ ถือเป็นผู้มีความเสี่ยงสูงขึ้น อาจถึงกับชีวิตได้

สังเกตตัวเอง?

โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรพกยาติดตัวเสมอ หรือพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา

สำหรับผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสถานที่หนาแน่นของมลพิษทางอากาศ หรือไม่แน่ใจการป้องกันตนได้ผลหรือไม่ โดยเฉพาะบุคคลในกลุ่มเสี่ยง หากพบอาการ เช่น หายใจลำบาก หน้ามืด อ่อนแรง หรือไอติดต่อกันรุนแรง ควรรีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาให้ทันท่วงที

อยู่ร่วมฝุ่นพิษให้ปลอดภัย?

  • สำหรับการอยู่ร่วมกับฝุ่นพิษตัวร้ายอย่างไรให้ปลอดภัยนั้น แนะนำให้ติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อตรวจวัดคุณภาพอากาศก่อนออกนอกบ้าน โดยค่าดัชนีคุณภาพอากาศ Air Quality Index หรือ AQI ที่ปลอดภัยสำหรับประชาชนทั่วไปต้องน้อยกว่า 100
  • ควรงดทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือใช้เวลาอยู่ภายนอกอาคารให้น้อยที่สุด
  • หากจำเป็นต้องอยู่นอกอาคารให้สวมใส่หน้ากากป้องกัน PM2.5
  • ปิดหน้าต่างและประตูบ้านเมื่อค่าฝุ่นพิษเกินมาตรฐาน ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศทั่วไปใหม่ จากเดิมต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถูกปรับลงมา โดยตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 66 จะต้องไม่เกิน 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • ใช้เครื่องกรองอากาศชนิดมีแผ่นกรอง HEPA Filter ภายในบ้านโดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจ
  • หมั่นดูแลสภาพรถยนต์ ทำความสะอาดระบบปรับอากาศของรถให้อยู่ในสภาพดี งดการเผาไหม้ขยะหรือสิ่งของที่อาจก่อมลพิษมากขึ้น

ทั้งนี้ ต้องเน้นย้ำกันอีกครั้งว่า อย่ามองข้ามปัญหามลพิษร้ายแรงที่เรากำลังเผชิญ เพราะฝุ่นเล็กจิ๋วที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่านี้ อันตรายร้ายแรงถึงชีวิตทีเดียว

คุณภาพอากาศไทย แย่ พุ่งติดอันดับ 2 ของโลก มลพิษทางอากาศภาคเหนืออ่วม อันดับ 1 ของประเทศ ทำอย่างไรถึงจะอยู่ร่วม PM2.5 ให้ปลอดภัย?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ตร.กัมพูชา" จับเพิ่มอีก 1 หนุ่มเกาหลี คดีฆ่ายัดถังโบกปูน เร่งสอบหาปมแค้น
ดุเดือด "แม่น้องไนซ์-ลูกหาบเชื่อมจิต" รุมเถียงเจ้าหน้าที่ พม.หลังถามไม่เข้าหู ชาวเน็ตเมนต์สนั่น
หัวอกพ่อสุดช้ำ ลูกชายโดนรุ่นพี่ ม.2 รุมทำร้าย ไฟแช็คจี้คอ ทำเครียดอยากย้ายโรงเรียน
ทนายความยืนยัน "บุ้ง ทะลุวัง" เสียชีวิตแล้ว หลังแพทย์ยื้อลมหายใจ
กกล.บูรพาสนองนโยบายนายกฯสกัดจับสินค้าเถื่อนลอบเข้าไทยแนวตะเข็บชายแดน
"เลขากฤษฎีกา" เผยส่งตีความ "บิ๊กโจ๊ก" ออกจากราชการ รู้ผลสัปดาห์นี้ ขอสังคมอย่าคาดเดา ยึดตามกม.
อินโดฯ ยอดดับน้ำท่วมเพิ่มเป็น 52 ราย –ภูเขาไฟอิบูปะทุใหม่
อิสราเอล กลุ่มผู้ประท้วงทำลายของบรรเทาทุกข์
เนเธอร์แลนด์ ปิดมหาฯลัย 2 วัน หลังเหตุประท้วงรุนแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น