logo

“ดร.สามารถ” เตือนต้องรีบขยาย “สุวรรณภูมิ” ห่วงปัญหาผดส.แออัด

"ดร.สามารถ" เตือนต้องรีบขยาย "สุวรรณภูมิ" ห่วงปัญหาผดส.แออัด

“ดร.สามารถ” เตือนต้องรีบขยาย “สุวรรณภูมิ” ห่วงปัญหาผู้โดยสารแออัด กระทบภาพลักษณ์ประเทศ

วันที่ 29 ก.พ. 67 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ – Dr.Samart Ratchapolsitte” ระบุว่า เร่งขยายสุวรรณภูมิ ก่อนผู้โดยสารล้นสนามบิน น่าดีใจที่สนามบินสุวรรณภูมิซึ่งเป็นประตูหลักสู่ประเทศไทยมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็นระยะๆ หลังจากลดลงในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จนถึงปี 2566 มีผู้โดยสาร 51.7 ล้านคน คาดว่าอีกไม่นานปริมาณผู้โดยสารจะเท่ากับปี 2562 ก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คือ 65.4 ล้านคน ซึ่งเกินความจุของสนามบิน

หากไม่เร่งแก้ไข สนามบินสุวรรณภูมิจะแน่นแออัด สร้างความไม่สะดวกสบายให้กับผู้โดยสาร รวมทั้งทำให้ผู้โดยสารล่าช้าเสียเวลา เป็นผลให้คุณภาพการให้บริการของสนามบินสุวรรณภูมิลดลง อันดับของสนามบินสุวรรณภูมิเมื่อเทียบกับสนามบินอื่นๆ ทั่วโลก ก็อาจจะลดลง ทั้งนี้ Skytrax ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจการบินและจัดอันดับสนามบินดีเด่นของโลกเป็นประจำทุกปี ได้จัดให้สนามบินสุวรรณภูมิอยู่ในอันดับที่ 68 ในปี 2566 ร่วงลงมาจากอันดับที่ 46 ในปี 2562 และอันดับที่ 10 ในปี 2553

 

ดร.สามารถ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ด้วยเหตุนี้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.จึงต้องเร่งขยายสนามบินให้ทันกับการเพิ่มของปริมาณผู้โดยสาร ไม่ปล่อยให้ผู้โดยสารแน่นแออัด ตามแผนแม่บทสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งจัดทำขึ้นในปี 2536 เป็นแผนที่ยังคงทันสมัยและยังใช้งานได้ดี มีองค์ประกอบหลักดังนี้

1. อาคารผู้โดยสารหรือเทอร์มินัล 2 หลัง ประกอบด้วยเทอร์มินัล 1 อยู่ทางทิศเหนือด้านมอเตอร์เวย์ และเทอร์มินัล 2 อยู่ทางทิศใต้ด้านถนนเทพรัตน (หรือถนนบางนา-ตราด)
2.อาคารเทียบเครื่องบินรอง (Satellite หรือ SAT สำหรับให้ผู้โดยสารนั่งรอขึ้นเครื่องบิน) 2 หลัง ตั้งอยู่ระหว่างเทอร์มินัล 1 และเทอร์มินัล 2
3. รถไฟฟ้าไร้คนขับ (Automated People Mover หรือ APM) วิ่งใต้ดินเชื่อมระหว่างเทอร์มินัล 1 กับเทอร์มินัล 2 และ
4. รันเวย์ 4 เส้น ตั้งอยู่ด้านตะวันตก 2 เส้น และด้านตะวันออก 2 เส้น
องค์ประกอบเหล่านี้จะทำให้สนามบินสุวรรณภูมิมีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 120 ล้านคนต่อปี

แผนแม่บทดังกล่าวมีการวางแผนการก่อสร้างเป็นระยะๆ ดังนี้

ระยะที่ 1 สร้างเทอร์มินัล 1 สร้างรันเวย์ 1 และรันเวย์ 2 แล้วเสร็จในปี 2549 ทำให้สนามบินมีความจุ 45 ล้านคนต่อปี

ระยะที่ 2 ขยายเทอร์มินัล 1 ด้านตะวันออก สร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) และรถไฟฟ้าไร้คนขับช่วงที่ 1 (APM-1) เชื่อมระหว่างเทอร์มินัล 1 กับ SAT-1 สนามบินจะมีความจุเพิ่มขึ้น 15 ล้านคนต่อปี รวมเป็น 60 ล้านคนต่อปี (45+15)

ระยะที่ 3 ขยายเทอร์มินัล 1 ด้านตะวันตก สร้างรันเวย์ 3 จะทำให้สนามบินมีความจุเพิ่มขึ้น 15 ล้านคนต่อปี รวมเป็น 75 ล้านคนต่อปี (60+15)

ระยะที่ 4 สร้างเทอร์มินัล 2 ด้านทิศใต้ สร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 2 (SAT-2) สร้างรันเวย์ 4 และรถไฟฟ้าไร้คนขับช่วงที่ 2 (APM-2) เชื่อมระหว่าง SAT-1 กับ SAT-2 รวมทั้งเชื่อมกับเทอร์มินัล 2 จะทำให้สนามบินจะมีความจุเพิ่มขึ้น 45 ล้านคนต่อปี รวมเป็น 120 ล้านคนต่อปี (75+45)

 

 

 

ถึงเวลานี้ การก่อสร้างระยะที่ 2 ก็ยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจาก ทอท.ยังไม่ขยายเทอร์มินัล 1 ด้านตะวันออก ทั้งๆ ที่ได้ออกแบบเสร็จแล้ว และได้รับอนุมัติผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอแล้ว อันที่จริง ทอท. น่าจะฉกฉวยโอกาสขยายเทอร์มินัล 1 ด้านตะวันออกในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพราะมีผู้โดยสารน้อย ไม่รบกวนการก่อสร้าง
แต่ก็ยังดีที่ ทอท.ได้สร้าง SAT-1 และ APM-1 เชื่อมระหว่างเทอร์มินัล 1 กับ SAT-1 เสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้เปิดให้บริการไปเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2566

ก่อนที่ผู้โดยสารจะล้นสนามบิน ทอท.ควรเร่งรัดเพิ่มความจุของสนามบินสุวรรณภูมิตามแผนแม่บทที่วางไว้ดังกล่าวข้างต้น พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้า-ออกสนามบิน โดยเฉพาะการเดินทางเข้า-ออกสนามบินด้านทิศใต้บนถนนเทพรัตน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีรถไฟฟ้า อย่างไรก็ตามบนถนนเทพรัตน จะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเงิน ช่วงบางนา-สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit หรือ LRT) ทำให้การเดินทางเข้า-ออกเทอร์มินัล 2 ตามแผนแม่บท ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้ เป็นไปด้วยความสะดวกสบาย และรวดเร็ว ทอท. ควรประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งรัดรถไฟฟ้าสายนี้

นอกจากรถไฟฟ้ารางเบาบนถนนเทพรัตนแล้ว ทราบมาว่า ทอท.ได้มีการออกแบบเบื้องต้นอุโมงค์รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ที่เวลานี้ให้บริการถึงเทอร์มินัล 1 ให้เชื่อมต่อจากเทอร์มินัล 1 ถึงเทอร์มินัล 2 ตามแผนแม่บท ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้เอาไว้แล้ว นั่นหมายความว่าอีกไม่นานก็จะมีแอร์พอร์ตลิงก์ให้บริการไปจนถึงเทอร์มินัล 2 ตามแผนแม่บท โดยวิ่งอยู่ในระดับต่ำกว่ารถไฟฟ้าไร้คนขับ หรือ APM ทำให้การเดินทางเข้า-ออกเทอร์มินัล 2 ตามแผนแม่บท ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้ มีความสะดวกสบาย และรวดเร็วยิ่งขี้น

ทั้งหมดนี้ด้วยความหวังดี อยากให้สนามบินสุวรรณภูมิได้รับการจัดอันดับให้เป็นสนามบินที่ดีอันดับต้นๆ ของโลกดังเช่นสนามบินชางงีของสิงคโปร์

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ปิดฉากอย่างสมบูรณ์ "คิดดีแคมป์" ภาคเหนือ "ผู้พันเบิร์ด" ฝากแนวคิดเยาวชนต้องหนักแน่นทางอารมณ์ในการใช้ชีวิต
อย่าหาทำตาม จวกยับ "ยูทูปเบอร์ดัง" ขับรถหรูลงชายหาด ทำคอนเทนต์ จนติดหล่ม
"Kid dee" จัดกิจกรรม "คิดดี Roadshow" ปลุกพลังเยาวชนผ่านศิลปะ
“เฮียปุ๊” เจ้าของทองคำ 49 บาท พกตราชั่งพิสูจน์ทอง หลังตามเจอ เผยมีพระทักจะได้คืน
"รังสิมันต์ โรม" เล่นใหญ่ส่งกำลังใจ "แอมมี่-ลูกเกด" ชี้จาบจ้วง หมิ่นใส่ร้ายสถาบันฯ แค่เห็นต่างการเมือง
สามีสุดช้ำ ร้องถูกบิ๊กขรก.แย่งภรรยา หลังพาเข้าวงการสวิงกิ้ง ลั่นไม่คิดว่าจะถลำลึก
ส้มหยุดโหน เทียบคดี "ลูกเกด" โดน 112 รอดคุก เลิกโทษ "บุ้ง" ตายเพราะวืดประกัน
"แอมมี่-ปูน" รอดนอนคุก ศาลอนุญาตประกันตัว คดีผิด 112
อคส. ประกาศ TOR ประมูลข้าววันนี้ “ภูมิธรรม” ลั่นเข้มมาตรฐาน เชื่อมั่นจบดราม่า
สปส.แจงเหตุจำเป็นเรียกคืนเงินประกัน ผู้ประกอบอาชีพได้รับผลกระทบโควิด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น