No data was found

กทม.งัดข้อมูล โต้ “สารี” อ้างทำรถไฟฟ้า 25 บาทมีกำไร เห็นจะๆขาดทุนยับ!

กดติดตาม TOP NEWS

ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กทม. ทำหนังสือโต้ สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสภาองค์กรของผู้บริโภค โหมต้านขยายสัมปทาน อ้างข้อมูลกระทรวงคมนาคมสุดมั่ว ทำได้รถไฟฟ้า สายสีเขียว 25 บาท ตลอดสาย ยังมีกำไร 2.3 หมื่นล้าน ซัดให้ข้อมูลสาธารณะคลาดเคลื่อน ความจริงขาดทุนเกือบ 4 หมื่นล้าน

ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กทม. ทำหนังสือโต้ สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสภาองค์กรของผู้บริโภค โหมต้านขยายสัมปทาน อ้างข้อมูลกระทรวงคมนาคมสุดมั่ว ทำได้รถไฟฟ้า สายสีเขียว 25 บาท ตลอดสาย ยังมีกำไร 2.3 หมื่นล้าน ซัดให้ข้อมูลสาธารณะคลาดเคลื่อน ความจริงขาดทุนเกือบ 4 หมื่นล้าน

สืบเนื่องจากการที่มูลนิธิเพื่อผูู้บริโภค และ สภาองค์กรของผู้บริโภค โดย น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการฯ ได้ออกมาเคลื่อนไหว คัดค้านการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยอ้างว่าจะทำให้ราคาค่าโดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 65 บาท ซึ่งขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่มีการระบุว่า กรณีถ้ามีการขยายสัมปทานฯ จะทำให้อัตราค่าโดยสารควรจะเป็นที่ 158 บาท คงเหลือในอัตราสูงสุด 65 บาท ตลอดสาย รวมระยะทาง 68.25 กม. ไม่ใช่ระดับราคาแรกขึ้น พร้อมเรียกร้องให้กทม.เปิดเผยข้อมูล ที่มาอัตราค่าโดยสาร ในการนำมาใชำคำนวณ เพราะสามารถทำให้ราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าเหลือเพียง 25 บาท ตลอดสายเหมือนในต่างประเทศ

ล่าสุด นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร ได้ออกหนังสือชี้แจง กรณีอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว แสดงใจความสำคัญ ระบุว่า ตามที่อ้างถึง ท่านในฐานะเลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ได้นำเสนอข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ของมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ว่าการกำหนดอัตราค่าโดยสารสูงสุดของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สามารถกำหนดได้ในอัตรา 25 บาทต่อเที่ยว โดยกรุงเทพมหานครยังมีกำไรและสามารถนำเงินส่งรัฐได้มากถึง 23,200 ล้านบาท ซึ่งในการคำนวณดังกล่าวได้อ้างอิงจากตัวเลขและข้อมูลของกระทรวงคมนาคม

รายละเอียดปรากฏตาม เว็บไซของมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค (https://www.consumerthai.org/consumers-news/public-society/๔๕๖๘-๖๔o๔o๙_bts.htm) รวมทั้งมีการนำเสนอข้อมูลตามผ่านสื่อต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในตารางด้านล่างนี้

สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร ขอชี้แจงว่า การวิเคราะห์ข้อมูลประมาณการทางการเงินจะต้องพิจารณาบนสมมติฐานและข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้อง ซึ่งประกอบด้วย รายได้ค่าโดยสารค่าใช้จ่ายและต้นทุนการดำเนินงาน และภาระหนี้สินที่กรุงเทพมหานครและภาครัฐมีอยู่ในปัจจุบันและในอนาคตจากการลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว รวมทั้งข้อมูลที่ใช้จะมีความถูกต้องสอดคล้องกับการดำเนินโครงการขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้า จึงจะสามารถวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยปราศจากการพิจารณาสมมติฐานที่ครบถ้วน จะทำให้ได้ข้อสรุปที่ไม่ถูกต้องและสร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องแก่ประชาชนโดยทั่วไปได้

นอกจากนั้น จากการนำเสนอข้อมูลขององค์กรฯ โดยการแสดงเพียงประมาณการรายได้ หลังปี 2572 เป็นต้นไป เป็นการแสดงข้อมูลที่คาดเคลื่อน และไม่ได้แสดงข้อมูลให้ครบถ้วนตลอดระยะเวลาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีภาระหนี้สินที่ต้องได้รับการแก้ไขและหาทางชำระให้ได้ในช่วงปี 2564-2572 ด้วย

ในกรณีที่ กรุงเทพมหานครดำเนินโครงการและรับภาระหนี้สินทั้งหมดเอง หากคำนวณจากประมาณการจำนวนผู้โดยสารในปัจจุบัน กรณีค่าโดยสารสูงสุด ๒๕ บาทต่อเที่ยว ด้วยภาระค่าใช้จ่ายและเงินลงทุนต่าง ๆ กรุงเทพมหานครจะประสบปัญหาการขาดทุนในการดำเนินการดังต่อไปนี้

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า หากมีการกำหนดอัตราค่าโดยสารสูงสุด 25 บาทต่อเที่ยว จะทำให้ในช่วงปี 2564-2602 กรุงเทพมหานครจะประสบปัญหาการขาดทุนเป็นจำนวนมากถึง 176,423 ล้านบาท โดยยังไม่นับรวมเงินที่จะต้องลงทุนปรับปรุงระบบและซื้อขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มในอนาคต (แม้จะสามารถมีรายได้เชิงพาณิชย์ก็จะไม่เพียงพอที่จะชำระค่าใช้จ่ายส่วนที่ขาดทุนนี้) ซึ่งกรุงเทพมหานคร จำเป็นจะต้องจัดสรรงบประมาณของกรุงเทพมหานคร และ/หรือ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล เพื่อมารองรับผลการขาดทุนดังกล่าว ซึ่งทำให้กรุงเทพมหานครไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะไปพัฒนาโครงการอื่น ๆ ได้ และอาจส่งผลให้รัฐบาลต้องจัดสรรเงินงบประมาณจำนวนมากเพื่อรองรับผลขาดทุน เป็นภาระต่องบประมาณของแผ่นดินในอนาคต

นอกจากนั้น ตามข้อมูลที่สภาองค์กรของผู้บริโภคนำเสนอว่า ตามประมาณการของกระทรวงคมนาคม ซึ่งระบุสมมติฐานจำนวนผู้โดยสารในปี 2563 มีจำนวนสูงกว่าผู้โดยสารจริงในเดือนมกราคมปี 2563 (จำนวนผู้โดยสารก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19) ถึงร้อยละ 30 หรือสูงกว่าประมาณ 360,000 เที่ยวคนต่อวัน เทียบเป็น 131 ล้านเที่ยวคนต่อปี รวมทั้งสมมติฐานว่าจำนวนผู้โดยสารที่จะเติบโตในอัตรา ร้อยละ 5 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตจริงในอดีตที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2 ต่อปี รายละเอียดตามตารางดังนี้

 

และตามตารางแสดงข้อมูลเปรียบเทียบ ที่นำเสนอโดยสภาองค์กรของผู้บริโภคเองก็ขาดทุน ในช่วงปี 2573-2585 ถึง 39,800 ล้านบาท จึงไม่ได้มีกำไร 23,200 ล้านบาทแต่อย่างใด สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานครจึงขอเรียนชี้แจงให้สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้พิจารณาแก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งนำเสนอต่อสาธารณะให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องต่อไป

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ลากไส้กันเอง "เมนู" จวก "ใบปอ" ก๊วนทะลุวัง แฉลึกเคยแช่งพวกลี้ภัย มั่วเคลมผลงาน วันนี้โผล่อวดตัวเป็นนักสู้ปชต.
"ทนายอนันต์ชัย" ลั่นอยากมีเรื่อง เดี๋ยวจัดให้ ฮึ่ม "เชื่อมจิต" เรียงข้อหาเอาผิดไว้แล้ว
ป.ป.ช.ชี้มูลผิด "บิ๊กปตท."กับพวก รับสินบน "บ.โรลส์-รอยซ์"
"สมาคมธนาคารไทย" เตรียมพิจารณาแนวทางเพิ่ม ช่วยเหลือ "ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง" ลดภาระทางการเงิน
สวยสังหาร นักแม่นปืนสาวกะเหรี่ยง สุดโหด แบกอาวุธซุ่มยิงแบบกองโจร รัวใส่ทหาร SAC
"ส.ต.ต.หญิง" โพสต์อัปเดตชีวิตอาการล่าสุด หลังป่วยหนักเป็นซึมเศร้า ตอนนี้เตรียมเริ่มงานที่ใหม่แล้ว
AI บูม หนุนใช้ก๊าซเพื่อผลิตไฟฟ้า พุ่งในอีก 5 ปีหน้า
UN เรียกร้องนานาชาติสอบสวนการเสียชีวิตที่รพ.ในกาซา
"วลัยพร ช่วยยก" เดินหน้าอาชีพมั่นคงหนุนสร้างอาชีพชุมชน ... ยก "ห้าดาว" เป็นธุรกิจแห่งโอกาส
“วันนอร์” เตือนอย่าดันทุรัง ชงแก้รธน. รอทำประชามติก่อน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น