No data was found

“หักนิ้วแก้เมื่อย” อาจอันตรายกว่าที่คิด 5 ท่าบริหารนี้ดีกว่า

TOP News เตือน หักนิ้วแก้เมื่อย อาจอันตรายกว่าที่คิด ส่งผลเสียต่อร่างกายหรือไม่อย่างไร ผศ. ดร. นพ.ไพฑูรย์ เบ็ญจพรเลิศ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ไขข้อข้องใจ

กดติดตาม TOP NEWS

"หักนิ้วแก้เมื่อย" ก่อให้เกิดความสบายและผ่อนคลาย แต่อาจอันตรายกว่าที่คิด ส่งผลเสียต่อร่างกายหรือไม่อย่างไร เช็ค ๆ 5 ท่าบริหารนี้ดีกว่า

TOP News เตือน “หักนิ้วแก้เมื่อย” อาจอันตรายกว่าที่คิด ส่งผลเสียต่อร่างกายหรือไม่อย่างไร ผศ. ดร. นพ.ไพฑูรย์ เบ็ญจพรเลิศ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ไขข้อข้องใจ

ข่าวที่น่าสนใจ

TOP News เตือน หักนิ้วแก้เมื่อย อาจอันตรายกว่าที่คิด ส่งผลเสียต่อร่างกายหรือไม่อย่างไร ผศ. ดร. นพ.ไพฑูรย์ เบ็ญจพรเลิศ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ไขข้อข้องใจ

ทำไมถึงชอบ “หักนิ้วแก้เมื่อย” ?

  • การหักนิ้วก่อให้เกิดความสบายและผ่อนคลาย ยิ่งกับคนที่ออกกำลังกายแล้วรู้สึกว่ามีข้อติด การหักนิ้วก็สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ ส่วนใหญ่เกิดจากนิสัยและความเคยชิน

เสียงหักนิ้วเกิดจากสาเหตุใด ?

  • เสียงดังก็อกที่ได้ยินในขณะที่หักนิ้วมือหรือข้อนิ้วมือ เกิดจากการแตกตัวของฟองอากาศจากของเหลวหล่อลื่นที่เรียกว่า น้ำไขข้อ ซึ่งน้ำไขข้อนี้จะทำหน้าที่หล่อลื่น ช่วยให้ข้อต่อสามารถงอ เหยียด หรือเคลื่อนไหวได้ไม่ติดขัด เมื่อหักนิ้วมือด้วยแรงกดและความเร็วที่มากกว่าปกติ จะทำให้ความดันภายในน้ำไขข้อลดต่ำลงจนทำให้เกิดฟองอากาศในน้ำไขข้อ และแตกออกจนเกิดเป็นเสียงดังก็อกที่ได้ยินกัน ไม่ได้เป็นเสียงที่เกิดจากกระดูกหรือกล้ามเนื้อ

หักนิ้วบ่อย ๆ เป็นอันตรายหรือไม่ ?

  • การหักนิ้วบ่อย ๆ ไม่ได้ส่งผลเสียหรืออันตรายโดยตรงกับข้อนิ้ว แต่อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการข้อเสื่อมได้ ในคนที่เป็นโรคข้อเสื่อมอยู่แล้ว การหักนิ้วจะทำให้ตัวข้อเสื่อมมากขึ้น หรือบางคนหักนิ้วแรงเกินไปอาจทำให้ข้อนิ้วอักเสบได้ นอกจากนี้ ยังเพิ่มความหลวมของข้อ ทำให้เกิดอาการข้อหลวม เพราะว่าการหักนิ้วแต่ละครั้งมีการถูกยืดของปลอกหุ้มข้อหรือเส้นเอ็นต่าง ๆ

หักนิ้วเสี่ยงนิ้วล็อกจริงหรือ ?

  • การหักนิ้วบ่อย ๆ ไม่ได้ส่งผลเสียให้เกิดอาการนิ้วล็อกได้ แต่อาจทำให้กระดูกโปนใหญ่กว่าคนปกติ เพราะการหักนิ้วบ่อย ๆ ทำให้ตัวข้อนิ้วมือมีการบวมมากกว่าคนที่ไม่หักนิ้ว ซึ่งส่งผลแค่ลักษณะภายนอก เท่านั้น เพราะนิ้วล็อกนั้นเกิดจากปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณนิ้วอักเสบและหนาขึ้น ทำให้เอ็นที่อยู่ภายในไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ตามปกติ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการใช้มือต่อเนื่องเป็นเวลานานเกินไป เช่น การถือหรือแบกของหนักเป็นเวลานาน หรือการใช้โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ มากเกินไป

TOP News เตือน หักนิ้วแก้เมื่อย อาจอันตรายกว่าที่คิด ส่งผลเสียต่อร่างกายหรือไม่อย่างไร ผศ. ดร. นพ.ไพฑูรย์ เบ็ญจพรเลิศ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ไขข้อข้องใจ

วิธีเลี่ยงการหักนิ้วด้วยท่าบริหารนิ้วอื่น ๆ

ท่ายืดกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์

  • แบมือ กางนิ้ว วางมือแนบบนพื้นราบ เช่น บนโต๊ะ ใช้นิ้วมืออีกข้างดึงนิ้วแต่ละนิ้วขึ้นช้า ๆ ให้ได้สูงที่สุดโดยที่ไม่รู้สึกตึงหรือเจ็บและนิ้วอื่นยังติดอยู่กับพื้น ค้างไว้ 2 – 3 วินาที แล้วค่อย ๆ ปล่อยนิ้วลง ทำซ้ำกับนิ้วมืออีกข้าง ทำท่านี้วันละ 3 เซต

ท่ายกนิ้ว

  • แบมือ กางนิ้ว วางมือแนบบนพื้นราบ เช่น บนโต๊ะ ยกนิ้วแต่ละนิ้วขึ้นช้า ๆ ให้ได้สูงที่สุดโดยที่ไม่รู้สึกตึงหรือเจ็บและนิ้วอื่นยังติดอยู่กับพื้น เอานิ้วลงช้า ๆ ทำให้ครบทั้ง 5 นิ้ว ยกนิ้วทั้ง 5 นิ้วขึ้นพร้อมกันค้างไว้ 2 – 3 วินาที เอานิ้วลงช้า ๆ ทำซ้ำกับนิ้วมืออีกข้าง 8 – 12 ครั้ง

ท่าบีบมือ

  • วางสิ่งของลักษณะเป็นทรงกลมขนาดพอดีมือ เช่น ลูกปิงปอง ไว้กลางฝ่ามือบีบให้แน่นแล้วค้างไว้ 2 – 3 วินาที คลายมือช้า ๆ และกางนิ้วมือให้สุด ทำซ้ำ 2 – 3 ครั้งกับนิ้วมืออีกข้าง ทำท่านี้อย่างน้อยวันละ 2 เซต

ท่าเหยียดนิ้ว

  • จรดปลายนิ้วทั้งห้าเข้าด้วยกัน ใช้หนังยางหรือยางรัดผมรัดนิ้วทั้งห้าไว้ด้วยกัน พยายามเหยียดนิ้วแต่ละนิ้วออกให้ได้มากที่สุดและจรดนิ้วให้ชิดกันทำซ้ำ 10 ครั้ง กับนิ้วมืออีกข้าง ทำท่านี้วันละ 3 เซต

ท่ากำหมัด

  • กำหมัดเบา ๆ โดยให้นิ้วโป้งอยู่ข้างนอกพาดทับนิ้วอื่น ค้างไว้ 30 – 60 วินาที คลายมือช้า ๆ จากนั้นกางนิ้วและเหยียดนิ้วให้สุด ทำซ้ำกับนิ้วมืออีกข้างอย่างน้อย 4 เซต

สรุป “หักนิ้วแก้เมื่อย” อาจอันตรายกว่าที่คิด

  • การหักนิ้วไม่ได้ส่งผลเสียหรืออันตรายกับร่างกาย แต่ก็เป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรทำบ่อย ควรทำในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะจะนำไปสู่สมรรถภาพและแรงบีบของมือที่ลดลง เนื่องจากเอ็นกล้ามเนื้อรอบข้อไม่แข็งแรง ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเอ็นกล้ามเนื้อจากการพยายามหักข้อนิ้ว

TOP News เตือน หักนิ้วแก้เมื่อย อาจอันตรายกว่าที่คิด ส่งผลเสียต่อร่างกายหรือไม่อย่างไร ผศ. ดร. นพ.ไพฑูรย์ เบ็ญจพรเลิศ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ไขข้อข้องใจ

Mercular : BEWELL BRAND DAY 24 Oct – 27 Oct 2023 ช้อปเลย : คลิกที่นี่

  • ลดสูงสุด 70% Flashsale ฟรี! ที่พักเท้า Bewell Ergonomic Footrest มูลค่า 1,950.- เมื่อช้อปสินค้าครบ 10,000.- (หลังหักคูปองส่วนลด)
  • เก็บคูปองลดเพิ่มสูงสุด 3,000.- ผ่อน 0% สูงสุด 6 เดือน ส่งฟรีทั่วไทย พร้อมบริการประกอบในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"กมธ.อุตฯ" หนุน "นายกฯ" ดันแก้ไฟไหม้โรงงานเก็บสารเคมี เป็นปัญหาระดับชาติ
'ดร.เอ้ สุชัชวีร์' ลงพื้นที่ระยอง จี้ นายกรัฐมนตรี และ รัฐบาลแก้ไขปัญหาโรงงานเก็บกากสารเคมีอุตสาหกรรมวินโพรเสสไฟไหม้ 'ตรวจสุขภาพ ปชช.-เร่งขนย้ายสารเคมี-หาตัวคนผิดโดยเร็ว ล้อมคอกเหตุเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า'
สวนนงนุชพัทยาเนรมิต “สวนมิตรภาพ” (Friendship Garden) สถานทูตคาซัคสถาน เป็นสถานฑูตล่าสุดลำดับที่ 15
"นายกฯ" เอาจริง ปราบมิจฉาชีพออนไลน์ ปิดบัญชีม้ากว่า 7 แสนบัญชี อายัดเงินเกือบ 1 พันล้าน
ตำรวจศรีราชา ตามล่านายไอซ์ ห้วยยายพรม หลังก่อเหตุใช้อาวุธปืนยิงขึ้นฟ้า จนชาวบ้านเอือมระอา
ฮูตี พร้อมตีทุกอย่างหากอิสราเอลตีราฟาห์
สหรัฐ ส.ส. 86 คนชี้ อิสราเอลจำกัดช่วยเหลือกาซา
สหรัฐ ปธน. เลี่ยงพูดถึงยูเครน ช่วงหาเสียง
สุดระทึก ไฟไหม้โกดังกระดาษรีไซเคิล จว.สมุทรสาคร ล่าสุดเพลิงยังไม่สงบ คาดใช้เวลา 1 วัน
"ลิณธิภรณ์" ปัด "อุ๊งอิ๊ง" แทรกแซงแบงก์ชาติ ชี้แค่อยากให้รับฟังเสียงรบ.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น