“สว.สมชาย” เตือนทุกพรรคร่วมเพื่อไทย ระวังให้หนักนโยบายรื้อ ร่างรธน.ใหม่ อันตรายสุดๆ

"สว.สมชาย" เตือนทุกพรรคร่วมเพื่อไทย ระวังให้หนักนโยบายรื้อ ร่างรธน.ใหม่ อันตรายสุดๆ

วันที่ 20 ส.ค. 66 นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา หรือ สว.โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า รัฐบาลสลายขั้วหรือรัฐบาลแบ่งเค้ก สสร.ล้มรัฐธรรมนูญ ร้ายแรงกว่าแก้ไข ม.112เป็นร้อยเท่า พรรครอร่วมรัฐบาลแสร้งมองไม่เห็น ร่างรัฐธรรมนูญแบบนี้ที่พวกเขาเตรียมไว้เสนอนานแล้ว ตั้งแต่ 10 สิงหาคม 2564และยังดำรงความมุ่งหมายอยู่ต่อเรื่อยมา เมื่อมีรัฐบาลใหม่จะนำเข้ามีมติครมเป็นวาระแรก วาระแห่งชาติ ให้ทำประชามติให้มีสสร.เพื่อล้มรัฐธรรมนูญและร่างใหม่ทั้งหมด กลุ่มคนเหล่านั้นจะผ่านเข้ามาเป็นสสร.เลือกตั้ง พร้อมร่างที่เตรียมไว้ เพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญตามแนวทางนี้ ใช่หรือไม่ อย่าลืมอุดมการณ์ อย่าลืมการร่วมต่อสู้ของพี่น้องประชาชน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้การโพสต์ดังกล่าว สว.สมชายได้ย้ำถึงเนื้อหาของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของคณะก้าวหน้า ซึ่งประเด็นสำคัญคือ แก้ไขหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ที่จะแก้ไขใน 10 ประเด็น ประกอบด้วย

1. กำหนดพระราชสถานะประมุขของรัฐ ศูนย์รวมจิตใจ และความเป็นกลางทางการเมือง
2. กำหนดพระราชอำนาจ ขอบเขตของเอกสิทธิ์และความคุ้มกันพระมหากษัตริย์ในการไม่ต้องรับผิด ไม่ต้องถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในการกระทำใดบ้าง โดยเขียนในภาษาที่เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมาไม่ต้องตีความว่าอำนาจเป็นของพระมหากษัตริย์หรือของคณะรัฐมนตรี ไม่ต้องถกเถียงกันว่าพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจในทางการเมืองหรือการบริหารราชการแผ่นดินโดยแท้หรือไม่ แต่เขียนชัดเจนเลยว่า พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจในเรื่องต่างๆโดยต้องทำตามความเห็นชอบของรัฐมนตรีหรือสภาผู้แทนราษฎรแล้วแต่กรณี โดยนำแบบอย่างมาจากรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น
3. เปลี่ยนกฎณฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ให้เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์
4. ยกเลิกองคมนตรี
5. เปลี่ยนแปลงกระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งพระมหากษัตริย์ โดยย้อนกลับไปใช้แบบเดียวกันกับกระบวนการก่อนรัฐธรรมนูญ 2534 กล่าวคือ การเสนอพระนามองค์รัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ
6. กำหนดให้พระมหากษัตริย์และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต้องปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่

 

7.กำหนดกรณีที่พระมหากษัตริย์ต้องแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเปลี่ยนแปลงกระบวนการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เสียใหม่ ให้สภาฯเข้ามามีอำนาจพิจารณาให้ความเห็นชอบเหมือนรัฐธรรมนูญ 2475 และ 2489
8.กำหนดระบบเงินรายปีแก่พระมหากษัตริย์ โดยให้สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการกำหนดวงเงินและอนุมัติ และให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบการใช้จ่ายเงินรายปีและรายงานให้สภาผู้แทนราษฎรทราบ
9.ยกเลิกการลงพระปรมาภิไธยในพระบรมราชโองการแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ตำแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดี และเทียบเท่า ให้คงไว้เพียงการลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยและอำนาจตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น อันได้แก่ รัฐมนตรี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาศาลยุติธรรม ตุลาการศาลปกครอง และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
10. ยกเลิกพระราชอำนาจในการยับยั้งการลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้กฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบจากสภา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พิชัย" นำพณ.ถกแก้ปัญหาผูกขาดส่งออกข้าว แก้ระเบียบขออนุญาตการค้าเปิดโอกาสรายย่อย
ตร.หอบสำนวน "ทนายตั้ม" กว่า 9 พันแผ่น ส่งอัยการสำนักงานคดีพิเศษ เร่งพิจารณาก่อน 30 ม.ค.นี้
“บิ๊กราญ” แถลงผลจับกุมเครือข่ายยาเสพติด 1,900 เครือข่าย ยึดทรัพย์กว่า 460 ล้านบาท
“อัจฉริยะ” นำหลักฐานจำลองเหตุ “แตงโม” ตกเรือ ร้องดีเอสไอ ตรวจสอบจนท.รัฐปฏิบัติหน้าที่มิชอบ
“ภูมิธรรม” รอดูข้อเท็จจริง ปมนายแบบจีนหายตัวชายแดนไทย ยันทำงานเต็มที่
เลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน รร.บ้านเหมืองสองท่อ จ.กาญจนบุรี สร้างแหล่งอาหารในโรงเรียน ส่งต่อความมั่นคงอาหารสู่ชุมชน
"นายกฯ" เตรียมใช้ AI อัดคลิปภาษาจีน เรียกความเชื่อมั่นมาเที่ยวไทยปลอดภัย
“ภูมิธรรม” เผย บรรยากาศดี “นายกฯ” ลงพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ พร้อมรับฟังเสียงสะท้อนประชาชน
ต้อนรับคอนเสิร์ตแรกแห่งปี ไปกับเพลงดังของราชาเพลงร็อคแอนด์โรล “King of Rock n' Roll” Elvis Presley
‘ต้นอ้อ’ แจ้งจับผัวเมียนมาซ้อมเมียปางตาย ซ้ำขู่เอาชีวิต ลูกสาว 10 ขวบทนดูไม่ไหว ถ่ายคลิปโพสต์ประจาน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น