“วันนอร์” แจงละเอียดยิบ แต่ละขั้นตอน โหวตนายกฯ 22 ส.ค.นี้ คาดใช้เวลาไม่เกิน 5 ชม.

"วันนอร์" เผย ที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายเห็นชอบ เปิดอภิปรายแคนดิเดตนายกฯ 5 ชม. ก่อนโหวตบ่ายสาม - แคนดิเดตนายกฯไม่จำเป็นต้องแสดงวิสัยทัศน์

 

18 ส.ค. 66 ที่รัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกัน 3 ฝ่าย ฝ่าย ประกอบด้วย พรรคการเมืองขั้วแกนนำจัดตั้งรัฐบาล พรรคการเมืองฝ่ายเสียงข้างน้อย และวุฒิสภาโดยได้ข้อสรุป ว่า การอภิปรายในเรื่องผู้ที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 22 ส.ค.นั้น จะใช้เวลา ไม่เกิน 5 ชม. โดยแบ่งเป็น สว. 2 ชม. และสส. 3 ชม. ซึ่งจะมีการลงมติไม่เกินเวลา 15.00 น. คาดว่าในเวลา 17.30 น. จะเสร็จสิ้นการลงมติ เป็นข้อตกลงร่วมกัน

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนในเรื่องการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้ที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี จะต้องแสดงวิสัยทัศน์หรือไม่ อย่างไร นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ในที่ประชุมได้รับแจ้งจากประธานฝ่ายกฎหมายของสภา ซึ่งนำเสนอว่า เนื่องจากรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้ให้ผู้ที่ถูกเสนอชื่อต้องมาแสดงวิสัยทัศน์ และข้อบังคับในการประชุมก็ไม่มีข้อกำหนดว่าผู้ที่ถูกเสนอชื่อต้องมาแสดงวิสัยทัศน์ ประกอบกับที่ประชุมของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ในการร่างข้อบังคับของรัฐสภาเมื่อปี 2563 ได้มีการแสดงเจตนารมณ์ว่า ไม่ต้องให้มาแสดงวิสัยทัศน์ ซึ่งมีรายละเอียดการประชุมชัดเจน ในวันที่ 19 ก.ค. 63 โดยมีมติของที่ประชุมคือวันที่ 24 ก.ค. 63 ที่มีนายชวน หลีกภัย เป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งกมธ.เสียงข้างมาก เห็นตามข้อบังคับที่ 36 ว่า ผู้ที่ถูกเสนอชื่อไม่ต้องมาแสดงวิสัยทัศน์ เพราะฉะนั้น จึงต้องปฎิบัติตามนี้ คือไม่จำเป็นต้องแสดงวิสัยทัศน์

สำหรับวาระของการประชุม วาระแรกคือการเสนอญัตติด่วนในการประชุมที่ยังไม่ถูกนำมาพิจารณา โดยมีนายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกล เป็นผู้เสนอให้มีการทบทวบมติของรัฐสภา เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 66 กรณีเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีซ้ำ ถือเป็นญัตติหรือไม่นั้น ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยในการให้นายรังสิมันต์ ได้แสดงเจตนารมย์ของการเสนอ แต่ข้อบังคับที่ 151 ไม่สามารถจะนำมาทบทวนได้ เพราะหากมีการทบทวนจะเกิดปัญหาว่า เมื่อสภามีมติออกไปแล้วสามารถจะทบทวนได้ จะทำให้การเชื่อถือต่อการลงมติมีปัญหา ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า เมื่อมีการนำเสนอแล้ว ให้ประธานรัฐสภาใช้อำนาจตัดสิน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 80 ประกอบข้อบังคับที่ 5 และ 151 คือไม่รับว่าเป็นญัตติด่วน แต่สามารถนำมาเสนอได้ เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อญัตติที่ลงไปแล้ว ซึ่งหากญัตติอื่นๆ มีการทบทวนก็จะเป็นประเด็นปัญหาขึ้นมาใหม่ และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 66 นั้นก็ไม่ได้บอกให้ต้องทบทวน จึงดำเนินการตามนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สหกรณ์บ้านเงาะตราด ส่งเงาะตราดสีทอง ลุยตลาดดูไบ เพิ่มโอกาสขยายตลาดผลไม้
มติกนง.เสียงส่วนใหญ่ ให้ลดอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25 เหลือ 1.75% ต่อปี
ยาน'เสินโจว-19'ของจีนกล้บสู่พื้นโลกปลอดภัย
"ปตท." ผ่านการรับรองระบบงานหน่วยตรวจสอบความใช้ได้-ทวนสอบก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน ISO จากสมอ.
ร้านข้าวขาหมูดังเมืองศรีราชา ยืนราคาเดิม แม้เนื้อหมูในตลาดปรับราคาเพิ่มต่อเนื่องหากปรับราคากลัวลูกค้าหด
ทรัมป์ยินดีมาร์ก คาร์นีย์ชนะเลือกตั้งแคนาดา
ศาลสั่งคุก 2 ปี "เบิร์ด วันว่างๆ" รับสารภาพโพสต์คลิปอนาจาร "แบงค์ เลสเตอร์" ลดโทษเหลือ 1 ปี
"ภูมิธรรม" ย้ำยังไม่เจรจาดับไฟใต้ รอคุยผู้มีอำนาจสั่งหยุดยิง ลั่นเงื่อนไขไทยต้องเป็นรัฐเดียว
กระสุนใหม่จาก TITLEIST ลูกกอล์ฟ PRO V1 และ PRO V1x
ยังไม่จบระทึก! "ศาลฎีกาฯ" ชี้มีอำนาจไต่สวน "คดีทักษิณ" นอนชั้น 14 รับโทษติดคุกไม่ครบ สั่งนัดไต่สวน 13 มิ.ย. 68

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น