No data was found

“อัษฏางค์” เปิดคลิปเบื้องหลังปลุกปั่นอธิปไตยปาตานี ตั้ง 4 คำถามใครชนวนเหตุ รัฐบาลใหม่มีจุกอก

กดติดตาม TOP NEWS

"อัษฏางค์" เปิดคลิปเบื้องหลังปลุกปั่นอธิปไตยปาตานี ตั้ง 4 คำถามใครชนวนเหตุ รัฐบาลใหม่มีจุกอก

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค”  ระบุว่า

4 คำถามจากสังคมไทย
1. ใครชวนให้คนคิดเรื่องแบ่งแยกดินแดน
2. ใครสนับสนุนการแบ่งแยกดินแดน
3. เรากำลังจะมีรัฐบาล ที่สนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดการแบ่งแยกดินแดน หรือไม่
4. สังเกตเห็นอะไรมั้ยว่า เรื่องที่ไม่เคยเป็นเรื่อง เรื่องที่เป็นเรื่องปกติธรรมดาในเมืองไทยตลอดมา ถูกคนกลุ่มไหนทำให้มันกลายเป็นเรื่องเป็นปัญหา กลายเป็นเรื่องไม่ธรรมดา เพราะใคร?

พิธาสกี้
พิธาพูดถึงปลดล็อกท้องถิ่นว่า ให้คน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เลือกนายกฯจังหวัดของตนเอง และงบประมาณของท้องถิ่นต้องให้ท้องถิ่นจัดการเอง ไม่ต้องส่งให้กรุงเทพเก็บไว้ หรือให้ส่วนกลางจัดการ

ฟังดูเหมือนจะดีทีเดียว โดยเฉพาะเมื่อชาวบ้านไม่รู้เรื่องการเงินการคลังและการบริหารราชการแผ่นดิน ก็อาจคล้อยตามว่า เงินภาษีจากท้องถิ่นส่งไปเก็บไว้ที่กรุงเทพทำไม เอาไปส่งส่วนกลางทำไม แล้วส่วนกลางส่งกลับมาบำรุงท้องถิ่นแค่ไหน เท่าเดิมหรือน้อยกว่าที่ส่วนท้องถิ่นส่งไปส่วนกลางหรือไม่

เพจ CasteR G TROY ให้ข้อมูลว่า จังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส แต่ละจังหวัด เก็บภาษีได้น้อยกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ดังนั้นทั้ง 3 จังหวัดรวมกันก็ไม่เกิน 3,000 ล้านบาท
โดยทั้ง 3 จังหวัดดังกล่าวยังต้องรับงบประมาณจากส่วนกลางในแต่ละปี จังหวัดละประมาณ 5,000 ล้านบาท รวมกันทั้ง 3 จังหวัด งบประมาณจากส่วนกลางที่ส่งไปให้ทั้ง 3 จังหวัดตกประมาณ 15,000 ล้านบาทต่อปี

ตกลงภาษีจากท้องถิ่นทั้ง 3 จังหวัดส่งมาเลี้ยงส่วนกลาง หรือส่วนกลาง อันหมายถึงเงินภาษีจากงบประมาณทั้งประเทศต้องส่งไปเลี้ยงส่วนท้องถิ่นทั้ง 3 จังหวัดนั่น

นี่แหละวิสัยทัศน์ของพ่อพระเอกลิเก

ถ้าทำตามวิสัยทัศน์ของพ่อพระเอกลิเก จังหวัดที่เก็บภาษีได้น้อย เช่น ปัตตานี ยะลา นราธิวาส จะเอางบเงินตรงไหนไปพัฒนาหรือดูแลประชาชน ถ้ามีนโยบายให้ท้องถิ่นจัดการเองโดยการใช้งบประมาณของตนเองในท้องถิ่น

ไอ้นโยบาลหาเสียงแบบนี้หรือไม่ ที่ทำให้เกิดความแตกแยก ที่ทำให้คนในท้องถิ่นเข้าใจผิดว่า ต้องส่งส่วย ส่งเสีย ส่งภาษีในท้องถิ่นของตนให้กับส่วนกลาง

ทั้งที่ส่วนกลางต้องใช้เงินภาษีจากคนทั้งประเทศแบ่งไปดูแลท้องถิ่น ซึ่งมันคือการกระจายความเสี่ยง กระจายอำนาจการบริหารอย่างแท้จริง

 

ธนาธรธิปไตย
ธนาธรพูดเรื่องเชื้อชาติกับคนชายแดน 3 จังหวัดทางใต้ทำไม มีจุดประสงค์ใด ในบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านหรือสำมะโนประชากรของธนาธร ถือสัญชาติไทย โดยมีเชื้อชาติไทยหรือจีน การมีเชื้อชาติอื่นนอกจากเชื้อชาติไทยตรงๆ เป็นปัญหาและอุปสรรคในการดำรงชีวิตในประเทศไทยจริงหรือ?

ไปดูให้ดีๆ คนที่ได้ชื่อว่าคนไทย ที่อยู่ในเมืองไทย จำนวนมากมายมหาศาลมีที่มาจากเชื้อชาติอื่นๆ อย่างหลากหลายมาตั้งแต่สมัยโบราณนับตั้งแต่มีอาณาจักรไทย เรามีคนไทยเชื้อสายจีน อินเดีย ปากีสถาน รัสเซีย อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น มอญ มลายู และอื่นๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน หรือในสิงค์โปร์และมาเลเซียก็รู้กันว่ามี 3 เชื้อชาติหลักคือ มลายู จีน และอินเดีย

คำถามคือสังคมไทยเคยมีประวัติ การต่อต้าน ดูหมิ่น เหยียดหยาม รังเกียจ แบ่งแยกคนเชื้อชาติอื่นๆหรือ มีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ หรือตั้งแต่คุณชี้นำให้แบ่งแยก สังเกตเห็นอะไรมั้ยว่า เรื่องที่ไม่เคยเป็นเรื่อง เรื่องที่เป็นเรื่องปกติธรรมดาในเมืองไทยตลอดมา ถูกคนกลุ่มไหนทำให้มันกลายเป็นเรื่องเป็นปัญหา กลายเป็นเรื่องไม่ธรรมดา เพราะใคร?

หลักในทางกฎหมายในการกําหนดสัญชาติของบุคคล หลั ที่สําคัญ 2 ประการคือ หลักดินแดน (jus soli) และหลักสืบสายโลหิต (jus sanguinis)

หลักดินแดนถือว่าบุคคลที่ถือกําเนิดขึ้นภายใต้ดินแดนของรัฐย่อมจะได้สัญชาติโดยการเกิด ส่วนหลักสืบสายโลหิต ถือว่าบุคคลจะได้สัญชาติสืบต่อจากบิดาและมารดา หรือทางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ประเทศส่วนใหญ่ในปัจจุบันยึดถือการกําหนดสัญชาติโดยอาศัยทั้งหลักดินแดนและ

หลักสืบสายโลหิตประกอบกัน การมีสัญชาติเป็นการหลอมรวมผู้คนที่แม้จะมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมเข้ามาอยู่ ในนานาอารยะประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อังกฤษและทุกประเทศในยุโรป ก็มีคนจากหลายหลายเชื้อชาติมาอยู่รวมกัน ภายใต้สัญชาติอเมริกัน หรือออสเตรเลียน อังกฤษหรือประเทศในยุโรปต่างๆ เชื้อชาติไม่ได้เป็นปัญหาและอุปสรรค จนกระทั่งมีบางคนบางกลุ่มเสี้ยมว่ามันเป็นปัญหาหรือไม่?

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ก่อนหน้านี้ ธนาธร เคยไปพูดเรื่อง กบฎ 7 หัวเมืองภาคใต้ ด้วยข้อมูลที่บิดเบือนไปจากความจริง คืออะไร จุดประสงค์ของการพูดเรื่องนี้ของธนาธรคืออะไร “เพจฤา” ซึ่งเป็นเพจประวัติศาสตร์ ได้ให้ข้อเท็จจริงไว้ดังต่อไปนี้

กรณี “กบฏ 7 หัวเมืองภาคใต้” คืออีกหนึ่งเหตุการณ์ที่มีนักวิชาการบางคนชอบเอามาบิดเบือนและโจมตีว่า การปฏิรูปบ้านเมืองในสมัย ร.5 หรือที่เรียกว่า “การรวมศูนย์อำนาจรัฐราชการสมัยใหม่” เป็นการล่าอาณานิคมของสยาม และพยายามแทรกแซงกดขี่คนท้องถิ่น

ข้อเท็จจริงข้อแรกคือ การล่าอาณานิคมของพวกฝรั่ง กับ การรวมศูนย์อำนาจ (centralization) ในสมัย ร.5 ในทางรัฐศาสตร์นั้นเป็นคนละเรื่องกัน

การปฏิรูปบ้านเมืองของ ร.5 เป็นการสร้างมาตรฐานให้เหมือนกันทั้งประเทศ ทั้งระบบราชการ การศึกษา ภาษี ฯลฯ โดยเปลี่ยนจากการปกครองในรูปแบบเก่าหรือแบบจารีตมาเป็นแบบรัฐราชการสมัยใหม่ ซึ่งแต่ละหัวเมืองก็ยังคงมีเจ้าเมืองปกครองอยู่ ไม่ใช่การเข้ามายึดเป็นเมืองขึ้นแล้วดูดกลืนทรัพยากรออกไปเหมือนการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก

และกรณีของกบฏ 7 หัวเมือง สาเหตุจริงๆ เกิดจากการที่รายาหรือกลุ่มเจ้าเมืองต่างๆ ต้องเสียผลประโยชน์ที่เคยได้รับก่อนหน้าที่จะมีการปฏิรูประบบภาษีโดยรัฐบาลสยาม ซึ่งเรื่องนี้ยังเขียนไว้ในเอกสารในหอจดหมายเหตุแห่งชาติด้วยว่า แต่เดิมรายาเหล่านี้เก็บภาษีชาวบ้านแบบขูดรีดเพื่อเอาเงินเข้าตัว เมื่อมีการเปลี่ยนระบบภาษีก็ทำให้พวกเขาเสียผลประโยชน์และลุกขึ้นก่อกบฏ จนรัฐบาลสยามต้องเข้ามาจัดการ และเป็นการจัดการเฉพาะตัวเจ้าเมืองที่ก่อปัญหาเท่านั้น โดยไม่เกิดการนองเลือดขึ้นกับประชาชน

ซึ่งเจ้าเมืองทั้ง 7 หัวเมืองก็เป็นเพียงแค่รายาที่แต่งตั้งโดยทางสยาม ไม่ใช่สุลต่านหรือกษัตริย์ในท้องที่นั้นๆ เรื่องนี้แม้แต่อังกฤษที่มีอิทธิพลเหนือดินแดนมลายูยังยอมรับว่า อำนาจการปกครองของ 7 หัวเมืองนั้นอยู่ที่สยามมาตั้งแต่แรกแล้ว ไม่ใช่อยู่ที่บรรดาเจ้าเมืองต่างๆ

ดังนั้นการบอกว่า “สยามล่าอาณานิคม” จึงเป็นเรื่อง “โกหก” และใครที่พยายามปั่นเรื่องนี้อยากให้ลองเข้าไปศึกษาข้อเท็จจริงในคลิปวิดีโอนี้ดูก่อน ไม่ใช่สักแต่ออกมาพูดมั่วๆ ให้คนอื่นเข้าใจผิด

 

 

หลังจากพิธาและธนาธร ปูทางเรื่อง 3 จังหวัดชายแดน หรือไม่ “เป็นข้อสงสัยและคำถามจากสังคม” ที่ทำให้ล่าสุดเกิดการขบวนนักศึกษาแห่งชาติขอเอกราชแบ่งแยกดินแดน แล้วหลังจากฝ่ายความมั่นคงแถลงการณ์ว่านั้นคือการทำผิดกฏหมาย ก้าวไกล-7 พรรคก็ชิง แถลงข่าวว่าไม่เห็นด้วยกับ องค์กรนักศึกษาสามจังหวัดชายแดนใต้

คณะทำงานย่อยพรรคร่วมรัฐบาล ว่าด้วยสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ซึ่งเป็นคณะทำงานย่อยของพรรคร่วมรัฐบาลมีการประชุมนัดแรกที่พรรคก้าวไกล โดยมีนายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ รองหัวหน้าพรรค นายรอมฎอน ปันจอร์ ว่าที่ ส.ส. พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้พูดถึงกรณีเปิดตัวขององค์กรนักศึกษาสามจังหวัดชายแดนใต้ ขบวนนักศึกษาแห่งชาติ ในนามของว่าที่รัฐบาลใหม่ ยืนยันว่าไม่เห็นด้วยกับการแยกตัวออกไปของรัฐปัตตานี (ปาตานี)

ท่านหรือไม่ที่เลือกพิธา เลือกก้าวไกลให้เป็นว่าที่รัฐบาล และว่าที่รัฐบาลจากพรรคพวกนี้ “หรือไม่”ที่มีพฤติกรรมยุยง สนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดการแย่งแยกดินแดน “หรือไม่”

ประชาชนคนไทยอย่างท่านใช่มั้ยที่ส่งเสริม สนับสนุน นักการเมืองที่ทำให้ให้ไทย แตกแยก ออกเป็นประเทศเล็กประเทศเล็กประเทศน้อย

เรากำลังจะมีรัฐบาล ที่สนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดการแบ่งแยกดินแดน หรือไม่

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

คึกคักวันวิสาขบูชาเวียนเทียนรอบต้นไม้นับพันต้น
ประชาชน นักท่องเที่ยว แห่ร่วมเวียนเทียนวันวิสาขบูชา
เวียดนาม แต่งตั้งประธานาธิบดีคนใหม่
ชายชาวจีนแกล้งหูหนวกเป็นใบ้ 20 ปี เพื่อหนีคุก
ชายอังกฤษที่ถูกกล่าวหาเป็นสายลับให้ฮ่องกงดับปริศนา
อิสราเอลเดือดควันออกหู 3 ชาติยุโรปเตรียมรับรองปาเลสไตน์
"หมอเหรียญฯ" ฉุนขาด พนง.แบงก์ดังทำตัวเป็นเกรียนหยาบ ลั่นไม่มาขอโทษเตรียมตัวตกงาน
"บิ๊กโจ๊ก" ลงพื้นที่ชลบุรี เปิดปฏิบัติการกวาดบ้านให้ป.ป.ช. ล่าชื่อถอดถอนแล้ว 14,000 ราย
“อองตวน” ปัดเอี่ยว หลังถูกโยงปมผจก.พิธีกรมวย คุกคามทางเพศดาราสาว
นายอำเภอบางละมุงเข้าร่วมโครงการส่งเสริมพระพุทธศาสนา "เนื่องในวันวิสาขบูชา"

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น